นักวิจัยสวนสุนันทา สร้างวิจัยเชิงสังคมศาสตร์เพื่ออนุรักษ์ “ต้นชะโนด” ส่งเสริม “น้ำบัวแดง” ลดความเหลื่อมล้ำ- สร้างความยั่งยืนแก่ชาวบ้านท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีความเป็นอัตลักษณ์ทั้งวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงด้านภูมิศาสตร์ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งคำชะโนดและทะเลบัวแดงที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศโดยจำเป็นต้องอาศัยประชาชนในพื้นถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดู แลพื้นที่พร้อมยกระดับในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองทำให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด อาจารย์ประจำแขนงวิชาการจัดการพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เริ่มดำเนินการวิจัยการบริหารการพัฒนาอัตลักษณ์ “คำชะโนด” อนุรักษ์ “รุกขนาคา”เมืองอุดรธานีสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนร้านค้าผลิตผลคนรากหญ้า อยู่ดีมี สุขลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนโดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิทธ์ เล่าถึงที่มาของดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ว่ามาจากพื้นที่ของคำชะโนดซึ่งมีความเชื่อเรื่องพญานาคที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นเวลานานมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวมีความศรัทธาต่อเจ้าปู่ศรีสุทโธ เจ้าย่าศรีปทุมมาเข้ากราบสักการะทุกปีแต่งานวิจัยส่วนใหญ่จะเข้าไม่ถึงประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริงไม่มีงานวิจัยในมิติของคุณค่าวัฒนธรรม คติชนต่าง ๆส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์หรือผลกระทบจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นบริบทรอบนอกมากกว่ารวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์กับ “ต้นชะโนด” หรือ “รุกขนาคา” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ด้วย จึงได้เริ่มต้นงานวิจัยเพื่ออนุรักษ์…