เจาะลึกเรื่องน่ารู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชื่อภาษาอังกฤษว่า King Mongkut’s University of Technology Thonburi หรือชื่อย่อคือ KMUTT – มจธ.

 

ที่มาของชื่อมหาวิทยาลัย

  • เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ”
  • 23 กรกฎาคม 2511 คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี ในที่ประชุม และเห็นชอบให้จัดตั้งได้ แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” กับให้รวมวิทยาลัย เทคนิคไทย-เยอรมัน พระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคม ไว้ในสังกัดด้วย ต่อมาได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อกรมอาชีวศึกษาในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2511
  • ที่ประชุมคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี ระดับกระทรวงได้ลงมติผ่านร่างนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 และเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระดับกระทรวง แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
  • 13 มกราคม 2513 คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอไป ให้คงชื่อ “สถาบันเทคโนโลยี” ไว้ตามเดิม แต่ให้แก้ร่างพระราชบัญญัติเดิมให้ชัดว่า การศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา ในวิทยาลัยทั้งสาม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะต้องให้คงดำเนินการอยู่ต่อไป และสำหรับผู้ที่จะศึกษาเป็นครูปริญญาทางนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาข้างต้น คือระดับวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งมีผลการศึกษาดีเด่น และมีคุณสมบัติเหมาะสม
    ต่อมาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบัน นามภาษาอังกฤษ “King Mongkut’s Institute of Technology”
  • วันที่ 22 ตุลาคม 2525 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสักการะบูชาในโอกาสครบ 180 ปี แห่งวันพระราชสมภพ (18 ตุลาคม 2527) และ 25 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาเขตธนบุรี (4 กุมภาพันธ์ 2528)
  • 6 มีนาคม 2541 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้ปรับระบบเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11ก โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2541

 

มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ไหน?

มจธ. (บางมด) 

 

 

มจธ. (บางขุนเทียน)

 

 

มจธ. (ราชบุรี)

 

 

ศูนย์บริการทางการศึกษาในเมือง: อาคารเคเอกซ์ (Knowledge Exchange – KX)

 

 

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีแสด-เหลือง เป็นสีที่แสดงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น เปรียบเทียบได้กับชีวิต รวมทั้งการเคลื่อนไหวของเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์รังสรรค์จากจินตนาการที่ลึกล้ำ ความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ของการเรียนรู้ และของชีวิต

สีอัตลักษณ์

ตราประจำมหาวิทยาลัย

นำมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ลักษณะของตราประกอบด้วย ลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม “มงกุฎ” และเป็นศิราภรณ์สำคัญ หนึ่งในเครื่องราชเบญจกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณข้างทั้งสอง สัญลักษณ์ทั้งหมดอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แสดงนามมหาวิทยาลัยกำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม

สัญลักษณ์วิสัยทัศน์

สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ( Framing Vision)  ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวมจธ. โดยรูปแบบของจุดหรือ  Pixel  ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลข 4 สามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทานได้อีกด้วย

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ดอกธรรมรักษา เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณมหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง  มีสีของดอกที่สอดคล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีชื่อเป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรมสอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า “ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” ไม่ว่าบุคคลนั้นอยู่ในศาสนาใด

 

เพลงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี “ชุดเพลงออร์เคสตรา” ประกอบด้วย

  • เพลงลูกพระจอม
  • เพลงลูกพระจอม (บรรเลง)
  • เพลงมดลาบาง บางอาลัยมด
  • เพลงมดลาบาง บางอาลัยมด (บรรเลง)
  • เพลงพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (บรรเลง)

ร้องประสานเสียงโดย : คณะนักร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรี

ควบคุมการผลิตโดย : สุทธิพงษ์ เรืองจันทร์

 

มหาวิทยาลัยเปิดสอนคณะอะไรบ้าง?

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

คณะศิลปศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม

บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

วิทยาลัยสหวิทยาการ

 

ชีวิตในรั้ว มจธ.

ศูนย์กีฬาฯ สันทนาการ

  • สนามกีฬากลางแจ้ง

สนามกีฬาขนาดใหญ่ใช้สำหรับการเล่นฟุตบอล และกีฬากลางแจ้งอื่นๆ บางครั้งยังสามารถจัดงานแสดงผลงานนิทรรศการต่างๆ

  • สนามเทนนิส

สนามเทนนิสแบบฮาร์ตคอร์ทพร้อมไฟส่องสนาม ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี

  • โรงยิม ฟิตเนสเซ็นเตอร์

ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกาย หลากหลายที่ทันสมัย สามารถ บริหารร่างกายได้ครบทุกส่วน ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *