หมดยุค! จับครูพัฒนาโดยเข้าห้องอบรม เสียเวลา-งบฯ — 30 พฤษภาคม 2565

  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) กล่าวว่า การพัฒนาครูที่ผ่านมามีแต่รูปแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่เปลืองทั้งเวลาและงบประมาณมากกว่าการเน้นผลที่ดีต่อผู้เรียนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยนายเอกชัยมองว่าสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อน ดังนั้นการพัฒนาครูแบบเดิม ๆ จะไม่ได้ผลดีอย่างเช่นเมื่อก่อน ควรเริ่มตั้งแต่การยกเลิกการอบรมครูเพื่อหวังพัฒนาครู เพราะเสียทั้งงบประมาณและเวลาของครู และหลังจากฝึกอบรมเสร็จ ก็ไม่มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม . นายเอกชัยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติ่มอีกว่า การเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาครูที่ดี โดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพราะโรงเรียนถือเป็นสถานที่พัฒนาครูที่ดีที่สุด และเน้นการพัฒนาวิชาชีพของครูอย่างต่อเนื่อง เปิดกว้างมีอิสระนการคิดและพัฒนาตนเองในเรื่องที่ตนขาดความรู้ความสามารถ ทักษะหรือสมรรถนะ เพราะครูทุกคนจะมี IDP (Individual…

กมว.เตรียมร่างข้อบังคับวิชาชีพครูใหม่! อุดช่องโหว่ป.บัณฑิต

ประธานกมว. ตั้งกรรมการร่างข้อบังคับการเรียนวิชาชีพครูใหม่ นำหลักสูตรวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี 4 ปีมาใช้ หวังอุดช่องโหว่หลักสูตรป.บัณฑิต   เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ได้เปิดเผยว่า ในการประชุมกมว.เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างข้อบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยมีตนเป็นประธาน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯชุดนี้ที่ตั้งขึ้น เพื่อเข้ามาอุดช่องโหว่ของการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การเปิดหลักสูตรป.บัณฑิตของบางสถาบันอาจคำนึงถึงรายรับมากกว่าคุณภาพผู้เรียน โดยผู้เป็นครูได้จะต้องปฏิบัติการสอนในวิชาเฉพาะได้ แต่กลับพบว่าผู้เรียนป.บัณฑิต กว่า20% เรียนอย่างหนึ่งแต่ไปสอนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง   ทั้งนี้…

กมว.เร่งหาข้อมูล ป.โท บริหารการศึกษา ม.เอกชน เรียนจบแต่ขอใบอนุญาตฯวิชาชีพไม่ได้

วันนี้(9 ก.ย.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรการมาตรฐานวิชาการ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุม กมว.ได้ติดตามกรณีการรับรองปริญญาทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเขตปริมณฑล หลังมีผู้ร้องเรียนว่าเรียนจบหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แต่ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาได้ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวในปีการศึกษา 2557 และ 2558 รับนักศึกษาได้ปีละ 100 คน แต่มีการแจ้งรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษาเกินกว่าจำนวนที่คุรุสภาให้การรับรอง เมื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปทางมหาวิทยาลัยก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้เรียนว่ามีการเรียนในที่ตั้งหรือนอกที่ตั้งเท่าใด และให้สรุปข้อมูลเสนอ กมว.ตัดสินใจในวันที่ 4 ต.ค.นี้ รศ.ดร.เอกชัย กล่าวต่อไปว่า…