แนะนำหนังสือ 9 เล่ม จาก “100 หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน”

“รายชื่อหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน”  เป็นงานวิจัยของวิทยากร เชียงกูร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์ ร่วมกับคณะอีก 10 ท่าน ที่คัดเลือกรายชื่อหนังสือต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2408-2519 มาเป็นจำนวน 100 เล่ม ภายใต้ “โครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปี พ.ศ. 2540-2541 โดยมีรายชื่อหนังสือดังนี้

1. ประชุมโคลงโลกนิติ

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

2. เสภาศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง 

ผู้แต่ง : แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทราบผู้แต่ง

3. นิราศหนองคาย 

ผู้แต่ง : หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)

4. สามัคคีเภทคำฉันท์

ผู้แต่ง : ชิต บุรทัต

5. มัทนะพาธา 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

6. โคลงกลอนของครูเทพ  

ผู้แต่ง : เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

7. บทละครเรื่องพระลอ 

ผู้แต่ง : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

8. ขอบฟ้าขลิบทอง 

ผู้แต่ง : อุชเชนี

9. เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. 

ผู้แต่ง : อัศนี พลจันทร

10. บทกวีของเปลื้อง วรรณศรี 

ผู้แต่ง : เปลื้อง วรรณศรี

11. บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ 

ผู้แต่ง : จิตร ภูมิศักดิ์

12. จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย 

ผู้แต่ง : ทวีปวร

13. กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์

ผู้แต่ง : อังคาร กัลยาณพงศ์

14. ขอบกรุง 

ผู้แต่ง : ราช รังรอง

15. เพียงความเคลื่อนไหว

ผู้แต่ง : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

16. ละครแห่งชีวิต 

ผู้แต่ง : หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์

17. กามนิต 

ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป

18. ดำรงประเทศ 

ผู้แต่ง : เวทางค์

19. ผู้ชนะสิบทิศ

ผู้แต่ง : ยาขอบ

20. หนึ่งในร้อย 

ผู้แต่ง : ดอกไม้สด

21. บางระจัน 

ผู้แต่ง : ไม้ เมืองเดิม

22. หญิงคนชั่ว

ผู้แต่ง : ก. สุรางคนางค์

23. พล นิกร กิมหงวน 

ผู้แต่ง : ป. อินทรปาลิต

24. ปักกิ่ง-นครแห่งความหลัง 

ผู้แต่ง : สด กูรมะโรหิต

25. เราลิขิต-บนหลุมศพวาสิฏฐี 

ผู้แต่ง : ร. จันทพิมพะ

26. เมืองนิมิตร 

ผู้แต่ง : หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน

27. แม่สายสะอื้น 

ผู้แต่ง : อ. ไชยวรศิลป์

28. พัทยา

ผู้แต่ง : ดาวหาง

29. แผ่นดินนี้ของใคร 

ผู้แต่ง : ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์

30. มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร 

ผู้แต่ง : แย้ม ประพัฒน์ทอง

31. ปีศาจ 

ผู้แต่ง : เสนีย์ เสาวพงศ์

32. สี่แผ่นดิน 

ผู้แต่ง : หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

33. ทุ่งมหาราช 

ผู้แต่ง : มาลัย ชูพินิจ

34. แลไปข้างหน้า 

ผู้แต่ง : ศรีบูรพา

35. เสเพลบอยชาวไร่ 

ผู้แต่ง : รงค์ วงษ์สวรรค์

36. จดหมายจากเมืองไทย 

ผู้แต่ง : โบตั๋น

37. เขาชื่อกานต์ 

ผู้แต่ง : สุวรรณี สุคนธา

38. สร้างชีวิต

ผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

39. ตะวันตกดิน 

ผู้แต่ง : กฤษณา อโศกสิน

40. สร้อยทอง 

ผู้แต่ง : นิมิตร ภูมิถาวร

41. พิราบแดง 

ผู้แต่ง : สุวัฒน์ วรดิลก

42. ลูกอีสาน 

ผู้แต่ง : คำพูน บุญทวี

43. นิทานเวตาล

ผู้แต่ง : น.ม.ส.

44. จับตาย : รวมเรื่องเอก

ผู้แต่ง : มนัส จรรยงค์

45. เรื่องสั้นของป. บูรณปกรณ์ (ชีวิตจากมุมมืด, ดาวเงิน)

ผู้แต่ง : ป. บูรณปกรณ์

46. เสาชิงช้า, เอแลนบารอง และเรื่องสั้นอื่น ๆ ของ ส. ธรรมยศ

ผู้แต่ง : ส. ธรรมยศ

47. พลายมลิวัลลิ์ และเรื่องสั้นบางเรื่อง

ผู้แต่ง : ถนอม มหาเปารยะ

48. ผู้ดับดวงอาทิตย์ และเรื่องสั้นอื่น ๆ

ผู้แต่ง : จันตรี ศิริบุญรอด

49. ยุคทมิฬ และเรื่องสั้นอื่น ๆ ของ อิศรา อมันตกุล

ผู้แต่ง : อิศรา อมันตกุล

50. เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่

ผู้แต่ง : อาจินต์ ปัญจพรรค์

51. ฟ้าบ่กั้น

ผู้แต่ง : ลาว คำหอม

52. ชุดเพื่อนนักเรียนเก่า เพื่อนเก่า

ผู้แต่ง : เสนอ อินทรสุขศรี

53. รวมเรื่องสั้นบางเรื่องของฮิวเมอร์ริสต์

ผู้แต่ง : ฮิวเมอร์ริสต์

54. ฉันจึงมาหาความหมาย

ผู้แต่ง : วิทยากร เชียงกูล

55. คนบนต้นไม้

ผู้แต่ง : นิคม รายยวา

56. ประวัติกฎหมายไทย

ผู้แต่ง : ร. แลงกาต์

57. นิทานโบราณคดี

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

58. โฉมหน้าศักดินาไทย

ผู้แต่ง : จิตร ภูมิศักดิ์

59. กบฏ ร.ศ. 130

ผู้แต่ง : เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์

60. เจ้าชีวิต

ผู้แต่ง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

61. ศาลไทยในอดีต

ผู้แต่ง : ประยุทธ สิทธิพันธ์

62. ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคม

ผู้แต่ง : ชัย เรืองศิลป์

63. สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2325-2416

ผู้แต่ง : หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์

64. ทรัพยศาสตร์

ผู้แต่ง : พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

65. เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475

ผู้แต่ง : กุหลาบ สายประดิษฐ์

66. ความเป็นอนิจจังของสังคม

ผู้แต่ง : ปรีดี พนมยงค์

67. ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก

ผู้แต่ง : เดือน บุนนาค

68. โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร

ผู้แต่ง : สนิท เจริญรัฐ

69. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้แต่ง : ดิเรก ชัยนาม

70. สันติประชาธรรม

ผู้แต่ง : ป๋วย อึ๊งภากรณ์

71. ห้าปีปริทัศน์

ผู้แต่ง : สุลักษณ์ ศิวรักษ์

72. วันมหาปิติ วารสาร อมธ. ฉบับพิเศษ 14 ตุลาคม 2516

ผู้แต่ง : องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

73. วรรณคดี และวรรณคดีวิจารณ์

ผู้แต่ง : วิทย์ ศิวะศิริยานนท์

74. ประติมากรรมไทย

ผู้แต่ง : ศิลป พีระศรี

75. วรรณสาส์นสำนึก

ผู้แต่ง : สุภา ศิริมานนท์

76. วิทยาวรรณกรรม 

ผู้แต่ง : พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

77. ความงามของศิลปไทย

ผู้แต่ง : น. ณ ปากน้ำ

78. ภาษากฎหมายไทย

ผู้แต่ง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร

79. วรรณไวทยากร ชุมนุมบทความทางวิชาการ ฉบับวรรณคดี

ผู้แต่ง : เจตนา นาควัชระ และ มล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

