ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ลุกลามอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ควรมองข้าม คือ “เด็กและเยาวชน” สถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ลุกลามชีวิตของพวกเขาเกินกว่าจะแก้ไขจัดการได้โดยตนเอง   ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด 19 กลายเป็นต้นเหตุที่ผลักให้เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา อาจเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว หรือไม่ได้ยากจนมาก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 นี้ทำให้รายได้ถดถอย จนเกิดสถานการณ์ยากจนเฉียบพลัน การศึกษากลายเป็นหนทางในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน เด็กชนชั้นกลางที่พ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมต่อไป แม้ต้องการจะย้ายไปโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายก็ไม่สามารถย้ายได้เพราะค้างค่าใช้จ่ายจากโรงเรียนเดิม ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยมีช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ…

ย้ำ “ต้องใส่แมสก์ในห้องเรียน” เว้นทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง – 24 มิถุนายน 2565

  หลังจากกรณีราชกิจจานุเบกษา ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 46 ที่อนุญาติให้คลายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการสวมหน้าอนามัย โดยถือเป็นการปฏิบัติตามความสมัครใจ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กล่าวถึง ในส่วนของสถานศึกษาว่า “อย่างไรก็ตาม จัดการเรียนการสอนในสถานที่ปิด เช่น ห้องเรียน สถานที่คับแคบ เป็นต้น จำเป็นจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ แต่หากจัดกิจรรมนอกสถานที่ และในสถานที่โล่ง สามารถผ่อนปรนการสวมหน้ากากได้ ศธ.เป็นห่วงเด็กเล็กอย่างมาก ดังนั้น จะต้องลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19…

ไร้กังวล! — นายกรัฐมนตรียืนยัน ติดโควิด ไม่เสียสิทธิ์สอบ

2 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันนายกรัฐมนตรีกำชับให้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมดูแลความปลอดภัยและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุขขั้นสูงสุดเพื่อรองรับการสอบ GAT/PAT และการสอบวิชาสามัญด้วยระบบTCAS ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 นี้ . คลายความกังวลสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาพบเชื้อโควิด-19 ที่เกรงว่าตนเองอาจไม่ได้เข้าร่วมการสอบซึ่งมีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2565 โดยมีการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กำหนดแนวทางสำหรับผู้สมัครสอบที่ติดโควิด มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ และอยู่ระหว่างการรักษา รวมถึงกลุ่มเสี่ยงสูงให้ได้เข้าสอบภายใต้มาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กำหนด รับประกันว่าทุกคนจะได้เข้าสอบตามสิทธิ์โดยมีมาตรการดูแลความปลอดภัยพร้อมให้คำแนะนำด้านสาธารณสุขที่ชัดเจน ถูกต้อง ยกระดับมาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุดเพื่อลดการติดเชื้อ จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบห่างกันไม่น้อยกว่า…

มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับสนามสอบ TCAS65

มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับสนามสอบ 1. จัดเตรียมห้องสอบพิเศษ 2 ห้อง โดยห้องที่ 1 สำหรับแยกสอบผู้ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศา หรือมีอาการเข้าข่ายต้องสงสัย โดยจัดเตรียมห้องสอบที่มีสภาพเปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี และจัดโต๊ะให้มีระยะห่างกันไม่น้อยว่า 1.5 เมตร และห้องที่ 2 สำหรับแยกสอบผู้ที่มีอาการป่วยทั่วไป หรือได้รับบาดเจ็บ หากระหว่างสอบมีผู้เข้าสอบรายใดมีอาการป่วย หรือเป็นไข้ เมื่อวัดอุณหภูมิแล้วสูงเกินกำหนด ให้ดำเนินการแยกสอบผู้เข้าสอบรายดังกล่าวในห้องพิเศษห้องที่ 1 และสนามสอบเตรียมหน้ากากอนามัยเพิ่มเติมให้ทุกคนที่สอบในห้องพิเศษ 1 สำหรับผู้เข้าข่ายสงสัย 2. จัดเตรียมจุดคัดกรอง (วัดอุณหภูมิและสังเกตอาการ)…

“สวนสุนันทา” ร่วม สปคม. นำรถพระราชทานคัดกรอง “โควิด” เชิงรุกแก่บุคลากร

วันที่ 10 มิถุนายน 2564 เวลา 08.00 – 12.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดให้บริการรถพระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย เพื่อตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เชิงรุก ด้วยวิธีการ SWAB แก่บุคลากรที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และบุคลากรบางส่วนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมจำนวน 450 คน ณ บริเวณลานกิจกรรมหน้าอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์…

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อม….เปิดศูนย์บริการร่วมฉีดวัคซีนโควิด 19 มิถุนายนนี้

25 พฤษภาคม 2564 ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้การต้อนรับ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในโอกาสตรวจเยี่ยมจุดบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล “หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 กรุงเทพมหานคร – หอการค้าไทย” ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่พร้อมให้บริการประชาชน โดยได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลกลาง โดยวันนี้เป็นการทดลองระบบการให้บริการกับบุคลากรและอาสาสมัครเป็นวันแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” แล้ว ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สามารถให้บริการได้ถึงวันละ 1,000 คน เมื่อเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนนี

สู้วิกฤตโควิด! สวนสุนันทาแจก 200 ทุน ให้กู้กยศ.ได้ร้อยเปอร์เซนต์ พร้อมผ่อนผันการชำระค่าลงทะเบียน

รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แถลงว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและรายได้ของประชาชน โดยเฉพาะผู้ปกครองนักศึกษา เพื่อเป็นการเยียวยาและช่วยเหลือนักศึกษา มหาวิทยาลัยได้ออกมาตรการการผ่อนชำระค่าลงทะเบียนให้แก่นักศึกษาสำหรับภาคฤดูร้อนได้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน โดยไม่เสียค่าปรับ และภาคเรียนที่ 1 ถึง 31 สิงหาคมโดยไม่เสียค่าปรับสำหรับนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนนาถ มีนะนันทน์ รักษาราชการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ยังได้พิจารณาดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่เดือดร้อนอีกจำนวน 200 ทุนๆละ 5,000บาท รวมถึงประสานกับ กยศ.เพื่อให้นักศึกษาสามารถกู้ยืมได้…

จุฬาฯ พร้อมแล้วกับการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ รองรับสถานการณ์ COVID-19

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับการเรียนการสอนทุกรายวิชาให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่ 16 มีนาคม เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และลดความเสี่ยงของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ ในการสัมผัสโรคโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจากการทดสอบระบบการเรียนการสอนออนไลน์แล้วพบว่า แม้ระบบจะมีติดขัดบ้าง แต่ก็สามารถทำการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างราบรื่น  สนุกสนานทั้งผู้เรียนและผู้สอน ถือเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation ด้านการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ รศ.ดร.กุณฑินี มณีรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ            ได้ซักซ้อมการใช้ Zoom ทำงานกลุ่มย่อยในวิชา “ท่องโลก” ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป  นิสิตที่เรียนเป็นนิสิตปี…