มทร.ธัญบุรี พัฒนา “วัสดุคอมโพสิต” จากขยะพลาสติกบรรจุภัณฑ์เคลือบด้วยอะลูมิเนียม

การพัฒนาวัสดุคอมโพสิตจากขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกเคลือบด้วยอะลูมิเนียมสู่การใช้งานจริง เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย จากโครงการ Talent mobility ของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ผลงานนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนินท์ มีมนต์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และทีมวิจัย ผศ.ศุภเอก ประมูลมาก, ผศ.บุญส่ง จงกลนี, ดร.มนทิพย์ ล้อสุริยนต์ และอาจารย์จิรวัฒน์  ใจอู่ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนินท์ กล่าวว่า ทุกวันนี้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนมากที่ต้องการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทำมาจากชั้นฟิล์มของเทอร์โมพลาสติกและมีชั้นฟิล์มของอะลูมิเนียมทำหน้าที่รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  เช่น ถุงขนมคบเคี้ยว ซองบรรจุกาแฟสำเร็จรูป ถุงบรรจุภัณฑ์เมล็ดกาแฟ กล่องนม…

ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ศพก.) รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานดีเด่น ในการป้องกั นและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2563

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2563 ซึ่งในปีนี้ ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2563 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

สรุปมติครม.เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 25 ส.ค. 2563

  จากการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 สามารถสรุปมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการออกมาด้วยกัน 2 เรื่อง  ได้แก่ -แต่งตั้งนายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   -แต่งตั้งนายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สพฐ.…

“ปาณิสรา อารยะถาวร” บัณฑิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2562

    หนึ่งในนิสิตนักศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการประกาศเกียรติคุณให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2562 มีชื่อของปาณิสรา อารยะถาวร หรือน้องวัน นิสิตนักกิจกรรมคนเก่งจากรั้วจามจุรี ซึ่งเคยทำหน้าที่ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 73 เธอเป็นความภูมิใจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะนิสิตผู้มีความประพฤติดี เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชน เปี่ยมด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและทำกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ กีฬา ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคม ปัจจุบันน้องวันสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ตลอดระยะเวลา 4 ปีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาณิสราเรียนรู้ประสบการณ์อันมีค่าจากการ           ทำหลากหลายกิจกรรมทั้งในคณะและมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้เธอเติบโตและพัฒนาตนเองในหลายด้าน รวมทั้งได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งเป็นโอกาสให้เธอได้พัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ด้วยบุคลิกภาพและความสามารถอันโดดเด่น…

จุฬาฯ มอบหุ่นยนต์ “นินจา” รุ่น “จุฬาอารี” ให้กรมกิจการผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย

  ปัจจุบันนวัตกรรม “หุ่นยนต์” เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากผู้ป่วยแล้ว ยังมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (จุฬาอารี) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยในบริบทสังคมสูงวัย ได้จัดพิธีส่งมอบหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ (หุ่นยนต์นินจา รุ่นจุฬาอารี)  ให้แก่กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เพื่อนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จ.ปทุมธานี โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีมอบหุ่นยนต์แก่คุณศิริลักษณ์ มีมาก ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ  เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม Social…

อาจารย์-นักศึกษาครุศาสตร์สวนสุนันทา คว้ารางวัลประกวดนวัตกรรมอุดมศึกษา จากผลงาน “เลโก้ AR พัฒนาการอ่านออกเขียนได้”

วันที่ 26 สิงหาคม 2563 คณะครุศาสตร์ แสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ เศรษฐพงศ์ ในฐานะผู้ควบคุม ที่ได้รับรางวัล รวมทั้งนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คว้าเหรียญเงินในงานประกวดนวัตกรรมอุดมศึกษา ผลงาน “เลโก้ AR พัฒนาการอ่านออกเขียนได้” กลุ่มการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย นายกสภามหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้มอบรางวัลและเกียรติบัตร โดยมีนักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีดังต่อไปนี้ 1. นายฐาปกรณ์  อยู่สันเทียะ…

กองพัฒนานักศึกษา สวนสุนันทา จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลิกภาพ มุ่งพัฒนานักศึกษาก้าวทันโลก

