“ชาวหอซีมะโด่งจุฬา – ศิลปินแห่งชาติ” ร่วมยินดี รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย นายกสภาสวนสุนันทา

19 ส.ค.2563 เวลา 09.30 น. นางรัตนาวลี โลหารชุน นายกสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมไทย) อดีตอนุสาสกหอพักฯ พร้อมด้วยอดีตนายกสมาคม และคณะกรรมการ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีในโอกาสที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รวีโรจน์ : รายงาน / สุรชาติ : ภาพ www.ssru.ac.th

ความภูมิใจของนิสิตวิศวฯจุฬาฯ ผู้มีส่วนร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงCOVID-19

    นับตั้งแต่ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักและมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพิ่มความปลอดภัยในการรักษาผู้ติดเชื้อจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม้ไฑ ดะห์ลัน นิสิตปริญญาโทภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ช่วยนักวิจัยประจำภาควิชาฯ เป็นหนึ่งในทีมพัฒนา “หุ่นยนต์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วง COVID-19 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทต่างๆ  โดยไม้ไฑได้ร่วมพัฒนา “นินจา” หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresent Robot) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของแพทย์และพยาบาล เนื่องจากสามารถควบคุมการทำงานและสื่อสารกับผู้ป่วยจากระยะไกลโดยไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง และยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ เช่น ความดัน คลื่นหัวใจ และอุณหภูมิได้อีกด้วย…

เปิดใจอธิการบดีจุฬาฯ เบื้องหลังความสำเร็จ มหาวิทยาลัย Top 100 ของโลก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ

  จุฬาฯ ภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของคนไทยขึ้นสู่ Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings 2021 ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับกว่า 1,600 แห่งจากทั่วโลก สะท้อนการทำงานหนักของชาวจุฬาฯ ที่เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกโดยไม่ทอดทิ้งสังคมไทยไว้ข้างหลัง ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ อีกวาระหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563  เปิดเผยว่า “จุฬาฯ มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลก แต่จุฬาฯ จะไม่ทอดทิ้งสังคมไทย ไม่ทิ้งปัญหาของคนไทย…

จุฬาฯ ชู “10 Plus” ลดค่าเล่าเรียนนิสิตร้อยละ 10 ทุกระดับ ทุกสาขาวิชา พร้อมมอบทุนกว่า 5,000 ทุน และความช่วยเหลืออื่น ๆ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศลดค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2563 แก่นิสิตทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาวิชาร้อยละ 10 พร้อมให้การสนับสนุนทุนทุกประเภทกว่า 5,000 ทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมกว่า 500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือนิสิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ย้ำว่า “หลักการที่จุฬาฯ ยึดถือมาตลอด คือ “จะต้องไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่ต้องออกจากจุฬาฯ เพราะไม่มีเงินเรียน” เฉพาะปีการศึกษา 2562 จุฬาฯ ได้พิจารณามอบทุนอุดหนุนการศึกษา และทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิตไปแล้วกว่า 4,022…

นิสิตปลื้ม จุฬาฯ มอบทุนบรรเทาวิกฤตโควิด-19

การดูแลนิสิตทั้งในเรื่องการศึกษาและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้มีความราบรื่นและสวัสดิภาพเป็นเป้าหมายหลักที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญมาโดยตลอด ยิ่งในเวลานี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้นิสิตจุฬาฯ และครอบครัวได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก จุฬาฯ จึงเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยมอบทุนการศึกษารูปแบบต่างๆ รวมทั้งให้การสนับสนุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายแก่นิสิตทั้งในภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2562 และในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้นกว่า 500 ล้านบาท ประกอบด้วย ทุนช่วยเหลือกรณีวิกฤตการณ์โควิด-19 (ทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิต) ทุนอุดหนุนการศึกษาของนิสิต ทุนยกเว้น/ลดค่าหอพักให้กับนิสิตหอพัก การลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา และการสนับสนุน SIM Card จำนวน 6,000 ซิมให้นิสิตสำหรับการเรียนออนไลน์จนถึงเดือนธันวาคม เป็นต้น ทั้งนี้การสนับสนุนดังกล่าวทั้งหมดอยู่บนแนวคิดการช่วยเหลือนิสิตที่มีความเดือดร้อนจากวิกฤตการณ์โควิด-19 อย่างเต็มที่ ผ่านระบบการคัดกรองให้ความเห็นจากคณะที่นิสิตสังกัด ในส่วนของทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิต วงเงิน 30 ล้านบาทนั้น เป็นการให้ทุนช่วยเหลือแก่นิสิตทุกระดับการศึกษาคนละไม่เกิน 10,000 บาท…

