รมว.ศธ.จี้โรงเรียน ปรับแผนการสอนด่วน! ลดภาระนักเรียนเครียด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างใกล้ชิด และเปิดรับฟังทุกความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอด โดยเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตนได้ประชุมร่วมกับผู้บริหาร ศธ. และออกแนวทางผ่อนคลายภาระด้านการเรียนที่เกินความจำเป็นของนักเรียนลง ตลอดจนให้สถานศึกษาสำรวจอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนในรูปแบบที่เหมาะสม ยืดหยุ่น เข้าใจนักเรียน เพื่อลดความเครียดของนักเรียนที่ต้องเรียนภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ยังพบว่าจนถึงขณะนี้สถานศึกษาหลายแห่งยังไม่มีการปรับปรุงแผนการสอน มีการกำหนดตารางเรียนออนไลน์อัดแน่นถึงวันละ 9 วิชา ดังนั้น ตนจึงได้สั่งการให้องค์กรหลักที่มีสถานศึกษา…

รมว.ศธ.ร่วมถกอนาคตการศึกษาไทย พร้อมผุดโครงการโน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนางสาวตรีนุชเทียนทองเปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ตนได้ประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNECT ED) ซึ่งได้หารือถึงการดำเนินงานภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการสนับสนุนโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNECT ED ในส่วนของภาครัฐแผนการจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกสถานศึกษาปีการศึกษา 2564 แผนการดำเนินงานด้านงานวิจัย การถอดบทเรียนองค์ความรู้ภาคเอกชนแผนงานด้านการกลั่นกรองโครงการบนระบบระดมทุนออนไลน์ น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมาความร่วมมือในโครงการนี้ของรัฐและเอกชนได้ประสานการทำงานเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นการกำหนดตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ศึกษานิเทศก์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามข้อมูลเชิงลึกสถานศึกษาหรือ school management system (SMS) พร้อมทั้งสนับสนุนงานวิจัยและถอดองค์ความรู้ ประมาณ ขณะเดียวกันในส่วนของแผนพัฒนาโรงเรียนยังมีกลุ่มโรงเรียนที่ยังไม่มีภาคเอกชนดูแลกว่า 2,700 แห่งซึ่งจะมีการวางแผนดำเนินงานในส่วนนี้ต่อไป สำหรับโครงการ…

รมว.ศธ.เดินหน้า ปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมชูการเรียนแบบ “Active learning”

ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะมุ่งที่การพัฒนาสมรรถนะของเด็กไทยใน 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการตนเอง การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การคิดขั้นสูง การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยคณะกรรมการฯ จะจัดทำเป็นกรอบหลักสูตร (Framework) ที่จะเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถนำไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ได้ แต่จะมีจุดร่วมกันในการสร้างสมรรถนะ ซึ่งโรงเรียนต้องมีการปรับวิธีการเรียนการสอนใหม่โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน ได้คิด ได้ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ไม่ใช่กระบวนการสอนทางเดียวแบบเดิม ยกตัวอย่างเช่นในการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองที่ดี นักเรียนจะต้องเรียนรู้จากสถานการณ์จริง…

รมว.ศธ. เดินหน้านโยบายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้-ลดความเหลื่อมล้ำ

“ตรีนุช” ชื่นชมครูจัดหาคอมฯให้เด็ก พร้อมเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประเด็นที่ต้องแก้ไขเตรียมลุยเดินหน้านโยบายเพื่อการเรียนรู้   เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่า หลังจากที่ตนได้เข้ารับตำแหน่ง รมว.ศธ. ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนงานการศึกษาของประเทศ โดยหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่ตนให้ความสำคัญมากคือการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งต้องยอมรับว่าเรายังมีความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่ต่างๆ โดยจะเห็นได้จากกรณีของครูสมชัย (ครูโอ้น) คุณครูโรงเรียนวัดเขาวังจังหวัดราชบุรี ซึ่งตนรู้สึกชื่นชมคุณครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้นักเรียนที่ขาดแคลนใช้เป็นอุปกรณ์การเรียน แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการกำลังเร่งลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ ทั้งความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสและคุณภาพ รมว. ศธ. กล่าวอีกว่า “ดิฉันไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ อีกทั้งเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลแห่งชาติ การส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน…

