ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ลุกลามอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ควรมองข้าม คือ “เด็กและเยาวชน” สถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ลุกลามชีวิตของพวกเขาเกินกว่าจะแก้ไขจัดการได้โดยตนเอง   ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด 19 กลายเป็นต้นเหตุที่ผลักให้เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา อาจเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว หรือไม่ได้ยากจนมาก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 นี้ทำให้รายได้ถดถอย จนเกิดสถานการณ์ยากจนเฉียบพลัน การศึกษากลายเป็นหนทางในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน เด็กชนชั้นกลางที่พ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมต่อไป แม้ต้องการจะย้ายไปโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายก็ไม่สามารถย้ายได้เพราะค้างค่าใช้จ่ายจากโรงเรียนเดิม ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยมีช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ…

พบเด็กหลุดระบบการศึกษาเพราะยากจนเฉียบพลัน ชี้ต้องแก้ปัญหาถึงพ่อแม่! — 21 มิถุนายน 2565

  ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวในเวทีเสวนา “เปิดเทอมใหม่ ยังมีเด็กไปไม่ถึง…โรงเรียน” ซึ่งจัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า เมื่อปีการศึกษา 2563-2564 พบเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษามากถึง 238,000 คน จึงได้ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อเดินหน้าติดตามพาน้องกลับมาเรียน ส่งผลให้ปัจจุบันมีนักเรียนที่ยังไม่สามารถกลับเข้าระบบการศึกษาได้เพียง 17,000 คน โดย ศธ.ได้ตั้งศูนย์ประสานงานตามน้องกลับมาเรียน ติดตามเด็กกลุ่มนี้ให้กลับสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ ทุกหน่วยงาน ทั้งกระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ…