เผย 13 เทคนิคเรียกสมาธิเด็กในห้องเรียน

  อีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญในการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนนั้นก็คือผู้เรียน เพราะต่อให้ครูเตรียมเนื้อหา องค์ความรู้ หรือสื่อการสอนมาอย่างดีมากเพียงใดแต่หากผู้เรียนนั้นไม่พร้อมที่จะรับความรู้เพราะขาดสมาธิในการเรียนแล้วนั้น ก็ไม่อาจทำให้การเรียนการสอนในห้องเรียนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพในการเรียนได้เท่าที่ควร วันนี้เราจึงมี 13 เทคนิคดีๆ ที่จะช่วยครูในการสร้างสมาธิแก่นักเรียนในห้องเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนได้ประสิทธิภาพมาฝากกันค่ะ       1.ครูต้องแสดงออกถึงพลังและความกระตือรือร้นอยู่เสมอในเวลาที่อยู่กับเด็ก ในการเรียนการสอนในห้องเรียนครูต้อง active ตัวเองอยู่เสมอ อย่าเอาแต่ยืนนิ่งๆ อยู่กับที่ ให้ลองเดินไปเดินมาบ้างและคอยพูดคุยสื่อสารกับเด็กอยู่เสมอทั้งเรื่องวิชาการและเรื่องทั่วๆ ไป ชวนคิด ชวนเล่มเกม เพื่อให้เด็กไปรู้สึกกระตือรือร้นตามไปด้วย     2.การเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมด้วย ไม่ควรยืนพูดหน้าชั้นอย่างเดียว การเรียนการสอนที่ครูพูดกับกระดานดำหรือการให้เด็กแค่ฟังและจดตามไม่เพียงพอแล้วในยุคนี้ ครูควรตั้งคำถามบ่อยๆ…

รู้จักกับ PERMA จิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

“จิตวิทยาเชิงบวก เป็นแนวทางจิตวิทยาสมัยใหม่ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ที่เกิดจากอารมณ์เชิงบวก ที่ทำให้คนมีความสุข และพร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้”   ปัจจุบันแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพราะวิธีการศึกษาจิตวิทยาแบบดั้งเดิมมีความโน้มเอียงไปทางจิตพยาธิวิทยาและการบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิต มากกว่าการสร้างความเข้มแข็งทางจิต แต่จิตวิทยาเชิงบวกนั้นส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีหลักการให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจากภายใน มีอารมณ์ด้านบวก ทำให้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน จนลืมเวลา เกิดความไหลลื่นในการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยในการเรียนรู้นั้นผู้เรียนจะมีแรงจูงใจ มีส่วนร่วมเกิดความสัมพันธ์ มีความผูกพันทั้งระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้สอน และนำมาเชื่อมโยงกับชีวิตจริง เกิดความสำเร็จในตนเอง นำไปใช้ได้ในอนาคต         จิตวิทยาในแนวทางเดิม (traditional psychology) เป็นการศึกษาอารมณ์ที่ทำให้เกิดความไม่สบาย เช่น…

8 วิธีฝึกนักเรียนของคุณให้ได้ผล!

ภาระหน้าที่ของพ่อพิมพ์ แม่พิมพ์อย่าง “ครู” นั้น ไม่ใช่แค่การสอนเพียงวิชาการและความรู้ในห้องเรียนเท่านั้น เพราะหน้าที่ของครูคือการฝึกเด็กให้พร้อมทั้งความรู้ในห้องเรียน นอกห้องเรียน การเสริมสร้างทักษะต่างๆ อย่างรอบด้าน รวมไปถึง “การดูแลความประพฤติ” เพื่อเด็กๆ เหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทั้งวิชาความรู้ในการนำไปประกอบอาชีพ และเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้เป็นอย่างดี   แต่การจะฝึกเด็กหนึ่งคนหรือเด็กทั้งห้องให้มีความประพฤติดีนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้เราจึงมี 8 วิธีที่จะช่วยให้การฝึกวินัยและปรับพฤติกรรมแก่นักเรียนได้ผลมาฝากกันค่ะ     1 สร้างบรรยากาศ ทำห้องเรียนให้น่าอยู่ นักเรียนจะให้ความร่วมมือดีและสนใจการเรียนมากขึ้น เมื่อบรรยากาศในห้องเรียนดีมีการจัดบอร์ด หรือมุมต่างๆ ที่น่าสนใจ ก็กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ นักเรียนจะรู้สึกตนเป็นเจ้าของห้อง เกิดความรักห้อง และรักโรงเรียน…

5 เทคนิคช่วยให้การสอน (ของครู) ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

      ในการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาอัดแน่น มีองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆ มากมายแล้วนั้น ก็คงจะไม่แปลกที่จะทำให้เด็กๆเบื่อหน่ายกับการเรียน ซึ่งก็ส่งผลต่อความสนใจในการเรียนและยากต่อการสอนของครูด้วย เพราะยิ่งวิชาไหนเนื้อหาหนัก เนื้อหาแน่นคนสอนก็เหนื่อย คนเรียนก็เบื่อ วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้การเรียนการสอนของครูไม่น่าเบื่อ และน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วยมาฝากกันค่ะ       1 วางตำราแล้วพาไปลงมือทำ ถึงแม้ในหลายวิชาการเปิดตำราและอ้างอิงทฤษฎีต่างๆ จะสำคัญ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการสอนแบบให้เด็กนั่งฟัง นั่งดูตำราตามก็ทำให้เด็กๆ เบื่อหน่ายกับการเรียนได้ การเพิ่มกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ลงมือทำก็จะช่วยให้เด็กๆ ไม่เบื่อ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การสร้างกิจกรรมร่วมกันในห้องเรียนอย่างการแสดงละคร เรื่องสั้น พาไปสำรวจรอบรั้วโรงเรียน ให้นักเรียนจับกลุ่มพูดคุยระดมสมองในหัวข้อที่ของเขาสนใจ…

13 เทคนิคสอนให้เด็กรักวิชาคณิตศาสตร์

  ถ้าพูดถึงวิชาปราบเซียน วิชาที่ยากและติดอันวิชาที่นักเรียนหลายคนไม่ชอบแล้วล่ะก็ หนึ่งในวิชาที่หลายคนนึกถึงก็คงจะหนีไม่พ้น “วิชาคณิตศาสตร์” แต่วิชานี้ไม่ได้ปราบเซียนแค่คนเรียนเท่านั้น แต่ก็ปราบไปถึงคนสอนด้วย เพราะในเมื่อเด็กหลายคนไม่ชอบการเรียนคณิตศาสตร์ ไม่ชอบตัวเลข ไม่ชอบการคิดคำนวณก็ยิ่งส่งผลให้การสอนของครูยากมากขึ้น วันนี้เราจึงมีเทคนิคสั้นๆ ที่ช่วยทำให้เด็กๆ รักวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น จาก ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ (อ.หนุ่ม) มาฝากกันค่ะ     1 เมื่อสอนแล้วเด็กไม่เข้าใจ อย่าเพิ่งดุ หลายคนเกลียดวิชาคณิตศาสตร์เพราะเคยถูกดุ จากนั้นจึงฝังใจคำพูดนั้นไปทั้งชีวิต ฉะนั้นถ้าเราไม่อยากทำร้ายเด็กทั้งชีวิต ผู้สอนต้องใจเย็นๆ ต้องไม่พูดดูถูกเด็ก เพราะการที่เราเก่งคณิตศาสตร์ไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งในทุกเรื่อง เด็กเองก็เช่นกัน    …