สรุปความคิดเห็น “การบอกคะแนนนักเรียนต่อหน้าชั้นเรียนแบบไม่ถามความยินยอมนักเรียนถือว่าละเมิดสิทธิหรือไม่?”

การบอกคะแนนต่อหน้าชั้นเรียนในยุคสมัยที่ผ่านมาคงเป็นเรื่องที่ปกติคุณครูส่วนใหญ่ในประเทศไทยทำต่อๆกันมา แต่ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เท่าเทียมกัน นักเรียนสามารถเสนอสิทธิประโยชน์สาธารณะและส่วนบุคคลที่ควรได้รับอย่างอิสระไม่ผิดกฏหมายหากอยู่ในขอบเขต และผู้อ่านคิดว่าในปัจจุบันนี้ การบอกคะแนนต่อหน้าชั้นเรียนแบบถามความยินยอมก็ดีหรือไม่ยินยอมก็ดี ผู้อ่านคิดว่าเหมาะสมกับปัจจุบันหรือไม่ บทความนี้ทางEduzones ได้สำรวจความคิดเห็นจากคุณครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปในเพจ ครู EDUZONES และเพจ EDUZONES มีความคิดเห็นเป็นอย่างไร โดยจะแบ่งเป็น 2 ความเห็นคือ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และคอมเมนต์เชิงแนะนำหาแนวทางแก้ปัญหานี้อีกด้วย

 

ความคิดเห็นที่ 1 เห็นด้วยกับการการบอกคะแนนในห้องเรียน

“เด็กๆเรียกร้องให้บอก”

“ควรบอกครับ”

“บอกเฉพาะคะแนนสูงสุด”

“นักเรียนไม่ค่อยซีเรียสกับการบอกคะแนนหน้าห้องเรียนเท่าไหร่ แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล”

“เด็กจะได้ฝึกยอมรับความจริง อดทน จะเข้มแข็ง และพร้อมพัฒนาต่อไป เชื่อว่าครูแจ้ง แนะนำและให้กำลังใจเสมอค่ะ”

“การบอกคะแนนต่อหน้านักเรียนทุกคนคือการกระตุ้นให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของความพยายามตั้งใจเรียนตั้งใจอ่านหนังสือและสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง”

“บอกคะแนนคนที่ได้เยอะที่สุด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับนักเรียนคนอื่น ที่เหลือ แจกใบคำตอบหรือใบงานคืนให้กับนักเรียน พร้อมเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง นักเรียนจะได้รู้ว่าผิดตรงไหน แล้วได้คำตอบที่ถูกต้องในทิศทางเดียวกัน”

“นี่บอกต่อหน้าก็ไม่มีเด็กดราม่านะ คิดว่าพื้นฐานจิตใจนักเรียนนี่สำคัญพอสมควร แยกแยะความสำคัญ ได้ขนาดไหน เด็กก็ไม่มีล้ออะไรกันตกก็ตก ผ่านก็ผ่าน บอกเด็กเสมอว่าเกรดไม่ได้ตัดสินชีวิตเธอทั้งชีวิตไปได้หรอกนะ มีผู้ปกครองงุ้งงิ้งบ้างไม่ได้รุนแรงเพราะหลักฐานงานและอื่นๆแสดงอย่างชัดเจนอยู่แต่ ต่างประเทศที่เรียนมาเขาแจกรายบุคคลนะ ชมคนได้สูงสุดแค่นั้น ดูหน้างานอีกทีดีกว่าบางทีเด็กก็ไม่ได้อะไรขนาดนั้นหรอกกระพือกันไปเอง”

 

 

 

ความคิดเห็นที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการบอกคะแนนในชั้นเรียน

