นักศึกษาวิศวะ มทร.ธัญบุรี ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี LoRa สร้างปลอกคอวัวอัจฉริยะ

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์ เก็บค่าผ่าน google sheet อำนวยความสะดวกสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงวัว นวัตกรรมชิ้นแรก ได้แก่ ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว COW COLLAR FOR SIGNS DETECTION OF COWS IN HEAT ผลงานของ นายจิรพงษ์ วิทยา และนายธณาวุฒิ อุตอามาต ชิ้นที่สอง ได้แก่ ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ SMART COW COLLAR FOR COLLECTING METHANE AND CABORN DIOXIDE ผลงานของ นายชินภัทร ชนะบุญ และนายภาณุวัฒน์ บุญมาแลบ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญฤทธิ์ คุ้มเขต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นายจิรพงษ์ วิทยา ตัวแทนเจ้าของผลงาน ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว เล่าว่า นำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซนเซอร์ไจโรสโคปและโมดูลเสียง ออกแบบในลักษณะเป็นปลอกคอสามารถปรับระดับสายได้โดยจะตรวจค่าความเร็วเชิงมุมและจำนวนครั้งในการร้องของวัว เพื่อจะได้ทราบว่าอาการเป็นสัดของวัว ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัวสามารถวัดค่าความเร็วเชิงมุมได้ทั้ง 3 แกนและสามารถวัดเสียงร้องของวัวได้ใกล้เคียงกับเครื่องมือที่ใช้วัดเทียบ การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายลอร่าจะมีประสิทธิภาพในการส่งสูงถึง 100% ประสิทธิภาพในการส่งจะลดลงขึ้นอยู่กับระยะการส่งที่ไกลมากขึ้น ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัวสามารถเก็บข้อมูลลงบน Google sheet ได้

ทางด้านตัวแทน ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ นายชินภัทร ชนะบุญ เล่าว่า ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมา โดยนำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์วัดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการวัดค่าก๊าซเพื่อบันทึกผลนำไปใช้ร่วมกับระบบสมาทฟาร์มเพื่อตรวจวัดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกจากวัว และนำไปใช้ในการปรับปรุงอาหารที่จะให้กับวัวได้

โดยนวัตกรรมทั้งสองชิ้นเป็นต้นแบบ สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้ง อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงวัว

.

ชลธิชา ศรีอุบล กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี รายงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *