‘รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล’ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา

รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา ผู้เชี่ยวชาญพัฒนางานวิจัยด้านคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทย รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทย โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลภาษาไทยให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับค้นหาตัวอย่างการใช้ภาษาไทยและได้เปิดให้บริการค้นผ่านทางเว็บไซต์ Thai Concordance รวมทั้งได้เข้าร่วมในโครงการพัฒนาครั้งข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ โดยออกแบบคลังข้อมูลและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการตัดคำกำกับข้อมูลตัวบทและจัดเก็บคลังข้อมูล นอกจากคลังข้อมูลภาษาไทยแล้ว รศ.ดร.วิโรจน์ ยังได้ร่วมกับอาจารย์สาขาภาษาอังกฤษในการพัฒนาและสร้างคลังข้อมูลเทียบบทภาษาอังกฤษ-ไทย เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาการแปลสามารถเข้าถึงและค้นหาตัวอย่างการแปลได้…

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 ไขรหัสพันธุกรรมเชื้อดื้อยาในสัตว์ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565” เผยรหัสพันธุกรรม เชื้อดื้อยา ในสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม แนะวิธีแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” “เชื้อดื้อยา”เป็นภัยเงียบที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าคร่าชีวิตประชากรโลกถึงปีละ 700,000 คน หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าอีก 30 ปีข้างหน้า หรือราวปี 2593 การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอาจสูงถึงปีละหนึ่งล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นพบว่าการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามีสถิติสูงถึงปีละประมาณ 30,000 คน! การเร่งหาแนวทางรับมือกับปัญหาเชื้อดื้อยาในวันนี้จึงจำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาสาธารณสุขในวันหน้า “ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ที่เชื่อมโยงทั้งสุขภาพคน…

อาจารย์สถาปัตย์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2565 พัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  รศ.ไตรรัตน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โครงการรูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ในการวางแผนตามหลักเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  รศ.ไตรรัตน์ เผยถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติว่า “ดีใจและขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องผู้สูงอายุ ผลงานวิจัยนี้ ผมและทีมวิจัยได้ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 20…

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2564 สาขาปรัชญากับงานวิจัยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเรื่องที่ดินและคนเมือง

“ปัญหาเรื่องที่ดินในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน  เป็นจุดกำเนิดของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคมในเชิงระบบ  ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ก็ยากที่จะลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม   ด้านอื่นๆ ของประเทศได้” รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 เผยถึงความสำคัญขององค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการที่ดินและการวางแผนจัดการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่อาจารย์มุ่งมั่นศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รศ.ดร.อภิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ดินหมายถึงที่ตั้งและพื้นที่ในการสร้างความมั่งคั่งและความสุขพื้นฐานของคนในสังคม   ทุกวันนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของที่ดินไม่จำกัดแค่ที่ดินในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงที่ดินที่อยู่บนโลกเสมือนคือตำแหน่งที่ตั้งและพื้นที่บนโลกดิจิทัลด้วย  คนที่มีโอกาสมากก็จะจับจองที่ตั้งทบนโลกเสมือนหรือโลกดิจิทัลได้มากกว่า การใช้ชีวิตบนโลกเสมือนจะมีแพลตฟอร์มที่มีคนจับจองอยู่มาก จนเริ่มมีการผูกขาดบนโลกเสมือนมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีการครอบครองพื้นที่ในโลกดิจิทัลได้มากเท่าไหร่ก็จะสร้างความมั่งคั่งได้เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยพยายามมองไปถึงที่ตั้งในโลกดิจิทัล ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้นในอนาคต ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “คนเมือง 4.0”  รศ.ดร.อภิวัฒน์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานโครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ “คนไทย…

สามคณาจารย์จุฬาฯ “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563”กับผลงานวิจัยทรงคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ศ.ดร.สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์     สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ได้รับรางวัล “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563” ด้วยผลงานวิจัยซึ่งมีความโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขาปรัชญา และสาขาการศึกษา ศ.ดร.สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เป็นผู้มีผลงานการวิจัยทางจุลชีวิทยา โดยเฉพาะการแยกเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อในอาหารหมักพื้นบ้านของประเทศไทย เช่น…