ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น - บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

 

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ลุกลามอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ควรมองข้าม คือ “เด็กและเยาวชน” สถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ลุกลามชีวิตของพวกเขาเกินกว่าจะแก้ไขจัดการได้โดยตนเอง

 

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด 19 กลายเป็นต้นเหตุที่ผลักให้เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา อาจเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว หรือไม่ได้ยากจนมาก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 นี้ทำให้รายได้ถดถอย จนเกิดสถานการณ์ยากจนเฉียบพลัน การศึกษากลายเป็นหนทางในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน เด็กชนชั้นกลางที่พ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมต่อไป แม้ต้องการจะย้ายไปโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายก็ไม่สามารถย้ายได้เพราะค้างค่าใช้จ่ายจากโรงเรียนเดิม ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยมีช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

วสศ. เป็นหน่วยงานย่อยของกศส. หน้าที่หลัก คือ ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย หามาตรการ กลไก เพื่อใช้ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นำไอเดียจากในและนอกประเทศ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำงานร่วมกับภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อค้นคว้าวิจัย นำข้อเสนอแนวทางข้อปฏิบัติเพื่อให้ได้แนวการปฏิบัติที่ดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย

 

โครงการบัญชีประชาชาติด้านการศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน โดยไม่เว้นแม้แต่โรงเรียนขนาดเล็กตามชายขอบต่าง ๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจหนึ่งอย่างคือ ประเทศไทยมีความแตกต่างในเรื่องค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระหว่างครัวเรือนที่มีฐานะที่ดี ครัวเรือนที่อยู่ในเมือง หรือครัวเรือนที่พ่อแม่มีการศึกษาที่ดี กับ ครัวเรือนที่พ่อแม่มีฐานะยากจน เป็นชาวบ้าน หรืออยู่ในชนบท ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากการสำรวจในช่วงเลือกตั้งในบริเวณพื้นที่กรุงเทพ พบว่า คนรวยที่สุดในกรุงเทพ 10 เปอร์เซ็น กับ คนจนที่สุดในกรุงเทพ 10 เปอร์เซ็น มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาต่างกันถึงประมาณ 12 เท่า แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ครอบครัวที่มีความพร้อมทางฐานะจะมีความพร้อมในการลงทุนเพื่อการศึกษามากกว่า เช่น ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ หรืออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกัน คนที่มีฐานะด้อยกว่าจะขาดโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการศึกษา

เรื่องจริงที่ต้องรู้! ความยากจน ทำเด็กไทยกว่า 2 ล้านคนเสี่ยงหมดโอกาสการศึกษา เศรษฐกิจไทยสูญปีละ 1-3 % ของ GDP | Brand Inside

 

อีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คือ การจัดสรรงบประมาณทางการศึกษา ประเทศไทยใช้วิธีการคำนวณงบประมาณเป็นรายหัว หรือ การให้งบประมาณเท่ากับจำนวนนักเรียนเพื่อจัดสรรไปตามโรงเรียนต่าง ๆ วิธีการนี้หากดูเพียงผิวเผินอาจดูเป็นวิธีการจัดงบประมาณที่ยุติธรรม แต่หากมองกลับกัน การจัดงบประมาณในลักษณะนี้จะยิ่งลดความเท่าเทียมทางความพร้อมของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนนักเรียนมากกว่าจะได้รับงบประมาณจำนวนมากกว่า ทำให้โรงเรียนยิ่งมีความพร้อมต่อการศึกษามากยิ่งบขึ้น แต่ในขณะที่โรงเรียนในชนบท โรงเรียนขนาดเล็กต่าง ๆ จะได้รับงบประมาณไปใช้เพื่อพัฒนาโรงเรียนในจำนวนที่น้อยกว่า ยิ่งทำให้ระบบการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กมีความพร้อมที่ด้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งอาจรวมไปถึงโอกาสในการระดมทรัพยากรแก่โรงเรียน หากโรงเรียนใดมีสมาคมครูและผู้ปกครองที่เข้มแข็ง หรือมีศิษย์เก่าที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูง หรือโรงเรียนที่อยู่ในเมืองใหญ่ที่มีผู้ปกครองเป็นข้าราชการ นักธุรกิจต่าง ๆ เขาก็จะสามารถระดมทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมทางการศึกษามากกว่า เช่น สามารถจ้างครูพิเศษ สามารถจ้างครูเจ้าของภาษามาได้ ในทางตรงกันข้าม โรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนในชนบทจะต้องใช้ความพยายามที่มากกว่าในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา แม้ว่าทางผู้อำนวยการจะใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ผ้าป่าทางการศึกษา หรือระดมทุนในชุมชน แต่เนื่องจากศักยภาพทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนจึงส่งผลทำให้มีการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้ได้น้อยกว่า

 

อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการสอบ PISA (Programmed for International Student Assessment Programmed for International Student Assessment) ของ Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD ที่ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลัง พื้นเพเดิมของผู้เข้าสอบและโรงเรียน พบว่า ประเทศไทยอยู่หนึ่งในอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างคนรวยกับคนจน เด็กที่มีฐานะดีจะรวมตัวกันอยู่ในโรงเรียนไม่กี่แห่ง ในขณะที่เด็กส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีทรัพยากรจำกัด มีการแบ่งแยกพื้นที่สำหรับเด็กรวยกับเด็กจนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งมีรูปแบบเดียวกับประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น บาร์ซิล ชิลี ที่ได้ชื่อว่าประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำในสังคมสูง หากประเทศไทยยังไม่ได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณใหม่จะยิ่งส่งผลให้ภาพความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

แล้วจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ไดอย่างไร? สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้มีการคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาหลายด้านที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน เริ่มตั้งแต่การปฏิรูประบบการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษา แม้จะดูเป็นวิธีการที่ค่อนข้างยากเนื่องจากต้องรื้อระบบการศึกษาเป็นวงกว้าง แต่ในปัจจุบัน วสศ. กำลังดำเนินการเพื่อสร้างโมเดลทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยต้องคำนึงถึงความเสมอภาคเป็นหลัก เด็กทุกคนอาจไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับงบประมาณที่เท่ากันแต่ต้องมีงบประมาณขั้นพื้นฐานให้แต่ละโรงเรียนสามารถสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพได้ หรือ จัดสรรงบประมาณแก่โรงเรียนขนาดเล็กให้เพียงพอต่อการพัฒนา แม้จะมีจำนวนเด็กน้อยแต่โรงเรียนก็ต้องอยู่ในระดับมาตรฐานสากล โดยโมเดลในลักษณะนี้มีหลายประเทศที่ดำเนินการและได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ เช่น ประเทศเวียดนาม ทุกโรงเรียนจะได้รับงบประมาณที่เพียงพอต่อการสร้างสถานศึกษาที่มีคุณภาพ โรงเรียนขนาดเล็กจะได้รับงบประมาณที่มากกว่าเพื่อเพิ่มทรัพยากร โรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรมากเพียงพอแล้วจะได้งบประมาณเท่าที่จำเป็น ส่วนงบประมาณต่อหัวของเด็กก็จะจัดสรรตามความเหมาะสม เด็กที่ยากจนจะได้งบประมาณที่มากกว่าเด็กที่มีความพร้อมทางการเงินอยู่ก่อน รวมไปถึงการกระจายบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งวิธีการนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา ลำดับต่อมา คือ การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ การศึกษาไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของหน่วยงานที่จัดระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และคนในชุมชน เช่น เรื่องของสาธารณสุข สวัสดิการในสังคม ค่านิยม โอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่นั้น ๆ เช่น ประเทศฟินแลนด์ เด็กมักจะเรียนโรงเรียนใกล้บ้านเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งลูกเข้าไปเรียนนอกพื้นที่บ้านตนเอง เพราะผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นว่าทุกโรงเรียนมีคุณภาพ บุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถและทรัพยากรที่จำเป็นกระจายตัวอยู่ในแต่ละโรงเรียน แต่ในกรณีของประเทศไทยมีการกระจายทรัพยากรทางการศึกษาในแต่ละโรงเรียนที่ไม่เท่าเทียมกัน พ่อแม่ที่ต้องการให้บุตรหลานได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพก็ขวนขวายส่งลูกไปโรงเรียนที่ห่างไกลแต่มีความพร้อมมากกว่า ทำให้เกิดสภาพที่พ่อแม่จำเป็นต้องมีความพร้อมทางฐานะเพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำมัน ค่ารถรับส่ง ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาเลยหากทุกโรงเรียนมีคุณภาพเท่าเทียมกัน พ่อแม่ก็จะสามารถส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้  ทุกปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อการศึกษา เพราะฉะนั้นการทำงานในเชิงพื้นที่ ต้องเริ่มตั้งแต่การที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้าปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใน โดยแต่ละพื้นที่อาจเหมาะกับรูปแบบการศึกษาที่แตกต่างกัน บุคคลที่ทราบความเหมาะสมเหล่านี้ดีที่สุดก็คือคนในชุมชนเหล่านี้นั้นเอง การทำงานร่วมกับชุมชน อาสาสมัครในชุมชนที่จะช่วยให้เล็งเห็นถึงปัญหาและสามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด เช่น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 9 ที่ผ่านมา ทำให้เด็กต้องเรียนหนังสือในรูปแบบออนไลน์ อาสาสมัครก็มีหน้าที่ในการช่วยติดตาม เฝ้าระวัง และมอบอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการศึกษาให้แก่เด็กเหล่านี้ มีเด็กหลายคนที่ไม่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

 

ทุกสังคม พ่อแม่ล้วนแต่ต้องการให้บุตรหลานได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย โรงรียนที่มีคุณภาพเหล่านี้รวมตัวไม่กี่แห่งในแต่ละพื้นที่ พ่อแม่ก็ขวนขวายเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนที่เหล่านั้น สิ่งที่เราควรจะทำ คือ จัดระบบที่สามารถกระจายครู กระจายทรัพยากร ให้เข้าถึงงทุกแห่ง จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้

 

อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ คือ การกระจายทรัพยากรและบุคลากรทางการศึกษา ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนครูในหลายพื้นที่ หรือ ประสบปัญหาครูมีวุฒิไม่มากพอ ครูขาดความรู้ในวิชาที่สอน เนื่องจากบุคลกรทางการศึกษาของไทยเมื่อได้รับหน้าที่ในโรงเรียนขนาดเล็ก หรือ โรงเรียนในชนบท ก็มีความคิดที่จะย้ายไปในโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนในเมือง เพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพ เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ ทำให้เกิดสภาพที่โรงเรียนเล็ก ๆ ไม่ได้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับครูส่วนใหญ่ ประเทศไทยอาจจะต้องรื้อระบบใหม่ตั้งแต่การปลูกฝังทัศนคติต่าง ๆ ต่อบุคลากรทางการศึกษา ครูรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ศักยภาพ มีความสามารถ แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็สร้างความเปลี่ยงแปลงต่อระบบการศึกษาไทยที่ล้าสมัยได้ อย่างเช่น ในช่วงการเปิดเทอมครั้งแรกหลังจากมีสถานการณ์โควิด 19 ครูหลายท่านคิดนวัตกรรมเพื่อดึงดูดเด็กให้กลับมาสนใจการศึกษา ในช่วงนั้นกระทรวงค่อนข้างให้อิสระครูในการปรับรูปแบบ ไม่ต้องยึดติดกับการวัดผลแบบเดิม หรือ การทำใบงานตัวชี้วัดของทางกระทรวง จะเห็นได้ว่าการปลดล็อกจากสิ่งที่มีความราชการถือว่าเปิดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ครูได้ ถ้าเราลดความเป็นทางการ ไม่กดดันครู ครูก็จะมีความสร้างสรรค์ได้ดี แต่การลดความเป็นทางการนี้ ก็ยังจำเป็นต้องมีความสมดุลอยู่ แต่ในปัจจุบัน สังคมไทยขาดความเชื่อใจต่อครู ความเชื่อใจนี้ต้องมาจากความมั่นใจ เช่น ครูต้องมีความสามารถ มั่นใจในตนเอง ก่อนที่จะให้คนรอบตัวเชื่อใจ ต้องเริ่มจากการพัฒนาศัพยภาพครู ตั้งแต่โรงรียนฝึกครูต้องมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพครู เมื่อครูสอนเก่ง เด็กก็จะเชื่อใจ โรงเรียน ผู้ปกครองก็เชื่อใจ ครูเองก็จะมีคความมั่นใจ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดผลงานประยุกต์ อาจจะไม่ได้เกิดได้อย่างรวดเร็วแต่ต้องเกิดจากการทำงานร่วมกัน ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ต้องอาศัยการสนับสนุนจากทุกภาคฝ่าย

 

สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง คือ การจัดระบบที่สามารถกระจายครู กระจายทรัพยากร จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ แต่ก็นับว่าโจทย์ที่ใหญ่ เพราะทางกศส. เองก็ไม่ได้มีอำนาจในการสั่งการโดยตรง แต่อาศัยการทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูล หรือสนับสนุนงานวิจัยทางวิชาการต่าง ๆ รวมไปถึงสนับสนุนโมเดลที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการอาจนำสิ่งที่ได้เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อสั่งการต่าง ๆ ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี เช่น ช่วงโควิดที่มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงศึกษาธิการและวสศ.ก็มีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน พบว่าเด็กกว่า 200,000 คนที่หลุดออกจากระบบเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงชั้นที่เป็นรอยต่อ จนเกิดเป็นนโยบายติดตามเด็กเหล่านี้ให้กลับเข้าสู่ห้องเรียน ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ 17,000 คน แสดงให้เห็นว่าการทำงานในระบบการศึกษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นแต่ต้องทำงานร่วมกันในทุกฝ่าย

 

 เด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่ไม่พร้อมทั้งด้านทรัพยากร หรือ บุคลากรทางการศึกษา อาจจต้องมีนวัตกรรมบ้างอย่างที่สามารถช่วยยกระดับการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มเหล่านี้ได้ แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือเพิ่มทรัพยากรให้เพียงพอ และเท่าเทียม

ทางกศส. ได้พยายามสร้างโมเดลต้นแบบห้องเรียนฟื้นฟูการเรียนรู้ Learning Discovery Lab เป็นตัวอย่างสถานศึกษาที่เคยทำงานร่วมกับกศส. ภายใต้โครงการสมุทรสาครโมเดล เพื่อเข้าไปศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความรู้ที่ถดถอย ซึ่งทำงานร่วมกับทางยูนิเซฟ และมูลนิธิ Starfish โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ และศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อที่จะพัฒนาการเรียนการสอน ยกระดับการเรียนการสอน ให้เด็กกล้าแสดงออก ให้ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ร่วมกับเด็กได้ โดยเน้นจังหวัดสมุทรสาคร มีการวัดระเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม หากประสบความสำเร็จ เด็กมีศักยภาพในการเรียนรู้ โรงเรียนมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูความรู้ ก็จะสามารถขยายผลนำไปใช้กับโรงเรียนในกลุ่มจังหวัดอื่น ๆ ได้ อาจเป็นต้นแบบของประเทศไทยที่สามารถนำไปเสนอในระดับนานาชาติได้ ครู อาจารย์มีผลร่วมด้วยในส่วนของการทำใบงาน วิธีการ active learning โดยเปลี่ยนรูปแบบการสอนแบบเดิม ๆ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | กสศ.

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ก็ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่นำมาใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นจำนวนมาก เช่น Learning Box ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับเด็กที่สามารถเรียนรู้ผ่านการเรียนแบบปฏิบัติ ลงมือทำ สังเกต มันเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ทางเกษตรกรรม แล้วแต่การออกแบบของครูผู้สอน เด็กก็จะสามารถนำอุปกรณ์ในชัดนี้ไปใช้ในการทดลองที่บ้าน หรือ เรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครอง หรือ ใช้ในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นจะแตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น ขึ้นอยู่กับทักษะที่ต้องการพัฒนา ถือเป็นเครื่องมือที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะมาจากผู้เชี่ยวชาญที่ทำการค้นคว้าและให้คู่มือแก่ครู ผู้ปกครอง โดยทั้งสองฝ่ายต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำ และจดบันทึกพัฒนาการต่าง ๆ บางโรงเรียนชายขอบหากมีครูมีศักยภาพก็อาจทำให้เด็กได้พัฒนามากเพียงพอ หรือแม้แต่การปรับรูปแบบการสอนไปเป็นแบบ Active learning ซึ่งนับเป็นเป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา โดยต้องการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในประเทศให้ไปในแนวนี้ ไม่ใช่แนวการสอนแบบท่องจำ ต้องปรับให้เหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน โดยต้องทำงานร่วมกับความพร้อมทางด้านทรัพยากรอื่น ๆ เพราะถึงแม้ว่าการเรียนการสอนจะมีสามารถพัฒนาได้  แต่ถ้าปัจจัยใดไม่พร้อมก็อาจไม่เกิดผลที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็รครู หรือ ทรัพยากรทางการศึกษา วิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับระบบการศึกษาที่เห็นได้ชัด คือ การเพิ่มทรัพยากรให้เพียงพอโดยกระจายให้แต่ละพื้นที่อย่างเท่าเทียมกันจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างแท้จริง

 

ดร.ภูมิศรัณย์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ครอบครัวส่วนหนึ่งที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้เด็กไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ปัจจุบันมีศูนย์ช่วยเหลือให้แก่เด็กเหล่านี้ ทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย สุขภาพ ซึ่งเป็นการทำงานของกศส.ร่วมไปกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ อีกประเด็นสำคัญ คือ สุขภาพจิตของเด็กหลังสถานการณ์โควิด อาจมีทั้งความเครียด ความกังวล อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลล เฝ้าสังเกต รวมไปถึงการเรียนช้ากว่าคนอื่น เนื่องจากทรัพยากรที่บ้านอาจมีความพร้อมไม่เท่ากัน อยากให้ทางโรงเรียนจัดการ ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้ตระหนัก และหาแนวทางในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการทำงานร่วมกันของในแต่ละร่วมมือกันของหน่วยงานต่าง ๆ แม้อาจจะต้องอาศัยเวลาในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไขแต่จะนำไปสู่ความเสมอภาคได้ในที่สุด

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *