รมว.ศธ.ชี้หลักสูตรพื้นฐานยังไม่โจทย์ เผยเตรียมใช้หลักสูตรใหม่ปี 65

“ณัฏฐพล” ลงพื้นที่โรงเรียนในกทม พบเด็กกระจุกตัวในรร.ดัง เตรียมแก้ปัญหาพัฒนาโรงเรียนในสี่มุมเมือง พร้อมเผยหลักสูตรใหม่ประกาศใช้ปี 65 แทนที่หลักสูตรขั้นพื้นฐานปัจจุบันซึ่งไม่ตอบโจทย์-เป็นปัญหาทำเด็ก   นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม) ว่าตนพบว่าโรงเรียนในเขตกทม. มีการกระจุกตัวของนักเรียนที่เกิดจากค่านิยมที่อยากสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งสูง ดังนั้นจึงเราจะต้องสร้างโอกาสกับโรงเรียนมัธยมดีสี่สมุมเมืองมากขึ้น เพราะเท่าที่สำรวจดูเรามความพร้อมด้านสถานที่แต่การเรียนการสอน อาจไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำให้หมดโอกาสในการสร้างความสนใจแก่ผู้ปกครองและนักเรียน   นอกจากนี้ นายณัฏฐพล พบว่า “ขณะนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานยังเป็นปัญหาของผู้เรียนอยู่ เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้เรียนจะนำมาตรฐานมาครอบวัดความสามารถของเด็ก แต่การเรียนของเด็กระดับมัธยมศึกษามีอนาคตความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้นเราต้องยืดหยุ่นการจัดการเรียนการสอน ต้องให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนตามทักษะความถนัดของแต่ละคน   ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าจะผลักดันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ได้ใช้ในปี 2565…

มหิดลอินเตอร์เปิดตัวหลักสูตรใหม่ Creative Technology

เมื่อวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือในการเปิดหลักสูตรใหม่เทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology) พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์  แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา ดร. พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์  คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.โชค  บูลกุล  กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ฟาร์ม โชคชัย คุณกิตติพงษ์ วีระเตชะหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านแบรนด์และการสื่อสาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในงาน ณ ห้องสตูดิโอ A 520 ณ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม หลักสูตรเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology) เป็นการสร้างสรรค์ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของมหาวิทยาลัยมหิดล 4 คณะ ได้แก่วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยราชสุดา และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะนำจุดเด่นของแต่ละฝ่ายมาส่งเสริมประสิทธิภาพและความสามารถทางเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ด้วยมาตรฐานระดับนานาชาติ ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสร้างสรรค์ในประเทศไทยและต่างประเทศ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม รวมทั้งมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติต่อไป