จัดแสดงดนตรีในสวน ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯทุกเย็นวันอาทิตย์ตลอดเดือนมีนาคม ชมฟรี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดการแสดงดนตรีในสวน ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกเย็นวันอาทิตย์ตลอดเดือนมีนาคม เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางดนตรี และแหล่งการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์รอบรั้วจุฬาฯ ประกอบด้วย        วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม การแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ของชมรมดนตรีไทยและชมรมนาฏศิลป์ไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ พบกับหลากหลายบทเพลงไพเราะ             วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร อำนวยเพลงโดยวานิช โปตะวณิช ศิลปินศิลปาธร           วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม วงดุริยางค์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Orchestra) บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ และบทเพลงอื่นๆ รวมทั้งการขับร้องโดยนักร้องคุณภาพ พัทธนันท์ อาจองค์…

ประกาศ เลื่อนการพิจารณาของคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียนกล่าวหา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

จากการที่มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่ามีบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร โดยเชิญผู้ถูกร้องเรียนมาให้ข้อมูลในวันที่ 29 สิงหาคม 2562 นั้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องหลังจากที่ได้นัดหมายผู้ถูกร้องเรียนไปแล้ว เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวโดยละเอียด จึงขอเลื่อนการนัดหมายผู้ถูกร้องเรียนออกไปก่อนจนกว่าคณะกรรมการฯ จะตรวจสอบข้อมูลแล้วเสร็จ

ทีมนิสิตจุฬาฯ ชนะรางวัล Best Report จากการแข่งขันแผนการตลาดระดับนานาชาติ ณ ประเทศสิงคโปร์

ตัวแทนนิสิต Chulalongkorn Business School และคณะนิเทศศาสตร์ ได้รับคัดเลือกจากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน GBPC(Global Brand Planning Competition) ซึ่งเป็นการแข่งขันแผนการตลาดระดับนานาชาติที่จัดโดย Global Chinese Marketing Federation ในปีนี้จัดแข่งขันที่ Nanyang Teachnological University ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 ผลการแข่งขันปรากฏว่า นิสิตจุฬาฯสามารถคว้ารางวัล Best Report มาได้สำเร็จเป็นที่น่าภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงอย่างยิ่งแก่คณะและประเทศชาติได้อีกวาระหนึ่ง รายชื่อนิสิตผู้ได้รับรางวัลมีดังนี้ 1. น.ส.พุทธสุดา…

มหิดล-จุฬาฯ-ขอนแก่น ขึ้นแท่นอันดับ1-3 มีผลงานวิจัยระดับโลก “สวนสุนันทา” หนึ่งเดียวของราชภัฏ ครองอันดับ1อีกสถาบัน

มหิดล-จุฬาฯ-ขอนแก่น ขึ้นแท่นอันดับ1-3 ด้าน “สวนสุนันทา” พุ่งติดโผเป็นหนึ่งเดียวของราชภัฏ ครองอันดับ 1 อีกสถาบัน จากผลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2562  ของ SCImago Institutions Rankings 2019 Scimago Lab ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2562 (Scimago Institutions Rankings 2019)  ผ่านเว็บไซต์ https://www.scimagoir.com ซึ่งผลการจัดอันดับประเภทภาพรวม (Overall Rank) ปรากฎว่ามีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 22 แห่ง …

”สมองสุนัขจำลอง” นวัตกรรมรักษ์โลกลดปัญหาขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์

การเรียนการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ต้องอาศัยอวัยวะจริงของสัตว์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของอวัยวะภายใน อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะจริงของสัตว์ที่ได้รับบริจาคจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลังจากที่สัตว์เสียชีวิตลงมีข้อจำกัดคือสัตว์ที่ได้รับบริจาคยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้เรียนจำนวนมาก  รวมถึงสภาพอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ที่ได้รับบริจาคอาจมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ การหาสื่อการเรียนการสอนมาใช้แทนอวัยวะสัตว์จริงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ ได้พัฒนา ”สมองสุนัขจำลอง” เป็นสื่อการเรียนการสอนใหม่ในห้องปฏิบัติการ ทดแทนสมองสุนัขจริง เนื่องจากสมองสุนัขจริงมีขนาดเล็ก หายาก และเป็นอวัยวะที่เน่าเร็วมาก รวมทั้งมักเกิดความเสียหายจากการเรียนในแต่ละครั้ง และอาจเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าได้ สมองสุนัขจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นนี้เป็นผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงประเภท Teaching methods and materials จากการประชุมวิชาการนานาชาติ The 47th International…

“ซอสปรับสมดุลไขมันโอเมก้าสำหรับเมนูผัดกะเพรา”นวัตกรรมจากจุฬาฯ เพื่อคนรักสุขภาพ

ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่สนใจของผู้บริโภคซึ่งให้ความสำคัญกับคุณค่าของสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน นอกจากไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัวที่เรารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว การปรับสมดุลของโอเมก้าซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้น “โอเมบอส ซอสปรับสมดุลไขมันโอเมก้าสำหรับเมนูผัดกะเพรา” นวัตกรรมจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการพัฒนาซอสปรุงรสในเมนูผัดกะเพราซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยให้มีปริมาณไขมัน  โอเมก้าที่สมดุล เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นวัตกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมากในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ปี 2562 และสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงินจากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษามาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจ อ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์  ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า อาหารประเภทผัดต่างๆ ซึ่งมีไขมันเป็นส่วนประกอบ มักจะมีปริมาณไขมันมากเกินไป   ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โอเมก้า 6 เป็นไขมันที่เรารับประทานมากเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด…

จุฬาฯ จัดโครงการขับขี่ปลอดภัยในจุฬาฯCU Zero Traffic Accident

เมื่อวันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการขับขี่ปลอดภัยในจุฬาฯ หรือ CU Zero Traffic Accident  กิจกรรมที่จัดขึ้นมีการบรรยาย “ขับขี่ปลอดภัยในจุฬาฯ” โดยตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน พิธีมอบหมวกกันน็อกให้ตัวแทนของศูนย์รักษาความปลอดภัย    จุฬาฯ  สำนักบริหารระบบกายภาพ และสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จากนั้นมีการกิจกรรมปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และ Scooter เป็นการเริ่มสัปดาห์การขับขี่ปลอดภัยในจุฬาฯ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า…

รู้จักตัวตนของ “น้องนาน่า-เหม่เหม” จอมแสบสันต์จากนิเทศจุฬาฯ

รู้จักตัวตนของ “น้องนาน่า-เหม่เหม” จอมแสบสันต์จากนิเทศจุฬาฯ   สาวใสวัย 17ปี ผู้แจ้งเกิดจากซีรี่ย์เรื่องแรก “เลือดข้นคนจาง” ในบทบาท “เหม่เหม” กับความแสบสันต์ที่ทำเอาผู้ชมช็อคไปทั้งประเทศ วันนี้เราพาท่านมารู้จักตัวตนของ “น้องนาน่า” หรือ ศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์ นิสิตปี 1 จากหลักสูตรนานาชาติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงตัวละคร “เหม่เหม”  ต้องบอกก่อนว่านักแสดงใหม่ทุกคน ดังนั้นบทจะถูกเขียนมาจากตัวตนของเขาอยู่แล้ว นิสัยของหนูมีความคล้ายเหม่เหมระดับหนึ่ง ทั้งในการช่วยพ่อ รักพ่อและก็เหมือนเขา ห้าวนิดนึงด้วย การปีนรั้วเป็นอะไรที่ปกติมากๆเพราะเหม่เหมโตมากับพี่ชาย 9 คนและมีความคิดแบบไม่ค่อยผู้หญิงเท่าไหร่ ฉากไหนท้าทายมากที่สุด อย่างซีนที่ตัวละครเหม่เหมต้องโกหกว่าโดนข่มขืน มันเป็นซีนที่ยากและไกลตัวมาก หนูเองจินตนาการไม่ออก  แต่พยายามลองคิดว่า ถ้าพ่อแม่เรารู้ว่าเราโดนอย่างนี้ พวกเขาจะคิดยังไง  พอดีหนูได้แผลจากฉากก่อนหน้านี้…