“บั่นทอนจิตใจมากในฐานะเคยเป็นนักเรียนมาก่อน”
“ผมว่าคะแนนมันควรเป็นความลับส่วนบุคคลนะครับ เราควรรักษามาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นการคุ้มครองความลับส่วนบุคคลต่อไป… แล้วเด็กจะบอกกันเองหรือไม่นั้นก็แล้วแต่เขา แต่ครูก็ได้รักษาแนวปฏิบัติการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้แล้วจะดีกว่านะครับ”
“ละเมิดสิทธิเด็กครับ ถ้าเด็กไม่ยอมให้แจ้งคะแนน แก้ไขโดยบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าเขาอยากรู้คะแนนให้ถามหลังไมค์แจ้งคะแนนรายบุคคลโดยเขียนใส่กระดาษให้ครับ”
“ละเมิด แต่ก็อยากรู้คะแนนเพื่อน ถ้าเราคะแนนดีก็ดีไป แต่ถ้าเพื่อนคะแนนดีกว่าก็อาจทุกข์ใจ  แต่จริง ๆ ควรคงความเป็นส่วนตัวไว้ เหมือนการตัดคะแนนในระบบของอาจารย์มหาลัย”
“ไม่บอกคะแนนทั้งห้องมานานละ เรียกทีละคน แต่ม.ปลาย สุดท้ายเด็กก็บอกกันอยู่ดี ส่วนม.ต้น ไม่บอกกันนะ ไม่รู้ทำไม ส่วนตัวมองว่าไม่ได้ละเมิดสิทธิ์อ่ะ แต่เราไปคิดว่าเด็กจะอายเลยเรียกมา”
 “มันเป็นดาบสองคมได้นะคะ เพราะมันจะมีกรณีที่ถ้าเราได้คะแนนน้อย แล้วไปเห็นคะแนนเพื่อนว่าเพื่อนได้เยอะ มันจะทำให้ท้อ ไม่อยากสู้ต่อค่ะ!!!!!!!!!!!!”
“บอกเป็นรายบุคคลจะปลอดภัยกว่าค่ะ เพราะเด็กสมัยนี้เค้าคิดมากนะ ส่วนตัวเจอเคสประกาศชื่อนศ.ที่หักคะแนนพร้อมบอกเหตุผลละเอียดว่าหักเพราะอะไรแบบเชิงวิชาการ 2 บรรทัด ปรากฏว่าโดนเด็กร้องเรียนถึงอธิการ กล่าวหาว่าอาจารย์ทำแบบนี้เป็นการประจานเค้า จริงๆ แล้วที่ไม่บอกส่วนตัวเพราะต้องการไม่ให้คนอื่นทำผิดซ้ำ แต่เด็กมองว่าถูกประจาน …นั่นแหละ คณะต้องตั้งกรรมการสอบและต้องทำหนังสือชี้แจงมหาลัย ทั้งตัวเรา จนท. ฝ่ายวิชาการ รองวิชาการคณะ จนถึง อธิการ เสียเวลา เปลืองทรัพยากรทั้งกระดาษ ไฟฟ้า และเวลาค่ะ เพราะฉะนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงค่ะ”
ความคิดเห็นเชิงหาแนวทางแก้ปัญหา

“จะแจ้งคะแนนของ นร. ใน Google Classroom แต่ละคนครับ”

“ปกติบอกผ่าน google classroom อ่ะค่ะ ส่งไปแบบส่วนตัว เพราะกลัวดราม่า”

“จะถามนักเรียนเสมอ จะให้บอก หรือไม่ ถ้ามีเสียงไม่ให้บอก เราจะไม่บอก”

“ขออนุญาตก่อนทุกครั้ง ใครไม่อยู่ก็ไม่บอกคะแนนคนนั้น จบ”
“เอ่ออ ไม่เคยบอกคะแนน หน้าชั้นเลยอ่ะ คือเคยเรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่ง แล้วชอบวิธีการมากคือ เรียกรายบุคคลแล้วให้ดูคะแนน แล้วก็คุยกันว่าพลาดตรงไหน ตรงไหนดีแล้วไรงี้ ก็เลยทำแบบนั้นมาตลอด”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *