“สเปรย์สมุนไพรกำจัดไรฝุ่น” และ “สเปรย์น้ำหอมจากสารสกัดเปลือกมังคุด” สองนวัตกรรมนาโนจากสัตวแพทย์ จุฬาฯ ลดอาการแพ้ แก้ปัญหากลิ่นให้สัตว์เลี้ยงแสนรัก

                นักวิจัยหน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ พัฒนา “สเปรย์สมุนไพรกำจัดไรฝุ่น” และ “สเปรย์น้ำหอมสำหรับสัตว์เลี้ยงจากสารสกัดเปลือกมังคุด” นำเทคโนโลยีนาโนมาใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ รับรองความปลอดภัย มีจำหน่ายแล้วโดยบริษัทสตาร์ทอัพของคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ             เจ้าตูบกลิ่นแรง หรือน้องแมวเลียตัวจนขนร่วง นี่อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้ที่เกิดมาจากไรฝุ่น หรือเชื้อแบคทีเรียที่หมักหมมอยู่ตามผิวหนังของเจ้านายสี่ขาทั้งหลาย การแก้ปัญหามีหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธียอดนิยมคือการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น สเปรย์กำจัดไรฝุ่น สเปรย์อาบน้ำ สเปรย์ลดกลิ่นตัวสัตว์เลี้ยง ฯลฯ ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงใดสำหรับสัตว์เลี้ยงแสนรัก คำถามนี้จุดประกายให้นักวิจัยจากหน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยและพัฒนา “สเปรย์สมุนไพรกำจัดไรฝุ่น”…

จุฬาฯ วิจัยหนุน“สระบุรีพรีเมียมมิลค์” ต้นแบบธุรกิจเพื่อเกษตรกรโคนมไทยแข่งขันในตลาดโลก

สัตวแพทย์ จุฬาฯ วิจัยหนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมพัฒนาและผลิตน้ำนมคุณภาพสูง “สระบุรี   พรีเมียมมิลค์” ผันตัวเป็นผู้ประกอบการ สร้างแบรนด์ธุรกิจฟาร์มเพื่อยืนหยัดแข่งขันในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับภาวะคุกคามของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)           ในปี 2568 และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)  เกษตรกรมีโอกาสสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากการผลิตน้ำนมดิบคุณภาพสูง และยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มเพื่อผลิตน้ำนมคุณภาพระดับพรีเมียม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรโคนมไทยกว่า 16,000 ครอบครัวที่ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบจากภาวะคุกคาม หากไม่มีการปรับเปลี่ยนเมื่อสัญญาเขตการค้าเสรีเริ่มมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2568 น้ำนมและผลิตภัณฑ์นมหลากหลายชนิดจากประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จะเข้ามาทำการตลาดและแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากไม่มีกำแพงภาษี ดังนั้นเกษตรกรต้องเร่งพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ ความสดใหม่ (Freshness) และคุณภาพของน้ำนมสดระดับพรีเมียม (Premium…

จุฬาฯ จดสิทธิบัตร เทคโนโลยีโภชนาการแห่งอนาคต “หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทย”

   อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ชีวภาพ ตั้งเวลานำส่งสารอาหารในร่างกายให้ได้ประโยชน์เน้นๆ สกัดจากสมุนไพร ปลอดภัยและได้ผล เพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย อาหาร ยา อาหารเสริม ไม่ว่าจะอวดสรรพคุณว่าดีแค่ไหน หากเข้าสู่ร่างกายแล้วถูกย่อยก่อนที่ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารดีๆ เหล่านั้นเข้าไป ก็ไร้ประโยชน์ กลายเป็นความสิ้นเปลือง อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา นักวิชาการประจำหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้วิจัย “หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทย” เพื่อแก้ปัญหานี้ “เราเรียกนวัตกรรมด้านโภชนาการนี้ว่าหุ่นยนต์ เนื่องจากกลไกอันชาญฉลาดของมันที่สามารถกำหนดเวลาปลดล็อกโพลิเมอร์ที่ห่อหุ้มผิวนอกของอาหารได้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผนังลำไส้ดูดซึมสารอาหารหรือตัวยาสำคัญที่ต้องการให้ร่างกายได้รับ ลดการสูญเสียคุณค่าทางอาหารระหว่างกระบวนการย่อยที่สารอาหารบางตัวอาจถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร” อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์…