เช็คสุขภาพปอดของตนเอง ด้วยแอปพลิเคชัน LUNG CARE

 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชันวัดคุณภาพของปอด “Lung Care” สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วยการเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์คหรือช่องไมโครโฟนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถใช้ได้กับคนปกติหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เพื่อเป็นการประเมินเบื้องต้นถึงการทำงานของปอด และตรวจติดตามปอดว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร รศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งคิดค้นแอปพลิเคชัน “Lung Care” เปิดเผยถึงแอปพลิเคชันดังกล่าวว่า ลักษณะการทำงานเป็นการนำเข้าคลื่นเสียงและแปลงคลื่นเสียงให้เป็นค่าของปอด โดยนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานทางการแพทย์ที่ได้จาก รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ “ที่มาของแอปพลิเคชันนี้มาจากตัวเองเป็นโรคหอบหืด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์จะต้องมีการเป่าเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Peak Flow Meter) แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่…

 รองคณบดี สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะข่าว “โควิด-19 ในเสือโคร่ง” ควรตระหนัก แต่อย่าตระหนก ยังไม่พบหลักฐานการติดต่อจาก “สัตว์สู่คน”

จากรายงานข่าวที่มีการพบเชื้อโควิด-19 ในสัตว์หลายชนิดในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว และล่าสุด เสือโคร่ง จนก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์  ศาสตราจารย์ พ.ญ.ดร. เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาอธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันการติดต่อจาก ‘สัตว์เลี้ยงสู่คน’ ดังนั้น ผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ จึงควร “ตระหนัก” ในการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้ปลอดภัย แต่ไม่ควร “ตระหนก” กับข่าวที่เกิดขึ้น “การตรวจพบเชื้อในเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่แสดงอาการทางระบบหายใจในสวนสัตว์ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกานั้น เป็นการติดเชื้อจากพนักงานดูแลสัตว์…

อธิการบดีจุฬาฯ เน้นปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ติดเชื้อ พร้อมสร้างนวัตกรรมและช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหา COVID-19

ศ.ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ส่งสารถึงประชาคมจุฬาฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายนนี้  เพื่อขอบคุณและให้ขวัญกำลังใจอันสืบเนื่องจากสถานการณ์    COVID-19 โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งกล่าวถึงความสำคัญของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ติดเชื้อและผู้สังเกตอาการ COVID-19 ในแนวทางปฏิบัติอันเป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยเมื่อพบกรณี ผู้ติดเชื้อ “การปฏิบัติการทุกขั้นตอน เราได้กระทำด้วยความเอาใจใส่และด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลของสมาชิกประชาคมที่ติดเชื้อ โอกาสนี้ ผมจึงขอความกรุณาให้ชาวประชาคมจุฬาฯ ทุกคนได้เคารพและปกป้องสิทธิของท่านเหล่านี้ด้วย ทั้งบนพื้นฐานของกฎหมายและจริยธรรม”  ศ.ดร.บัณฑิตกล่าว นอกจากนี้ อธิการบดีจุฬาฯ ยังกล่าวถึงความจำเป็นในการคิดนอกกรอบและสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขและเยียวยาปัญหาจาก COVID-19 ซึ่งในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนานวัตกรรมชั้นแนวหน้า ไม่ว่าจะเป็นชุดคัดกรองผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 แบบรวดเร็ว โครงการหุ่นยนต์        โรโบโควิด และตู้ความดันลบเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยเพื่อป้องกันเชื้อ COVID-19…

จุฬาฯ พร้อมแล้วกับการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ รองรับสถานการณ์ COVID-19

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับการเรียนการสอนทุกรายวิชาให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่ 16 มีนาคม เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และลดความเสี่ยงของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ ในการสัมผัสโรคโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจากการทดสอบระบบการเรียนการสอนออนไลน์แล้วพบว่า แม้ระบบจะมีติดขัดบ้าง แต่ก็สามารถทำการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างราบรื่น  สนุกสนานทั้งผู้เรียนและผู้สอน ถือเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation ด้านการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ รศ.ดร.กุณฑินี มณีรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ            ได้ซักซ้อมการใช้ Zoom ทำงานกลุ่มย่อยในวิชา “ท่องโลก” ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป  นิสิตที่เรียนเป็นนิสิตปี…

จุฬาฯ ครองอันดับหนึ่งมหาวิทยาลัยไทยด้วยเคล็ดลับพิเศษ

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศไทยมากกว่า       20 สาขาวิชา ตามการจัดของ QS World University Ranking ซึ่งถือว่าครอบคลุมสาขาที่เป็นที่หนึ่งมากกว่าทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในการจัดอันดับเปรียบเทียบในระดับโลก สาขาวิชาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา (Development Studies) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ คือ 51-100 ที่ดีที่สุดของโลก ขณะที่           อีก 4 สาขาวิชาสำคัญ คือ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมเคมี ภูมิศาสตร์ การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 101-150 ที่ดีที่สุดในโลกตาม…