80. แสงอรุณ 2

ผู้แต่ง : แสงอรุณ รัตกสิกร

81. พระราชพิธีสิบสองเดือน

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

82. สาส์นสมเด็จ

ผู้แต่ง : สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

83. 30 ชาติในเชียงราย

ผู้แต่ง : บุญช่วย ศรีสวัสดิ์

84. เทียนวรรณ

ผู้แต่ง : สงบ สุริยินทร์

85. กาเลหม่านไต

ผู้แต่ง : บรรจบ พันธุเมธา

86. นิทานชาวไร่

ผู้แต่ง : สวัสดิ์ จันทนี

87. ภารตวิทยา

ผู้แต่ง : กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย

88. ฟื้นความหลัง

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

89. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

ผู้แต่ง : จิตร ภูมิศักดิ์

90. อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร

ผู้แต่ง : หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา

91. 80 ปีในชีวิตข้าพเจ้า

ผู้แต่ง : กาญจนาคพันธ์

92. พระประวัติตรัสเล่า

ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

93. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน

ผู้แต่ง : สุชีพ ปุญญานุภาพ

94. ปัญญาวิวัฒน์

ผู้แต่ง : สมัคร บุราวาศ

95. พุทธธรรม

ผู้แต่ง : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

96. อิทัปปัจจยตา

ผู้แต่ง : พุทธทาสภิกขุ

97. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ

ผู้แต่ง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)

98. แพทยศาสตร์สงเคราะห์

ผู้แต่ง : คณะกรรมการแพทย์หลวงในรัชกาลที่ 5

99. ธรรมชาตินานาสัตว์

ผู้แต่ง : บุญส่ง เลขะกุล

100. ขบวนการแก้จน

ผู้แต่ง : ประยูร จรรยาวงษ์

 

แต่ถ้าจะให้อ่านทั้งหมด 100 เล่มก็คงจะเป็นไปไม่ได้ใช่ไหมล่ะ? วันนี้ทาง Eduzones จึงได้คัดเลือกหนังสือในลิสต์ที่น่าสนใจมาประเภทละ 1 เล่มให้ทุกคนให้เลือกอ่าน ซึ่งเป็นเล่มที่จะทำให้ผู้อ่านให้ตระหนักรู้และมีจิตสำนึกในตนเอง สังคม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น เพราะเต็มไปด้วยข้อขบคิดมากมายให้ทุกคนได้ตกผลึกจากการอ่านเล่มดังกล่าว

 

1. กวีนิพนธ์และบทละคร: เราชนะแล้ว, แม่จ๋า (อัศนี พลจันทร)

สามร่างสามรักสามลาญ
สามพ่ายภัยพาล ลำพังเพราะไร้ลำเค็ญ
สามแสนลำบากยากเย็น
สามแม้เมื่อเป็นประดุจสามยามตาย
สามกายสอดกอดสามกาย
กายหนึ่งนั้นวาย ชีวิตแต่สองยังทรง
ดำรงชีพิตคือผง
คลีดินดำรง ประดาษอยู่เพี้ยงร่างผีฯ

กวีนิพนธ์ของนายผีหรืออัศนี พลจันทรที่แต่งเป็นกาพย์จำนวน 369 บท เป็นวรรณกรรมแนวสัจจนิยมที่มีจุดมุ่งหมายทางสังคม-การเมืองอย่างชัดเจนเนื่องจากแต่งขึ้นในช่วงที่นายผีกำลังหลบหนีการจับกุมในปีที่เกิดกบฏสันติภาพ โดยเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้เรียกร้องสิทธิของครอบครัวกรรมกรหญิงที่ถูกนายทุนเอารัดเอาเปรียบ เผยให้เห็นถึงชะตากรรมอันแร้นของฝ่ายที่ถูกกดขี่อันเกิดจากความเน่าเฟะของระบบทุนนิยม นับเป็นงานเขียนที่น่าหดหู่สะเทือนใจอย่างหาที่สุดมิได้

 

2. นวนิยาย: ปีศาจ (เสนีย์ เสาวพงศ์)

ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที

หนึ่งในวรรณกรรมที่เคยถูกบรรจุอยู่ลิสต์หนังสือต้องห้ามในช่วง 14 ตุลา เป็นผลงานชิ้นเอกของเสนีย์ เสาวพงศ์ที่ถือได้ว่า “ไม่มีวันตายไปจากกาลเวลา” เพราะไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าใด แนวคิดหรืออุดมการณ์ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องนี้จะยังคงความสดใหม่อยู่เสมอ นวนิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่าง “ฝั่งขนบเก่า” กับ “ฝั่งหัวก้าวหน้า” โดยใช้ความรักของสองชนชั้นมาเป็นปมหลักของเรื่อง ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ฉายให้เห็นว่าไม่มีสิ่งได้สามารถเอาชนะ “ปีศาจแห่งกาลเวลา” ที่เปลี่ยนแปลงไปได้

3. เรื่องสั้น: ฟ้าบ่กั้น (ลาว คำหอม)

เมื่อฟ้าไม่เคยกลั่นแกล้งคน หากแต่คนบนฟ้าต่างหากที่หวงแหนอำนาจและกดขี่…

เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น 17 เรื่องที่ถ่ายทอดชีวิตสุดแสนลำเค็ญของกลุ่มคนชายขอบผ่านการจรดปลายปากกาของลาว คำหอม (คำสิงห์ ศรีนอก) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งเจ้าตัวได้ยกย่องผลงานชิ้นนี้ว่าเป็น “วรรณกรรมแห่งฤดูกาล” เนื้อหาในแต่ละเรื่องได้ฉายให้เห็นภาพของสังคมในขณะที่คนมีอำนาจไม่เท่ากัน ดังนั้นความเหลื่อมล้ำจึงตามมาและบีบบังคับให้ผู้ที่มีอำนาจต่ำกว่าได้กลายเป็น “เหยื่อ” อย่างมิอาจฝืนชะตาชีวิตตนเอง

 

4. ประวัติศาสตร์: โฉมหน้าศักดินาไทย (จิตร ภูมิศักดิ์)

ศักดินาคือพวกที่นุ่งผ่าโจงกระเบน?
ศักดินาคือคนกินหมาก?
ศักดินาคือพวกตีนเล็ก?
ศักดินาคือพวกที่มีบรรดาศักดิ์?
ศักดินาคือพวกหัวเก่า? 
ศักดินาคือพวกที่ดูถูกเหยียดหยามประชาชน เด็กและสตรี?
ศักดินาคือพวกเจ้า?

บทวิเคราะห์เชิงวิชาการของจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นนักคิด นักเขียน และปัญญาชนหัวก้าวหน้าผู้ยืนหยัดเคียงข้างชนชั้นกรรมาชีพ โดยเนื้อหาของเรื่องเป็นการตีแผ่ระบบศักดินาที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล วิเคราะห์ตั้งแต่จุดกำเนิด ไปจนถึงการตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของระบบดังกล่าวที่คอยเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยอำนาจ เมื่ออ่านแล้วจะทำให้เข้าใจถึงปัญหาที่หยั่งราก ฝังลึก และกัดกินสังคมไทยมาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน

 

5. การเมือง: เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 (กุหลาบ สายประดิษฐ์)

ข้าพเจ้านำพฤติการณ์ของการปฏิวัติมา เรียบเรียงลงไว้ ก็ประสงค์จะให้เป็นข้อตักเตือนแก่นักปฏิวัติกลุ่มหนึ่งที่ถืออำนาจการปกครองในสมัยนั้น ได้สำเหนียกถึงอุดมคติ ของการปฏิวัติว่า เขาได้แสดงไว้อย่างไร และความประพฤติที่เขาปฏิบัติอยู่เป็นปฏิปักษ์ต่ออุดมคติของเขาอย่างไร ข้าพเจ้าหวังจะ ให้เขาเหล่านั้นบังเกิดความละอายใจ และได้สำนึกตนว่า เมื่อเขาทรยศต่ออุดมคติของเขา ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นอุดมคติของประชาชนไปแล้ว ก็เท่ากับว่าเขาทรยศต่อประชาชนนั่นเอง

บทสัมภาษณ์ของพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรผู้ซึ่งนำการปฏิวัติครั้งสำคัญมาสู่ประเทศไทยในปี .. 2475 แรกเริ่มได้เผยแพร่เป็นรายตอนในหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ แต่ก็ได้นำมารวมเล่มเพื่อตีพิมพ์ในระยะเวลาต่อมา ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านอย่างเราได้เห็นถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการปฏิวัติรวมไปถึงเข้าใจในชนวนเหตุ แนวคิดที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

 

6. ศิลปะ: วรรณสาส์นสำนึก (สุภา ศิริมานนท์)

รวมข้อเขียนเชิงเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมของสุภา ศิริมานนท์  ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้และแนวคิดที่ล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศิลปะ ภาษาและหนังสือ นักเขียนไทย นักเขียนต่างประเทศ  การวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม วรรณกรรมวิจารณ์ และงานแปลวรรณกรรม เมื่ออ่านแล้วจะทำให้เรามีมุมมองเกี่ยวกับงานเขียนที่กว้างขึ้น และเกิดสำนึกในอิทธิพลของสื่อที่ยึดโยงอยู่กับสามัญชน

 

7. ประวัติศาสตร์สังคมวิทยา, มานุษวิทยา: ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ (จิตร ภูมิศักดิ์)

เรื่องของชื่อเมืองไทยที่เรียกกันว่า ‘สยาม’ นี้ อันที่จริงก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่มีผู้เขียนสืบสาวและอธิบายความหมายมากมายกันมามากแล้ว, การนำมารื้อฟื้นอีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ ด้านหนึ่งจึงดูออกจะเป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อเต็มที; แต่อย่างไรก็ดี ถ้าท่านได้ติดตามอ่านข้อเขียนนี้จนตลอดแล้ว ก็คงจะสังเกตได้ว่าข้อเขียนนี้ได้เข้าสู้ปัญหาการสืบสาวที่มาของคำสยาม และความหมายของคำสยามจากจุดยืนที่ต่างกับผู้เขียนอื่น ๆ ในอดีตที่เคยเขียนกันมาแล้ว.

บทวิเคราะห์ทางนิติรุกติศาสตร์ภาษาศาสตร์และสังคม ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เขียนขึ้นในช่วงขณะที่กำลังถูกจองจำอยู่ในคุก เพื่อสืบสาวต้นตอความเป็นมาของจุดกำเนิดทางเชื้อชาติผ่านคำต่าง ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่ทำให้จิตรได้รับการยอมรับในฐานะนักวิชาการด้านอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้

 

8. ศาสนา: อิทัปปัจจยตา (พุทธทาสภิกขุ)

หนังสือเล่มนี้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา เป็นวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นปรัชญาสูงสุดของพุทธศาสนา และเป็นหลักธรรมที่ชี้ทางไปสู่การแสวงหาความจริงแท้ของมนุษย์ชาติ และสู่อิสระเสรีภาพที่แท้จริง ควรที่ชาวพุทธควรอ่านและติดเป็นอาวุธทางความคิด เพื่อต่อสู้กับความไม่รู้ทั้งปวง

งานชิ้นเอกที่พุทธทาสภิกขุที่ได้รวบรวมจากพระไตรปิฎก โดยจะกล่าวถึงหลักธรรมอิทัปปัจจยตาอันเป็นกฎเกณฑ์ของสรรพสิ่ง ความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล ซึ่งท่านได้พยายามชี้ให้เห็นว่าหลักธรรมนี้ล้วนเป็นหัวใจของพุทธศาสนาทั้งปวง สะท้อนให้เห็นปรัชสำคัญของชาวพุทธที่ถูกลืมเลือน

 

9. ธรรมชาติ: ธรรมชาตินานาสัตว์ (บุญส่ง เลขะกุล)

เรื่องที่ข้าพเจ้าเขียน มักจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ ชวนให้ท่านผู้อ่านมองเห็นธรรมชาติไปในแง่ของความน่ารักน่าเอ็นดูบ้าง ในแง่ชีวิตพิสดารอันน่าสนใจบ้าง ในแง่ของความขบขันของนิสัยแปลก ๆ ของสัตว์ต่าง ๆ บ้าง ซึ่งล้านแต่เป็นเรื่องที่จะชักนำให้ท่านผู้อ่านชอบ และมีความเพลิดเพลินกับธรรมชาติทั้งสิ้น

รวมบทความขนาดสั้นของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ว่าด้วยเรื่องของสัตว์นานาชนิด ทั้งในแง่ของความน่ารักน่าเอ็นดู ชีวิตพิศดารที่น่าสนใจ และความขบขันในนิสัยแปลก ๆ ของมัน ซึ่งเคยตีพิมพ์โดยแบ่งเป็นตอน ๆ ลงใน “สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” และมีผู้ติดตามอ่านเป็นจำนวนมากอันมาจากกลวิธีการเขียนที่ชวนติดตามและน่าสนใจของคุณหมอ นับเป็นหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *