นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2565

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกประกาศ นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการรับนักเรียนที่เป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล โดยยึดหลักดำเนินการแบบมีส่วนร่วม สร้างโอกาสที่เป็นธรรม บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และสื่อสารสร้างการรับรู้อย่างมีประสิทธิผล   โดยนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2565 จะมีรายละเอียดของหลักการการรับนักเรียน บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวปฏิบัติการรับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น และแนวปฏิบัติการรับนักเรียนลักษณะ/กรณีพิเศษต่างๆ   โดยครู-อาจารย์ รวมถึงสถานศึกษา สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดประกาศเพิ่มเติม ได้ที่ >>>…

คุรุสภากำหนดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู วันที่ 17-18 ก.พ. 65

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องกำหนดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยในประกาศได้กำหนดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู  เป็นวันที่ 18 – 19  กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีกำหนดการดังนี้ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 -เวลา 09.30 – 11.00 น.  สอบวิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร -เวลา 12.30 –…

มีที่เรียนก่อนใคร! โค้งสุดท้าย “สวนสุนันทา” พารอด รับรอบ 1 ถึง 4,601 ที่นั่ง สมัครวันนี้ยังมีโอกาส – 7 ม.ค.65

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 (รอบที่ 1 Portfolio) จำนวน 4,601 ที่นั่ง  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 7 มกราคม 2565 คณะ/วิทยาลัยที่เปิดรับสมัคร คณะครุศาสตร์ 357 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 378 คน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 321 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 402 คน…

อาจารย์สถาปัตย์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2565 พัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  รศ.ไตรรัตน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โครงการรูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ในการวางแผนตามหลักเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  รศ.ไตรรัตน์ เผยถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติว่า “ดีใจและขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องผู้สูงอายุ ผลงานวิจัยนี้ ผมและทีมวิจัยได้ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 20…

“นวัตกรรมผ้าไม่ทอจากเส้นใยไผ่ ในผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ทางการแพทย์” นักวิจัยมทร.ธัญบุรีสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม

“นวัตกรรมผ้าไม่ทอจากเส้นใยไผ่ ในผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ทางการแพทย์” แผนการวิจัย การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้กรอบการวิจัย Local Enterprise ประจำปี 2563 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) นำทีมการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วารุณี  อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาคร ชลสาคร คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ และ ดร.รัฐ ชมภูพาน…

สรุปความเห็น ประเด็น “วิชาลูกเสือ-เนตรนารี”

ถือเป็นประเด็นการศึกษาที่น่าสนใจ เมื่อ เฟซบุ๊ค Eduzones และ Wiriyah Eduzone ได้เปิดพื้นที่ตั้งโพสต์ด้วยคำถามว่า วิชาลูกเสือ-เนตรนารี ควรไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ซึ่งบางส่วนมองว่า ควรไปต่อ เพราะกระบวนการเรียนการสอนของ ลูกเสือ-เนตรนารี เป็นการฝึกระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการช่วยเหลือผู้อื่น แต่บางส่วนกลับมองว่า หลักสูตรและการแต่งกายนั้นล้าสมัย เรียนไปเอาไปใช้อะไรไม่ได้ ควรเหลือไว้ให้เป็นเพียงวิชาชุมนุมก็พอ เราจึงได้รวบรวมและจัดอันดับความเห็นจากการแสดงความคิดเห็นของโพสต์คำถามไว้ดังนี้ อันดับ 1 ไปต่อได้แต่ควรปรับหลักสูตร-เครื่องแต่งกาย วิชาลูกเสือ-เนตรนารี หากศึกษาให้ถึงแก่นจริงของเนื้อหาแล้วคือการสอนทักษะการเอาตัวรอด การใช้ชีวิต หากปราศจากซึ่งเทคโนโลยี วัตถุประสงค์ของวิชานี้จะช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคสมัยนี้ของเด็ก…

สรุปความเห็น ประเด็น “วิชาพระพุทธศาสนา”