PR ยุค New Normal : อะไรอยู่ อะไรไป แล้วเราจะรอดอย่างไรกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริอร จำปาทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาบุคลิกภาพ ณ ห้องประชุมวรลักษณานงค์ โครงการดังกล่าว จัดโดยฝ่ายวินัยนักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิดให้ก้าวทันโลกในยุค New Normal และได้รับเกียรติจากคุณโสภาวดี จันทร์ถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง…

สอศ.จัดโครงการครูเป็นโค้ชและการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจการเกษตรสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาทักษะครูผู้สอนเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจแก่ผู้เรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจให้แก่ครู และผู้เรียนอาชีวศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เน้นพัฒนาด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ โครงการการพัฒนาครูผู้สอนอาชีวศึกษาที่จัดขึ้นนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะ และความรู้ด้านการประกอบธุรกิจที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้แก่ผู้เข้าอบรมทุกคน ทำให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปถ่ายทอด และเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เป็นการเพิ่มศักยภาพด้านธุรกิจแก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรกรรมและประมงอีกทางหนึ่ง โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2563 ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ​ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินโครงการในครั้งนี้ จัดขึ้นโดย 3 หน่วยงาน…

“โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ” อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับน้อง ๆ สายอาชีวะ

สวัสดีจ้า สวัสดีน้อง ๆ สายอาชีวะทุกคน วันนี้พี่มีข้อมูลดี ๆ จากโรงเรียนเฉพาะทางมาแนะนำ เหมาะสำหรับน้อง ๆ ผู้ชายอาชีวะที่มีใจรักในงานช่าง และความเร็วของรถไฟ ต้องบอกว่าห้ามพลาดกันเลยทีเดียว เพราะใช้เวลาเรียนไม่นานก็สามารถทำงานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้เลย พร้อมแล้วมาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า   “โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 บริเวณตรงข้ามกับโรงงานมักกะสัน ได้ทำพิธีเปิดเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 โดยมีวัตถุประสงค์ในการอบรมนักเรียนวิศวกรรมรถไฟ ให้มีความรู้ ความชำนาญในกิจการรถไฟ ปัจจุบัน โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ตั้งอยู่ในสวนรถไฟ เขตจตุจักร…

คณะบัญชีฯ จุฬาฯ ขยายผลโครงการ ChAMP สู่โลกดิจิทัล และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Lifeline Learning

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าไม่หยุดกับ ChAMP (Chulalongkorn Alumni Mentorship Program) พลิกวิกฤติเป็นโอกาสหลังสถานการณ์โควิด-19 สร้างดิจิทัลคอนเทนต์เผยแพร่บนโลกออนไลน์ หวังทลายข้อจำกัดด้านจำนวนพี่เลี้ยง (Mentor) ที่ขาดแคลน เพื่อเปิดทางให้นิสิตนอกโครงการได้ร่วมกิจกรรม และเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifeline Learning) พร้อมผลักดันโครงการให้สร้างประโยชน์สาธารณะต่อภาคสังคม สมกับการเป็นเสาหลักของประเทศต่อไป   นายธงชัย บุศราพันธ์ ซีอีโอใหญ่แห่ง โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการ ChAMP รุ่นที่ 9 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่านับตั้งแต่ปีแรกจนถึงปัจจุบัน เข้าปีที่ 9 โครงการ ChAMP มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีบัณฑิตที่ผ่านโครงการนี้ออกสู่ภาคธุรกิจแล้ว 493 คน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากหลายหน่วยงาน พร้อมกับเสียงเรียกร้องให้มีการขยายโครงการออกสู่ภาคสังคม แต่เนื่องจากจำนวนพี่เลี้ยง (Mentor) ที่คัดเลือกจากรุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษา ทั้งจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะอื่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสบความสำเร็จและมีความรู้ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ มีจำกัด ทำให้การขยายโครงการยังทำได้ไม่เต็มที่นัก กระทั่งเกิดสถานการณ์โควิด 19 ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะสร้างความยากลำบากในการเมนทอริ่งระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง             ที่เข้าร่วมโครงการที่เป็นนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ แต่ก็ทำให้เกิดไอเดียใหม่ในการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์เผยแพร่ไปยัง ผู้ร่วมโครงการ (Mentee) และคนนอกโครงการ ที่ไม่ใช่แค่นิสิตเท่านั้้น แต่ยังสามารถส่งต่อให้บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ   “สถานการณ์จากโควิดทำให้เกิดการใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ จึงทำให้รูปแบบโครงการแชมป์เปลี่ยนไปหลายอย่าง เช่น เดิมรุ่นพี่กับรุ่นน้องเคยเจอกันแบบเจอหน้า ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอย่างซูมมิตติ้งแทน แต่ก็ทำให้เกิดข้อดีตรงที่ทำให้คอนเทนต์ที่เคยจำกัดอยู่แค่น้องนิสิตเพียง 4 คนในกลุ่ม ก็ขยายออกไปสู่สังคมภายนอกซึ่งที่ผ่านมาเรามีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนพี่เลี้ยง (Mentor) ให้สามารถรองรับนิสิตทุกคนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องยอมรับว่าทำได้ยาก เพราะต้องมีการคัดเลือกให้ได้พี่เลี้ยงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ จะช่วยให้น้องนอกโครงการสามารถได้รับประโยชน์ จากประสบการณ์และความรู้ที่เราถ่ายทอดให้กับน้องๆ ที่มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการฯ (Mentee) ไปพร้อมกัน ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ 100% เหมือนกัน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ความรู้ตรงนี้จะเปิดโอกาสให้เขาได้เปลี่ยนตัวเองได้เช่นกัน”   นายตรอง หลงสมบูรณ์ นิสิตปี 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการแชมป์ กล่าวว่าตัวเองรู้จักโครงการ ChAMP จากรุ่นพี่ค่ายอาสา ซึ่งแม้จะไม่เชื่อเสียทีเดียวนักว่าการนั่งคุยกับรุ่นพี่จะช่วยให้ค้นหาตัวเองเจอ แต่ความที่เป็นคนชอบตั้งคำถามและทดลองสิ่งใหม่ๆ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยคาดหวังว่าจะได้รับคำตอบเกี่ยวกับอาชีพในฝัน แต่คำตอบที่ได้กลับเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า   “เป็นคำตอบที่ให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น รู้ว่าเรามีความสุขกับอะไร ชอบทำอะไร และทำอะไรได้ดี ซึ่งสำคัญกว่าอาชีพ เพราะจริงๆ แล้ว โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา อีก 50 ปีข้างหน้า อาชีพที่ใช้ในการดำรงชีวิตอาจไม่มีสอนในคณะฯที่เราเรียนอยู่ตอนนี้ก็ได้ สิ่งที่เราต้องรู้ จึงควรเป็นคุณค่าในชีวิตตัวเองคืออะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีทางจะหาเจอได้ในห้องเรียน”     น.ส. ณภัสสร พรกุลวัฒน์ นิสิตปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กล่าวว่าความที่ทรัพยากรบุคคลของโครงการมีจำกัด ทำให้ตัวเองได้รุ่นพี่ที่อยู่ในสายงาน ไม่ตรงกับสายวิชาที่เรียน กระนั้้นแม้จะไม่ได้รับประสบการณ์ความรู้ที่ตรงกับสายวิชาที่เรียนแต่ก็ได้ประสบการณ์ความรู้ในสายวิชาอื่นที่เข้ามาช่วยเติมเต็มและสร้างความหลากหลายให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของโลกยุคสมัยใหม่ “ตัวเองเรียนด้านการตลาด ก็จะไม่ค่อยชอบตัวเลข มาได้รุ่นพี่ที่ทำงานด้านไพรเวทแบงค์กิ้ง กับเรียลเอสเตท ทำให้ได้แง่มุมด้านการมองภาพรวมธุรกิจ และตัวเลขการลงทุน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานด้านการตลาดได้มาก”   ทั้งนี้ โครงการ ChAMP หรือ Chulalongkorn Alumni Mentorship Program เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับบริบทการศึกษาในปัจจุบัน ที่การเรียนรู้ไม่ได้จำเพาะอยู่แค่ออนไลน์หรือออฟไลน์ แต่เป็นไลฟ์ ไลน์เลิร์นนิ่ง อันเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในยุควิถีปกติใหม่นับจากนี้ไป เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีรากฐานอันแข็งแกร่งในการต่อยอดสู่โลกอนาคต