8 เรื่องเร่งด่วนที่ รมว.ศธ. ควรทำ จากความคิดเห็นของชุมชน EDUZONES

  หลังจากที่มีการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “เรื่องเร่งด่วนที่ รมว.(กระทรวงศึกษาธิการ) ควรทำ” ผ่านโพสต์ https://www.facebook.com/ajWiriya/posts/293975882083762  ไปนั้น จากความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชาวชุมชน eduzones สามารถจัดอันดับเรื่องเร่งด่วนออกมาได้ 8 อันดับดังนี้ค่ะ   1.ปรับหลักสูตร/วิชาเรียน ด้วยหลักสูตรการเรียนปัจจุบันเด็กมีชั่วโมงการเรียน และวิชาที่เรียนมากเกินไป จึงต้องการให้มีการปรับหลักสูตรโดยการลดชั่วโมงเรียน ยกเลิกวิชาที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อนออกไป และปรับหลักสูตรเพิ่มวิชาที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในอนาคต รวมถึงปรับหลักสูตรให้เข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น   2.ปรับลดขนาดห้องเรียน ปัจจุบันห้องเรียนของไทยมีจำนวนเด็กต่อห้องค่อนข้างมาก  จึงอยากให้ลดขนาดนักเรียนต่อห้องลงอยู่ที่ประมาณห้องละไม่เกิน 25 คน เหมือนกับที่ประเทศฟินแลนด์ เพื่อให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงและดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง   3.ปรับลดงานครู นอกจากงานสอนนักเรียนแล้ว…

รมว.ศธ.เตรียมเสนอเปิดเรียนเต็มรูปแบบ พร้อมยกเลิกสลับวันเรียน

  เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ จะเสนอเรื่องการเปิดภาคเรียนให้เด็กมาเรียนในห้องเรียน หรือ on site แบบ 100% โดยไม่ต้องสลับวันมาเรียนอีกต่อไปให้ทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พิจารณา เนื่องจากมองว่าขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไม่ได้มีการแพร่ระบาดภายในประเทศเป็นระยะเวลานานแล้ว อีกทั้งได้คลายล็อคมาตรการต่างๆพอสมควร   ดังนั้นจึงคิดว่าสถานศึกษาควรปลดล็อคให้มาเรียนในห้องเรียนแบบเต็มรูปแบบได้แล้ว เพราะจะทำให้ได้จัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีผู้ปกครองได้สะท้อนความคิดเห็นมาว่าการสลับวันเรียนอาจส่งผลให้การเรียนขาดความต่อเนื่อง   ทั้งนี้ หากศบค.อนุมัติให้จัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ขอย้ำโรงเรียนทุกแห่งห้ามการ์ดตกยังคงต้องรักษามาตรการตามข้อปฎิบัติของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)…

รมว.ศธ.เผย เปิดเทอม 1 ก.ค.นี้ อาจต้องจัดการศึกษาแบบผสมผสาน พร้อมให้อำนาจ รร.จัดการตามแนวทางที่เหมาะสม

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เปิดเผยถึงการวางแผนรับมือการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ว่า โรงเรียนต่าง ๆ อาจจะต้องจัดการศึกษาแบบผสมผสานกัน อาจจะไม่สามารถจัดห้องเรียนแบบเดิมได้อีกต่อไป   ซึ่งโรงเรียนขนาดใหญ่อาจจะไม่มีความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอน ตามมาตรฐานความปลอดภัยของการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยโรงเรียนจะมีอำนาจตัดสินใจใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้ อาทิสลับวันเรียน สลับชั้นเรียน สลับเวลาเรียน ให้นักเรียนมาเรียนช่วงเช้าและบ่าย เป็นต้น   ทั้งนี้ อาจสร้างความหนักใจให้โรงเรียน เพราะทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ยากต่อการบริหารจัดการ…

รมว.ศธ. เผย รอ’ศบค.’ตัดสินใจเปิดเทอมเร็วขึ้นหรือไม่ 29 พ.ค.นี้!

  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหลักสูตรต่างๆและระดับปริญญาต่างๆ โดยขอให้ ศธ.ดูความเหมาะสมในการวางแผนและการเตรียมความพร้อมให้เห็นว่าภายใน 4-5 นี้ คนที่เรียนจบปริญญาออกมาตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ยังพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เห็นว่าขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้กับทุกคน แต่เป็นการต่างคนต่างทำซึ่งอาจทำให้ได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร จึงอยากให้หน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกันในการทำสื่อสาระการรับรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   นอกจากนี้ นายณัฏฐพล ยังได้ร่วมหารือกับ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…