เล็ง! ดึงเงินบำนาญแก้ปัญหาหนี้ครู – 1 สิงหาคม 2565

  นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เผย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยการจัดตั้งสถานีแก้หนี้ ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา 558 สถานี และระดับจังหวัดให้เป็นกลไกหลักระดับพื้นที่นั้น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการประสานงานร่วมกันระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ละจังหวัดกับสถานี้แก้หนี้ครูระยะแรก ซึ่งจะมีการจัดทำข้อมูลสรุปว่าในเฟสแรกนี้จะมีสหกรณ์ที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินครูกี่แห่ง อีกทั้ง ศธ.ยังได้ประสานไปยังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อที่จะทำข้อตกลงร่วมกันในการนำเงินบำเหน็จบำนาญมาช่วยชำระหนี้ให้แก่ครูในกลุ่มครูที่มีหนี้อยู่ในสถานะวิกฤติ โดยจะนำเงินที่ครูจะได้รับหลังเกษียณอายุราชการบางส่วนมาใช้ชำระหนี้ ที่สำคัญคือผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อตกลงนี้จะต้องมีสถานะหนี้ที่อยู่ในกลุ่มวิกฤติจริงๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 14,000 ราย จากกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าโครงการ ทั้งนี้ ตนคาดว่าเมื่อดำเนินการจัดทำข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว ครูกลุ่มหนี้วิกฤติก็จะสามารถนำเงินจาก กบข.ของตนเองมาชำระหนี้ได้ รายละประมาณ…

สินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชีวิตครู จากธนาคารออมสิน

  สินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชีวิตครู จากธนาคารออมสิน เพื่อข้าราชการครู นำไปชำระหนี้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนเสริมเพิ่มอาชีพ เพื่อให้ครูปราศจากหนี้สิน สามารถอุทิศเวลาให้กับการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ คุณสมบัติกลุ่ม  มีสมาชิกเป็นครู ที่หน่วยงานต้นสังกัดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอ/จังหวัดเดียวกัน จำนวนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปรวมตัวกัน และมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง  มีคณะกรรมการบริหาร  มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน กำหนดเงื่อนไขการเป็นสมาชิก และการพ้นสภาพการเป็นสมาชิกของกลุ่มใหญ่อย่างชัดเจน  มีเงินกองทุนสำรองภายในกลุ่มจากการออมร่วมกันของสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน  มีแนวทาง/มาตรการ/วิธีการ/โครงการ/แผนงานในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในกลุ่มให้ดีขึ้น ทั้งนี้ สมาชิกออมเงินสัจจะเข้ากองทุนสำรองของกลุ่มใหญ่ จำนวนเท่ากันทุกเดือน โดยมีการจัดทำทะเบียนคุมการรับฝากของสมาชิก   คุณสมบัติผู้กู้ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ…

ชงข้อเสนอจัดการโครงสร้างตัดเงินเดือนครูชำระหนี้ไม่เกินร้อยละ 70! — 22 มิถุนายน 2565

  เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เผยว่าได้ประชุมร่วมกับนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) หาวิธีแก้ปัญหานี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเตรียมจัดข้อเสนอเกี่ยวกับการตัดเงินเดือนครูไปชำระหนี้ไม่ให้เกินร้อยละ 70 โครงการนี้จะนำเสนอให้คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ซึ่งนำทีมโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้เป็นประธานรับหน้าที่พิจารณา หากประสบผลสำเร็จจะนำออกมาปฏิบัติในส่วนราชการต่อไป รวมไปถึงการหักหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู . ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยโพสต์

แก้ “หนี้ครู” คืบหน้า ศธ. จัดตั้งสถานีแก้ครูไปแล้วกว่า 558 สถานีทั่วประเทศ — 17 มิถุนายน 2565

  เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งประกาศให้ปี 2565 เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน”   กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินตามมาตรการ  7 เรื่อง ได้แก่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สมกับเป็นสินเชื่อสวัสดิการ ตัดเงินเดือนของข้าราชการ การทำให้ครูมีเงินเหลือใช้หลังจากชำระหนี้ ไม่น้อยกว่า 30% หรือไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,000 บาท การคุมยอดหนี้ที่ครูจะสามารถกู้ได้…

เร่ง! ให้ความรู้ด้านการเงิน สกัดปัญหาการก่อหนี้ประชาชนในอนาคต — 14 มิถุนายน 2565

  เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ  เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำการผลักดันให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการการทำงาน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง พร้อมกำชับถึงการสร้างความรับรู้แก่ประชาชน เพื่อรับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนายกรัฐมนตรีต้องการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้จัดทำความรู้ด้านการเงิน หรือ financial literacy เพื่อเป็นการปลูกฝังเรื่องออมให้แก่ประชาชน ซึ่งจะทำให้มีการวางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างมีคุณภาพและไม่เป็นการก่อสร้างหนี้ในอนาคตต่อไปอีก โดยแผนการจัดทำความรู้ด้านการเงินนี้จะเป็นแผนการดำเนินการะยะ 5 ปี   นางสาวตรุนุชยังได้กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ผ่านมา เราได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยเฉพาะความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและเอกชน…

“ตรีนุช” เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครู — 31 พฤษภาคม 2565

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงประเด็นที่ได้หารือร่วมกับ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการนาคารออมสิน เผยว่าธนาคารออมสินยินดีให้ความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยมากอย่างต่อเนื่องจนมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.4 เท่านั้น โดยมีครูกว่า 3 แสนบัญชีได้รับผลประโยชน์ในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วก็ยังได้อนุมัติสินเชื่อพิเศษให้กับครูให้สามารถนำเงินบำเหน็จตกทอดมาค้ำประกันการกู้ยืมได้ 100% ของเงินบำเหน็จตกทอด คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2% ใน 10 ปีแรก มีระยะเวลากู้ถึง 30 ปี แต่มีเงื่อนไขให้นำเงินกู้ก้อนใหม่ไปชำระสินเชื่ออื่น ๆ ที่มีดอกเบี้ยสูง ไม่เพียงแต่เท่านั้นทางธนาคารออมสินยังสนับสนุนเงินกู้พิเศษดอกเบี้ยต่ำให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเฉพาะสหกรณ์ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน…

4 มาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูจากกระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อต้องการลดภาระหนี้โดยรวมของครูให้น้อยลง ให้ครูมีรายได้ต่อเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน โดยได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนในเฟสแรก เป็น 4 มาตรการ ดังนี้   มาตรการที่ 1 ลดดอกเบี้ย โดยเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ครูรายใหญ่เข้าร่วม ขณะนี้มีสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง จากทั้งหมด 108 แห่ง เข้าร่วมปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยจะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตั้งแต่ 0.05-1.0% และพบว่ามีสหกรณ์ 11 แห่ง สามารถปรับลดดอกเบี้ยให้ลงเหลือต่ำกว่า 5%…