”สมองสุนัขจำลอง” นวัตกรรมรักษ์โลกลดปัญหาขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์

การเรียนการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ต้องอาศัยอวัยวะจริงของสัตว์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของอวัยวะภายใน อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะจริงของสัตว์ที่ได้รับบริจาคจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลังจากที่สัตว์เสียชีวิตลงมีข้อจำกัดคือสัตว์ที่ได้รับบริจาคยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้เรียนจำนวนมาก  รวมถึงสภาพอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ที่ได้รับบริจาคอาจมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ การหาสื่อการเรียนการสอนมาใช้แทนอวัยวะสัตว์จริงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ ได้พัฒนา ”สมองสุนัขจำลอง” เป็นสื่อการเรียนการสอนใหม่ในห้องปฏิบัติการ ทดแทนสมองสุนัขจริง เนื่องจากสมองสุนัขจริงมีขนาดเล็ก หายาก และเป็นอวัยวะที่เน่าเร็วมาก รวมทั้งมักเกิดความเสียหายจากการเรียนในแต่ละครั้ง และอาจเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าได้ สมองสุนัขจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นนี้เป็นผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงประเภท Teaching methods and materials จากการประชุมวิชาการนานาชาติ The 47th International…