สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เร่งจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทย ขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาไทยสู่เวที UNESCO

สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ผลักดัน “ผ้าขาวม้าวิถีชีวิตไทย” ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติสู่เวที UNESCO โดยการเร่งจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทยจากทุกภาคส่วนให้เป็นระบบ เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาของชาติ และส่งเสริมการสร้างสรรค์ลายอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าขององค์กรและชุมชน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลไปสู่การต่อยอดในภาควิสาหกิจชุมชนและภาคการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในแก่ผ้าขาวม้าและการขยายตัวของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน   เมื่อเอ่ยถึง “ผ้าขาวม้า” หลายคนคงนึกถึงผ้าลายตาราง สีสันต่าง ๆ และประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย ตั้งแต่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้านุ่งอาบน้ำ ผ้าพันคอ โพกศีรษะ เปลนอน ผ้าเช็ดพื้น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ฯลฯ ถ้าจะบอกว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์หรือผ้าอเนกประสงค์ ก็คงไม่ผิดนัก ผ้าขาวม้าผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมายาวนาน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่แสนจะเรียบง่ายแต่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย เสน่ห์ของผ้าขาวม้ายังคงโดนใจคนรุ่นใหม่ ที่นำผ้าขาวม้ามาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกายร่วมสมัย   อนาคตของผ้าขาวม้ายังไปต่อได้อีกไกลถึงเวทีโลก…

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือจัดตั้ง “องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย “การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย” เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568  ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ลงนามความร่วมมือร่วมกัน ความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง “องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย” ให้เป็นศูนย์กลางการวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการให้คำปรึกษาเชิงนโยบายด้านทะเลของประเทศ…

คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) จัดหลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟเพื่อสร้างรายได้” เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มุ่งเน้นการบริหารพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างศูนย์กลางของชุมชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการก้าวสู่การเป็นเมืองแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน โดย ซียู ดีโฟร์เอส เอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นผู้ดำเนินการจัดการหลักสูตรนี้ ผศ. สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เล็งเห็นแนวโน้มการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ในสถานีรถไฟทั่วประเทศ นำมาซึ่งโอกาสสำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบสถานีให้สามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและมูลค่าสูงสุด โดยผสานแนวคิด Transit-Oriented Development (TOD) และการบริหารจัดการพื้นที่สถานีรถไฟเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะสามารถสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน”…

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) ผนึกกำลังจุฬาฯ และมช. หนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจด้านเทคโนโลยีของไทยขยายสู่ตลาดอาเซียน

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน และผลักดันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของสตาร์ทอัพไทยสู่ตลาดอาเซียนขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ‎ นอกจากนี้แล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีซึ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน โดยได้จัดงานเสวนาและบรรยายในหัวข้อ “Leadership in Tech: AI Ethics, Data Governance, and the Power of ‎Community” ซึ่งเป็นเวทีที่มุ่งเน้นการเฉลิมฉลองความสำเร็จ และเสริมศักยภาพให้กับผู้นำหญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทย การขยายความร่วมมือของ SMU เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย การขยายการดำเนินงานของ SMU ในประเทศไทยนั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการเป็นเป็นศูนย์กลางด้านความเป็นผู้นำทางความคิดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นการฝึกอบรมทักษะในสาขาการศึกษาที่มีความสำคัญ เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การบริหารความมั่งคั่ง…

CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-LGO หลักสูตรปริญญาโทสุดล้ำ สร้างนักบริหารยุคใหม่ที่มีทั้งความรู้เชิงเทคนิคและทักษะการบริหารธุรกิจ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Chulalongkorn Business School: CBS) ประกาศความร่วมมือระดับนานาชาติกับ MIT Leaders for Global Operations (MIT LGO) ในงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 31 จัดโดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ  พร้อมเปิดตัว Chula-LGO หลักสูตรปริญญาโทที่บูรณาการความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ธุรกิจ และการจัดการองค์กร เพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคตที่มีทักษะรอบด้าน ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคดิจิทัลและเศรษฐกิจโลก การประกาศความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ MIT LGO…

วิชาการตลาด Chulalongkorn Business School ร่วมมือ ฮาคูโฮโด ประเทศไทย สานต่อโครงการ HIT PROGRAM ปี 2 ตอกย้ำสร้างนักการตลาดตัวจริง

ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมมือกับ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด สานต่อโครงการ “HIT PROGRAM ปี 2” สอนนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้ธีม ‘HIT REAL CHALLENGE’ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม – 25 เมษายน พ.ศ. 2568…

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา โดย QS University Rankings by Subject 2025

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดย QS University Rankings by Subject 2025 ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยมากที่สุดถึง 34 สาขา   นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ติดอันดับ 1 ของไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล  6 สาขา AIT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี…

จุฬาฯ จับมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ และ สวทช. วิจัยและพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ) ในการวิจัยและพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช…

จุฬาฯ ประกาศ จำนวนรับและเกณฑ์การคัดเลือก TCAS68 รอบที่ 3 Admission 

จุฬาฯ ประกาศ จำนวนรับและเกณฑ์การคัดเลือก ผ่าน #TCAS68 รอบที่ 3 #Admission คณะที่เปิดรับ – คณะวิศวกรรมศาสตร์ – คณะอักษรศาสตร์ – คณะวิทยาศาสตร์ – คณะรัฐศาสตร์ – คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ – คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี – คณะเศรษฐศาสตร์ – คณะครุศาสตร์ – คณะนิเทศศาสตร์ – คณะนิติศาสตร์ – คณะสหเวชศาสตร์ –…

จุฬาฯ ประกาศกำหนดการคัดเลือก ผ่านTCAS68

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศกำหนดการคัดเลือกผ่านระบบ TCAS ทั้ง 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio รับสมัคร วันที่ 5-18 พ.ย.67 สมัครกับ จุฬาฯ ที่ https://admission.chula.ac.th รอบที่ 2 โควตา รับสมัคร วันที่ 11-20 ก.พ.68 สมัครกับ จุฬาฯ ที่ https://admission.chula.ac.th รอบที่ 3 Admission รับสมัคร…