กลายเป็นประเด็นที่ชาวโซเชียลออกมาเพื่อแสดงความคิดเห็น กับรายวิชาพระพุทธศาสนา หนึ่งในหมวดวิชาสังคมศาสตร์ ที่ เฟซบุ๊ค Eduzones และ Wiriyah Eduzone ได้เปิดพื้นที่ตั้งโพสต์คำถามว่า วิชาพระพุทธศาสนา ควรไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ซึ่งบางส่วนยังมองว่า ควรไปต่อ เพราะวิชาพระพุทธศาสนาถือเป็นรากฐานของการทำความดี และเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เด็กไทยได้ศึกษา แต่บางส่วนกลับมองว่าเป็นการบังคับหรือยัดเยียดให้เด็กเชื่อในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เลือก อีกทั้งยังเห็นว่า บ้านคือแหล่งสอนศาสนาไม่ใช่ที่โรงเรียน เราจึงได้รวบรวมและจัดอันดับความเห็นจากการแสดงความคิดเห็นของโพสต์คำถามไว้ดังนี้ อันดับ 1 ไปต่อได้แต่ควรปรับหลักสูตร วิชาพระพุทธศาสนายังถือเป็นแก่นสำคัญของการนำมาใช้เพื่อการดำรงชีวิต หากเราไม่สอนในสิ่งที่ใช้สำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ เวลาเราเจอความทุกข์ เจอปัญหาในชีวิต เราอาจจะหาทางออกจากปัญหานั้นได้ยาก และอาจใช้ทางออกในทางที่ผิด เราจึงควรปรับปรุงหลักสูตรเนื้อหา…

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติต่อต้านคอร์รัปชัน ปี 2021

ผศ.ดร.ต่อภัสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก Secretary of State, U.S. State Department  สหรัฐอเมริกา ให้ได้รับรางวัล International Anticorruption Champion  Award 2021 เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลปีนี้ ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัล 12 คนจากทั่วโลก โดย ผศ.ดร.ต่อภัสร์ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลในฐานะนักวิชาการจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ ดีใจที่งานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ผมและใครอีกหลายคนในประเทศไทยมีบทบาทในเรื่องนี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจะมีส่วนช่วยป้องกันและลดปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศไทยได้” ผศ.ดร.ต่อภัสร์ เผยความรู้สึกที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ แรงบันดาลใจสู่การเป็นนักต่อต้านคอร์รัปชัน ความสนใจในการศึกษาวิจัยเรื่องคอร์รัปชันของ…

จุฬาฯ เปิดหลักสูตรควบข้ามระดับ ทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรแรกในไทย ผลิตบัณฑิตทันตแพทย์เพื่อพัฒนาสาธารณสุขในชุมชน

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  จุฬาฯ ร่วมมือทางวิชาการเปิดหลักสูตรควบข้ามระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาฯ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบัณฑิตทันตแพทย์ด้านการบริหารงานสาธารณสุข รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการผลิตงานวิจัยด้านทันตสาธารณสุขและสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศรวมทั้งเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของประชาชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านวิชาการอื่นๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุขในระดับชุมชน ระดับชาติและนานาชาติเพื่อส่งเสริมศักยภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและภูมิภาคที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของบัณฑิตทันตแพทย์จุฬาฯ ให้มีความรู้ความสามารถด้านสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านทันตสาธารณสุขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมอย่างยั่งยืน  ซึ่งเป็นหลักสูตรควบข้ามระดับทันตแพทยศาสตรฺหลักสูตรแรกในประเทศไทย โดยมีการบูรณาการข้ามศาสตร์และควบข้ามระดับปริญญาตรีและโท สามารถสำเร็จการศึกษาทั้งสองปริญญาได้ในระยะเวลา 6 ปี  นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างบัณฑิตทันตแพทย์แนวใหม่ที่จะมีบทบาทในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต นอกจากนั้ยังสร้างผลงานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุขทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ ไปจนถึงระดับนานาชาติ ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์…

ขอเชิญครูผู้สนใจสมัครเพื่อรับกิจกรรม “การเรียนรู้การรู้ดิจิทัล ระดับมัธยมศึกษา”

ขอเชิญครู-อาจารย์ที่สนใจสมัครเพื่อรับกิจกรรมการเรียนรู้การรู้ดิจิทัล ระดับมัธยมศึกษา โดยครู-อาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำกิจกรรมไปสอนเสริมในรายวิชาวิทยาการคำนวณ รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริม ชุมนุม หรือปรับใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ผ่านการคัดเลือก จะได้รับเอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ 20 กิจกรรม ฟรี โดยรับลิงก์เอกสารทางอีเมลภายใน 3 วันหลังสมัคร  (โปรดตรวจสอบอีเมลและระบุให้ถูกต้อง) สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสมัครที่ https://bit.ly/3mj4iUb