สอศ.เน้นย้ำจัดทำแผนขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนสู่ความยั่งยืน

          พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาทั่วทุกภูมิภาค ภายใต้โครงสร้าง 1 ศูนย์กลาง 6 ศูนย์ภูมิภาค 18 ศูนย์กลุ่มจังหวัด และได้นำระบบข้อมูล Big Data มาใช้บริหารจัดการข้อมูลการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ สามารถจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอศ.จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้เกิดความยั่งยืน (พ.ศ.2562-2565) ระหว่างวันที่ 25 – 27 มีนาคม…

การสอนที่ครูผู้สอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด

    เพราะการศึกษาในอนาคตคือ การที่ครูผู้สอนนั้นเป็นมากกว่าผู้ที่สอนให้ผู้เรียนรู้จักความรู้ แต่ต้องเป็นครูผู้สอนที่สอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด การสอนเพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีที่อยากจะแนะนำให้ครูผู้สอนทุกคนวันนี้นั่นคือ Socratic Teaching เป็นวิธีสอนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าข้อมูลหรือเนื้อหา เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการตระหนักว่าความคิดของตนเองเป็นเพียงความเชื่อ สามารถปรับแต่งให้คมชัดและมีเหตุผลมากขึ้น โดยวิธีการสอนแบบ Socratic Teaching นี้จะอาศัยความสงสัยต่อความเชื่อที่ตนเองยึดถือในเบื้องต้นและการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าถึงความรู้ที่ลึกซึ้ง ซึ่งเป็นหนึ่งใน “กุญแจในการปฏิรูปการศึกษา” เพื่อสอนให้เด็กคิดเป็น ด้านนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผอ.ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณย้ำว่า การคิดเป็นในที่นี้หมายถึงเด็กสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ในเรื่องวิชาการ เด็กสามารถคิดเป็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้ชีวิต สามารถคิดเป็นเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม ใช้เหตุ ใช้ผลได้อย่างดี มากกว่าที่จะเชื่อในสิ่งที่คนอื่นบอก ฉะนั้นการศึกษาในอนาคตต้องไม่ใช่เรียนรู้เพื่อที่จะท่องจำข้อมูลหรือวิชาการเอาไปสอบ ไม่ใช่ว่าทำดีโดยไม่รู้ว่าทำไมจะต้องทำ…

สมอง 5 ด้านสู่ความเป็นอัจฉริยะ

                            cognitivemind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) และสมองด้านสร้างสรรค์ (creatingmind) อีก 2 ด้านเป็นพลังด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้แก่ สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) และสมองด้านจริยธรรม (ethical mind)การเรียนรู้เพื่อ…

สอศ.จัดฝึกอบรมพัฒนาวิทยากรตามมาตรฐานสากล

ดร.พีระพล พูลทวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนาวิทยากรเพื่อการฝึกอบรมอาชีวศึกษาตามมาตรฐานสากล ความร่วมมือไทย-ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมคือ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้พัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของออสเตรเลีย ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนที่จบหลักสูตรจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากองค์กรจดทะเบียนการฝึกอบรมออสเตรเลีย (Registered Training Organizations : RTOs) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีผู้เข้าเข้ารับการอบรมทั้งหมด 27 คน ประกอบด้วย ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 25 คน และนักวิชาการมาตรฐานวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์กรมหาชน) จำนวน 2 คน ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ๑ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ดร.พีระพล…

“จีอี สวนสุนันทา”ขนองค์ความรู้สู่โรงเรียนเครือข่าย “สพป.พิจิตรเขต2″

  ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของสํานักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ หรือ “จีอี” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภายใต้การบริหารของผู้อำนวยการสำนักฯ ผศ.ดร.ปรีชา พงษ์เพ็ง ก็คือ “ โครงการ การพัฒนาการศึกษาและท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง “ ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการ การสร้างความสัมพันธ์และเชื่อมโยงเครือข่ายและท้องถิ่น เพื่อให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นเอตทัคคะอย่างยั่งยืนต่อไปอีกด้วย ในปีงบประมาณ 2562 นี้ ทีมงาน “จีอี” ได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ…

เชิดชูเกียรติผู้บริหารสวนสุนันทาเป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการ

นายแพทย์ธีระเกียรติ   เจริญเศรษฐศิลป์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 ยกย่องเชิดชูเกียรติ  รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์  คณบดีคณะครุศาสตร์  และผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย ปวะบุตร อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา    ให้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีพุทธศักราช 2562   ซึ่งผู้บริหารทั้งสามท่านจะเข้ารับมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 127 ปี และเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน…

จรรยาบรรณวิชาชีพครูและวินัย

จรรยาบรรณวิชาชีพครูและวินัย วิชาชีพชั้นสูงใดๆก็ตาม  ไม่ใช่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลซึ่งประกอบด้วยอาชีพเดียวกันหรือปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น  แต่ยังต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องความสามรถและคุณภาพของสมาชิกในวิชาชีพนั้นๆด้วย  จึงมักมีการกำหนดข้อห้ามมิให้สมาชิกระทำหรือประพฤติ  อันจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เสื่อมเสียต่อวิชาชีพโดยส่วนรวมสิ่งที่ช่วยยับยั้งเตือนสติการกระทำนี้  คือ จรรยาบรรณของวิชาชีพ อาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงอาชีพหนึ่ง  จึงต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วย  ในฐานะครูด้วย  ในฐานะครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์  ต้องมีกิริยามารยาทที่งดงาม  ครูต้องมีจรรยาบรรณและวินัยในตนเอง  เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติตน ความหมายและลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2525  ให้ความหมายของคำว่า  “จรรยาบรรณ” ไว้ว่าเป็นคำนาม หมายถึง  ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น  เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ  ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ สำนักงานก.พ.  กล่าวว่า “จรรยาบรรณ” หมายถึงประมวลคลวามประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณ…

4 ข้อที่ครูควรรู้ไว้ไม่ให้นักเรียนเบื่อตอนเรียน

4 ข้อที่ครูควรรู้ไว้ไม่ให้นักเรียนเบื่อตอนเรียน หลายๆคนเมื่อไปสอนคงเกิดปัญหา “ทำไมนักเรียนไม่ฟังเราเลย” “จะเริ่มต้นบทเรียนยังไงให้น่าสนใจนักเรียนจะได้ไม่เบื่อ” หรือ “ทำยังไงให้นักเรียนไม่หลับ” เรามาลองดูเทคนิคต่างๆกับครูวัยทีนกันน 1. ควรนำเข้าสู่บทเรียนด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจแก่นักเรียน ให้นักเรียนได้คิดตาม เช่น จะนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง แรงโน้มถ่วงโลก ในวิชาวิทยาศาสตร์ ควรตั้งคำถามแก่นักเรียนว่า เคยสงสัยกันไหม ทำไมเท้าคนเราถึงยึดอยู่กับพื้นได้ ทำไมตัวเราไม่ลอยไปในอากาศ นักเรียนก็จะฉุกคิดว่า ที่ครูพูดมามันก็จิงแล้วเหตุผลมันคืออะไร นักเรียนก็จะคิดต่อไป 2. จากข้อ 1 วิธีการเลือกใช้คำถามในการถามนักเรียนก็สำคัญเช่นกัน ควรใช้คำถามปลายเปิดไม่ใช่ปลายปิด โดยใช้คำถามว่า “ทำไม” แทน คำถามว่า “ใช่หรือไม่” เพราะ ครูสามารถประเมินนักเรียนได้จากเหตุผลของคำตอบของนักเรียน…

เทคนิค การสอน ให้ถูกใจคนเรียน

เทคนิค การสอน ให้ถูกใจคนเรียน   1. ต้องรู้เขา รู้เรา 1.1 ต้องรู้ว่า … เราจะทำ การสอน อย่างไร เช่น – ย่อยเนื้อหาความรู้ลงให้แคบ – หากเนื้อหามาก ก็แบ่งเป็นส่วนย่อย – ระบุสาระ หรือจุดประสงค์ ในการเรียนรู้ให้ชัดเจน – เรียบเรียงลำดับการสอน จากง่ายไปสู่ยาก (จากพื้นฐาน ไปสู่การประยุกต์) 1.2 ต้องรู้ว่า … นักเรียนคิดอะไร เช่น –…

10 สิ่งที่จะทำให้คุณเปลี่ยนไปหลังจากมาเป็นครู

10 สิ่งที่จะทำให้คุณเปลี่ยนไปหลังจากมาเป็นครู 1.คุณจะรู้สึกหวังดีและรักเด็ก (แม้เมื่อก่อนจะไม่เคยรัก) เรียกได้ว่าเมื่อก่อนไม่เคยจะชอบเด็กๆ แต่พอได้เข้ามาสัมผัสจะเห็นอะไรหลายๆอย่างจากเด็กๆ ทั้งความใสซื่อ น่ารักของพวกเขาและความไม่รู้ของพวกเขา จะทำให้คนเป็นครูอย่างเราๆท่านๆรู้สึกหลงรักในตัวพวกเขาขึ้นมาทันที บางครั้งเผลอเรียกไปว่า “ลูกๆ” 2.คุณจะกลายเป็นคนที่ขี้บ่น (แม้เมื่อก่อนคุณจะเป็นคนเงียบๆ) เมื่อก่อนเรียกได้ว่าเป็นคนที่ไม่ชอบคนขี้บ่นแต่พอเป็นครูนานเข้า มารู้สึกตัวอีกที เอ๊ะ…นี่เรากลายเป็นคนขี้บ่น ไปเสียตั้งแต่เมื่อไหร่เนี่ย ฮ่าๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นทักษะนี้อาจจะมาจากการสอนเด็กๆที่ครูจำเป็นต้องพูด พูดและก็พูดเด็กทุกคนก็ใช่ว่าจะมีนิสัยที่ดีเสมอไป คนเป็นครูจึงต้อง เทศนาบ้าง…ทักษะนี้ก็เลยได้มาแบบฟรีๆ 3.คุณจะกลายเป็นคนที่ตำหนิอะไรได้ง่ายขึ้น (แม้เมื่อก่อนจะเคยปล่อยไปชิวๆ) จากหัวข้อที่แล้ว ทำให้ได้ทักษะอีกทักษะหนึ่งก็คือการตำหนิ เพราะครูจะเป็นจะต้องแนะนำเด็กๆให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง จึงจำเป็นจะต้องรู้จักวิธีการตำหนิในสิ่งที่ผิด เพื่อให้นักเรียนได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทักษะนี้จึงเพิ่มเข้ามาอีก ให้คนรอบข้างรู้สึกเบื่อ (บางท่าน)…