อนุมัติแล้ว…สพฐ.ไฟเขียวกรณีให้พนักงานราชการ ลูกจ้าง มีสิทธิสอบ สอบบรรจุข้าราชการครูฯ กรณีพิเศษ

  เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 มีรายงานว่า หนังสือ ที่ ศธ 04009/1792 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องขอให้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ได้ส่งถึงนายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว   การส่งหนังสือดังกล่าวเพื่อเป็นการตอบรับ สืบเนื่องจากการที่กลุ่มลูกจ้างธุรการสังกัดโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 200 คน ได้เคยเดินทางยื่นหนังสือถึง…

สพฐ. เผยประกาศแนวปฏิบัติการยื่นคำร้องขอใบสำคัญทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

วันที่ 26 มีนาคม 2563 นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่าตนได้ลงนามในประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การยื่นคำร้องขอใบสำคัญทางการศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องดำเนินการขอใบสำคัญทางการศึกษา สามารถดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน โดยมีเนื้อหาตามประกาศ ดังนี้     สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา…

“ณัฏฐพล” จี้ใช้หลักสูตรใหม่ปี 65-เน้นฐานสมรรถนะ

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้ประชุมหารือกรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีข้อคิดเห็นถึงหลักสูตรใหม่จะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ที่เน้นสมรรถนะ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและคุณลักษณะต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนให้เหมาะสมกับแต่ละระดับ หรือแต่ละช่วงวัย “จุดประสงค์หลักการปรับหลักสูตรเพื่อต้องการให้เด็กค้นพบตัวเองตามความถนัดของแต่ละช่วงวัย เช่น เด็กประถมศึกษาตอนต้นอาจเน้นการเรียนการสอนที่เป็นหลักสูตรการพัฒนาตนเอง ส่วนประถมศึกษาตอนปลายจะเน้นเรื่องวิชาวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยหลักสูตรใหม่จะนำสู่การปฏิบัติและใช้จริงในปีการศึกษา 2565 เบื้องต้นจะนำร่องการใช้ในพื้นที่นวัตกรรม 6 จังหวัดก่อน ได้แก่ ระยอง ศรีสะเกษ สตูล เชียงใหม่…

“ครูตั้น” ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนสายอาชีพ 60 ต่อ 40

รมว.ศึกษาธิการ ถก นโยบายรับนักเรียน ปี 63 ระหว่าง สพฐ.และ สอศ. ให้หน่วยงานพื้นที่รับทราบข้อปฎิบัติ เล็งเพิ่มผู้เรียนสายอาชีพ 60 และ สายสามัญ 40 เมื่อวันที่  19 ธ.ค.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคอนเฟอร์เรนท์เรื่องการมอบนโยบายการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 ของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า เป็นการส่งต่อนโยบายให้แก่หน่วยงานระดับพื้นที่ได้รับทราบถึงนโยบายการรับนักเรียน รวมถึงการวางแนวทางเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีพ และการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งต่อจากนี้ไปสพฐ.และ สอศ.จะต้องทำงานเชื่อมโยงข้อมูลกันให้มากขึ้น…

“ณัฏฐพล” ชี้หนุนอาหารกลางวันไม่ควรเท่ากัน

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานสรุปภาพรวมการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวยังมีปัญหาในหลายส่วน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันที่ได้รับในอัตราหัวละ 20 บาทต่อวัน จำนวน 200 วัน ซื่งเป็นอัตราที่ยังไม่ได้มีการขยับมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ดังนั้น คณะทำงานจะต้องเร่งวิเคราะห์ความเหมาะสมของงบประมาณรายหัวที่จะต้องใช้จ่ายว่าควรจะอยู่ในอัตราหัวละเท่าใด ขณะที่ค่าวัตถุดิบในการประกอบอาหาร รวมถึงค่าจ้างแม่ครัวก็มีการขยับตามอัตราเงินเฟ้อที่มีการปรับสูงขึ้นไปแล้ว ทั้งนี้ ตนอยากให้เร่งวิเคราะห์งบประมาณค่าอาหารกลางวันนักเรียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อที่จะได้เสนอเรื่องการขอปรับเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันที่ได้รับเป็นอัตรารายหัวให้รัฐบาลใช้ประกอบการพิจารณา และสามารถใช้งบฯได้ทันในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 นายณัฏฐพล กล่าวต่อไปว่า เท่าที่ดูข้อมูลแล้วมองว่าหลักการของการให้เงินอุดหนุนอาหารกลางวันในอัตราหัวละ 20 บาทเท่ากันทั่วประเทศคงไม่ได้แล้ว เพราะสัดส่วนจำนวนนักเรียนของแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างกัน…

ชี้อาจารย์มหา’ลัยสอนคนวัยทำงานไม่ได้ จี้ปรับระบบการศึกษาสนองผู้เรียนทุกคน

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมวิชาการ  “นวัตกรรมการจัดการโรงเรียนคุณภาพต่อเนื่องสู่การประกันคุณภาพ” ผลสำเร็จและบทเรียนจากโครงการวิจัยปฏิบัติการ “โรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง” (School Quality Improvement Program : sQip) โดยมีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ประธานกรรมการนโยบาย สกว. และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ “คุณภาพโรงเรียนกับการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา” ตอนหนึ่งว่าระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ต้องให้มากกว่าความรู้ และไม่ใช่ผู้เรียนเข้าถึงโอกาสการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ เป็นการพัฒนาตลอดชีวิต และต้องเป็นไปตามบริบทแต่ละพื้นที่ด้วย  ซึ่งตอนนี้ระบบการสอนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม…