ติวฟรี A-LEVEL 11 - 14 มีนาคม 2567 : ของขวัญจากกระทรวงศึกษาธิการ

ติวฟรี A-LEVEL 11 – 14 มีนาคม 2567 : ของขวัญจากกระทรวงศึกษาธิการ

ติวฟรี A-LEVEL 11 – 14 มีนาคม 2567 : ของขวัญจากกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดการ 11 มีนาคม 2567 09.00 – 11.00 น. : วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 11.00 – 12.00 น. : ภาษาไทย 13.00 – 14.00 น. : ภาษาไทย 14.00…

ศธ.โต้ เงินรายหัวทิพย์ ชี้ผลักดันกว่า 10 ปี ถึงได้ – 3 สิงหาคม 2565

  เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เผยในฐานะโฆษก ศธ. ว่า ตามที่นายสมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการทางการศึกษา ออกมากล่าวอ้างว่าประเด็นเรียนฟรี 15 ปีไม่มีอยู่จริงเนื่องจากการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนนั้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 20% เท่านั้น อีก 80% ผู้ปกครองจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  นับเป็นการเรียนฟรีทิพย์ และการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวครั้งนี้เป็นการหาเสียงทางการเมืองนั้น อยากให้มองด้วยใจเป็นธรรม โดย ศธ.ใช้ความพยายามในเรื่องนี้มากว่า 10 ปี กว่าเรื่องนี้จะสำเร็จ ผ่านการผลักดันของหลายรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลจะมีภาระงบประมาณหลายด้าน ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็ยังพิจารณาเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้นักเรียนต่อเนื่อง 4 ปี ถึง 8,066 ล้านบาท ซึ่งควรชื่นชมในการให้ความสำคัญของการศึกษาของรัฐบาล . “เราไม่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนมานานกว่า 10 ปี โดยปรับครั้งล่าสุดในปี 2553 ขณะที่ปัจจุบันราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนฯครั้งนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของนักเรียน จำนวนกว่า 11.5 ล้านคน และลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ครอบครัวนักเรียนยากจนลงได้ รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของสถานศึกษาในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย สำหรับประเด็นว่าการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน เพิ่มขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินเดือน ค่าตอบแทนครูและบุคลากร และการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมได้นั้น เงินเดือนและค่าตอบแทนก็เป็นงบประจำที่ต้องจ่ายเป็นปกติ จะนำเปรียบเทียบกับการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวได้อย่างไร และเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนที่เพิ่มขึ้นก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ทั้งหมดก็จริง แต่นี้คือความพยายามของ ศธ.ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และยังเป็นปัจจัยที่สถานศึกษาได้รับเพิ่มในการจัดการศึกษาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน” นายวีระกล่าว . ขอขอบคุณแหล่งที่มา : มติชน

ปลัดศธ.คนใหม่ คาดพิจารณาภายใน 1-2 เดือน – 18 กรกฎาคม 2565

  เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อทดแทนอัตราการเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2565 ว่า นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำลังจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บริหารระดับ 11 เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งตนอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม โดยจะดูคุณสมบัติอย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุราชการ และความสามารถที่จะต้องสานต่องานต่าง ๆ เชื่อมโยงกับทุกองค์กรหลักใน ศธ.ได้ โดยต้องการให้ทำงานและพร้อมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญไปพร้อมกับตน ทั้งนี้ขอยืนยันว่ายังไม่มีใครในใจเป็นพิเศษ และคาดว่าจะสรุปรายชื่อผู้บริหารระดับ 11 ทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการได้ภายใน…

ศธ. ห่วง ปัญหาความรุนแรงใน รร. กำชับทุกหน่วยงานติดตาม นร.ใกล้ชิด — 2 มิถุนายน 2565

  เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวถึงการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ไปแล้วเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่า มีเหตุการณ์ที่น่าเป็นห่วงเกิดขึ้นหลายเรื่อง เช่น การเสียชีวิตของนักเรียน ความรุนแรงระหว่างนักเรียนกับนักเรียนไปจนถึงนักเรียนทะเลาะกับครูนั้น โดยนายสุภัทรเองก็กังวลเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เป็นอย่างมาก จึงได้กำชับทุกหน่วยงานให้เข้มงวด และติดตามเฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากนโยบายเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นนโยบายสำคัญที่ควรได้รับการดูแล ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็มีความเข้มงวดในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้วด้วย แต่จะต้องกำชับให้มีเพิ่มมากขึ้น และเน้นเรื่องการเข้าสังคม กิจกรรมงานกลุ่ม เพราะ 2…

‘ตรีนุช’ สั่งวางมาตรการสร้างความปลอดภัยให้ น.ร. หลังเด็ก ม.2 โดดตึกเสียชีวิต — 31 พฤษภาคม 2565

  นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หลังมีการเกิดกรณีนักเรียนหญิงชั้น ม.2 โรงเรียนมัธยมชื่อดังแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตกลงมาจากอาคารเรียนชั้น 8 จนเสียชีวิต ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาสาเหตุและรายงานข้อเท็จจริงว่า สาเหตุที่เด็กตกตึกนั้นมาจากอะไร เช่น อาจจะเกิดปัญหาครอบครัว ปัญหาเพื่อน หรือปัญหาเรื่องเรียน เป็นต้น และได้กำชับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปหามาตรการความปลอดภัยให้กับนักเรียน โดยมาตรการนั้นต้องสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ด้วย . นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า ตนมีความเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปิดเรียนแบบออนไซต์หลังจากที่ไม่เรียนในโรงเรียนเป็นเวลานาน เมื่อเด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนก็อาจจะมีความเครียด ประสบปัญหาการอยู่ร่วมกัน จึงเห็นเคสเด็กชกต่อย บูลลี่กันจำนวนมาก จึงมอบนโยบายกับ สพฐ.ไปว่า โรงเรียนทุกแห่งต้องเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็ก เพื่อจับตามอง และหาทางดูแลเด็กเหล่านี้เป็นพิเศษ …

‘ตรีนุช’ สุ่มตรวจ รร.คลองเกลือ พบนักเรียนมีความสุขหลังเรียน Onsite — 30 พฤษภาคม 2565

  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการเปิดเรียนแบบ On site ที่โรงเรียนคลองเกลือ ซึ่งเป็นโรเรียนระดับชั้นประถมในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) นนทบุรี เขต 2 โดยมีนักเรียนทั้งหมด 655 คน พบว่าทางโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากสำรวจความเห็นของนักเรียนส่วนใหญ่ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความสุขเมื่อได้กลับเข้ามาเรียนในห้องเรียน โดยการเรียนการสอนของโรงเรียนแห่งนี้มุ่งเน้นแก่ปัญหาภาวะความรู้ถดถอยหรือ Learning Loss จากสถานการณ์โควิด โดยโรงเรียนได้ปรับพื้นฐานให้นักเรียน อ่านออก เขียนได้…

คุรุสภา จัดพิธีมอบ “รางวัลครูถิรคุณ” ให้ครูต่ายคนแรก — 26 พฤษภาคม 2565

  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จัดพิธีประกาศเกียรติคุณยกย่องครูผู้เสียสละ และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพเพื่อมอบ “รางวัลครูถิรคุณ” ให้แก่นางสาวกาญจณี  ใจชื้น หรือ ครูต่าย ซึ่งเป็นครูอัตราจ้างของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ที่ได้เข้าช่วยเหลือนักเรียนที่กำลังวิ่งข้ามถนน จนเป็นเหตุให้ถูกรถจักรยานยนต์พุ่งชนจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณ คือนายสำเริง ใจชื้น คุณพ่อ นายสุจริต…

สพฐ. ย้ำปี 65 โรงเรียนต้อง ‘ซ่อม เสริม สร้าง’ ให้นักเรียนเป็นรายบุคคล — 25 พฤษภาคม 2565

  เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เผย หลังจากผ่านการเปิดเรียนแบบออนไซต์มาครบ 1 สัปดาห์แล้ว พบว่าทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างมาก โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกมาเน้นย้ำความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยขอความร่วมมือจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่ดูแลนักเรียนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสังคม ร่างกาย เพื่อให้เด็กมาเรียนในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข พร้อมกับขอให้โรงเรียนดูแลค่าใช้จ่ายเป็นรายบุคคลด้วย ว่าเด็กและครอบครัวมีภาวะยากลำบากหรือไม่ เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป . นายอัมพรกล่าวต่อว่า…

พบเห็นครูลงโทษตัดผมนักเรียน แจ้ง MOE Safety Center ได้ทันที!

  เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้กล่างถึงประเด็นการลงโทษนักเรียนด้วยการตัดผมว่า ไม่มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ฉบับใดที่ให้อำนาจครูลงโทษนักเรียนด้วยการตัดผม ซึ่งระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 ในข้อ 7 ก็กำหนดให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา หรือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน วางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ เช่น โรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับนาฏศิลป์ ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการไว้ทรงผมนักเรียนในรูปแบบเฉพาะ เป็นต้น ทั้งนี้ หลักการที่ต้องยึดถือในการวางระเบียบ คือ ความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง…

ศธ.เผยเล็งสร้างโรงเรียนแม่ข่ายควบรวม ร.ร.ขนาดเล็ก 

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ศ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 1/2565 โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง เข้าร่วม ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  1  ควบคู่กับการประชุมผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom Meeting โดย น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เด็กสามารถศึกษาหาความรู้รอบตัวได้เองผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการพัฒนาครูคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการศึกษาของเด็ก โดยเปลี่ยนแนวความคิดจากที่ครูเป็นผู้มอบองค์ความรู้ให้กับเด็กฝ่ายเดียว…