ทำความรู้จัก คณะวนศาสตร์ วิชาเกษตรและป่าไม้

ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการฟื้นฟูเยียวยาและดูแลมากเป็นอันดับต้นๆของสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยคือ ป่าไม้ ป้าไม้ถือเป็นปอดขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่ช่วยรักษาบรรยากาศภายในประเทศ เป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ป่า เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ และในปัจจุบันประเทศไทยของเราเหลือพื้นที่ป่าไม้ 102,212,434.37 คิดเป็นเปอร์เซ็นอยู่ที่ 31.59%ของพื้นที่ในประเทศไทย และภาคเหนือคือภาคที่มีป่าไม้สูงที่สุดถึง 63.84% ในบทความนี้เพชรจ้าจะมาเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับ คณะวนศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับทุกศาสตร์วิชาของป่าไม้โดยเฉพาะ หากน้องๆเป็นสายรักโลก สายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบทความนี้ต้องถูกใจแน่นอน

 

ประวัติและความหมายของ คณะวนศาสตร์

คณะวนศาสตร์ วิวัฒนาการมาจาก “โรงเรียนป่าไม้” ของ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตราธิการ เปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดแพร่ โดยในระยะแรกได้ใช้หลักสูตรการศึกษา 2 ปี ผู้ที่เรียนจบตามหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรการป่าไม้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้โอนมาอยู่ในสังกัด “วิทยาลัยเกษตรศาสตร์” พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนป่าไม้” เป็น “โรงเรียนวนศาสตร์” โดยจะรับนิสิตเฉพาะผู้ที่สำเร็จจาก “โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้”เท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรจาก 2 ปี เป็น 3 ปี โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับอนุปริญญาวนศาสตร์ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “วิทยาลัยวนศาสตร์” โดยรับนิสิตผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยทั่วไปเข้าศึกษาด้วย

ในปี พ.ศ. 2486 ได้มีการจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ขึ้น วิทยาลัยวนศาสตร์จึงได้เปลี่ยนเป็น “คณะวนศาสตร์” และได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่คณะวนศาสตร์ยังคงเปิดการเรียนการสอนอยู่ที่จังหวัดแพร่ และได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) เมื่อปี พ.ศ. 2499 พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรโดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวนศาสตรบัณฑิต และเริ่มเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่โรงเรียนป่าไม้ จังหวัดแพร่ ยังเปิดทำการเรียนการสอนตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 จนถึงปี พ.ศ. 2536

แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ป่าไม้ จำนวน 8 สาขา

1. สาขาสาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้
3. สาขาการจัดการป่าไม้
4. สาขาวนวัฒนวิทยา
5. สาขาอุทยาน นันทนาการ และการท่องเที่ยว
6. สาขาการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า
7. สาขาวิศวกรรมป่าไม้
8. สาขาวนศาสตร์ชุมชน

แขนงวิชาเทคโนโลยีวนผลิตภัณฑ์
จำนวน 2 สาขา
1. สาขาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้
2. สาขาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวนศาสตร์

ภาคกลาง

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาเขตปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี

ภาคเหนือ

สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาแม่โจ้ วิทยาเขตจังหวัดแพร่

 

การศึกษาก่อนเข้าเรียน คณะวนศาสตร์

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

คุณสมบัติ

1 .เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในจังหวัดที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครตามข้อ 2

2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคเรียน ณ วันที่รับสมัคร ตามที่สาขาวิชากำหนด

3 .เรียนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) ไม่ต่ำกว่าที่สาขาวิชากำหนด

4 .มีผลคะแนนทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ(PAT) ตามที่สาขาวิชากำหนด

5. มีผลคะแนนทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2565 ตามที่สาขาวิชากำหนด

6 .มีผลคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกลไก เฉพาะสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาเขตปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี

  1. สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า และประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือ2. สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า โดยมีอายุไม่ต่ำกว่า25 ปีบริบูรณ์ ในวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือ3. สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง4. สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า5. สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา6. สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรพนักงานข้าวจัตวา จากโรงเรียนพนักงานข้าวจัตวา กรมการข้าว7. สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาสัตวแพทย์ ของโรงเรียนสัตวแพทย์  กรมปศุสัตว์ ฉบับก่อนปีการศึกษา 2519 (หลักสูตร 1 ปี 6 เดือน)

สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาแม่โจ้ วิทยาเขตจังหวัดแพร่

1.เกรดเฉลี่ยสะสม 4-5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.25

2.กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เท่านั้น

อาชีพที่รองรับคณะวนศาสตร์

นักวิชาการป่าไม้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ หรือชื่อตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวนศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่/วิศวกร ควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมไม้ อุตสาหกรรมเยื่อ และอุตสาหกรรมกระดาษ หรือเจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานภาคเอกชน ผู้ประกอบการภาคเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *