คัดมาให้แล้ว!! รวมหลักสูตรดนตรี เรียนต่อระดับม.ปลาย และ มหาวิทยาลัย

อาชีพดนตรีเป็นอาชีพที่น้องๆนักเรียนนักศึกษาใฝ่ฝันอยากจะเป็น ดนตรีเป็นศิลปะที่จับต้องได้เพียงแค่เคาะตามจังหวะก็ทำให้เกิดเสียงดนตรีง่ายๆ แล้วในประเทศไทยจะมีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไหนรองรับความฝันของน้องๆนักเรียนนักศึกษาที่อยากเป็นนักดนตรีกันบ้าง พี่เพชรจ้าจะมารวบรวมหลักสูตรดนตรีสำหรับน้อง ม.ปลาย และ พี่ๆน้องมหาวิทยาลัย

 

หลักสูตรวิชาดนตรีสำหรับ มัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากรุงเทพมหานคร​

เป็นโรงเรียนลักษณะพิเศษในพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สงเสริมฟืนฟูและอนุรักษ์การดนตรี ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2536 เพื่อส่งเสริมทักษะ และความเป็นเลิศทางดนตรีของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนสายสามัญ รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อและพัฒนาสู่มาตรฐานสากลได้ ตลอดจนได้ต้นแบบการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพด้านดนตรีที่ได้มาตรฐานสากล ความรู้ความสามารถด้านดนตรี​ ความรู้ความสามารถด้านสายสามัญ สามารถศึกษาต่อได้ในระดับมหาวิทยาลัยทั่วไปได้เช่นเดียวกับนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่นๆ ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี

คุณสมบัติที่เปิดรับสมัคร

เปิดรับสมัคร ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

1. สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีหรือเทียบเท่า
     2. มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
     3. มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง
     4. มีความรัก ความสนใจ และมีความสามารถขั้นพื้นฐานด้านดนตรีไทยหรือดนตรีสากล
     5. มีความถนัดทางดนตรีไทยหรือดนตรีสากล
     6. สามารถอ่านโน้ตดนตรีไทยหรือโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐานได้
     7. สามารถปฏิบัติดนตรีไทยหรือดนตรีสากลได้อย่างน้อย 1 เครื่องมือ ดังนี้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก จะเข้ ขิม ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ขลุ่ย ปี่ ขับร้องไทย ฟลุท โอโบ คลาริเน็ท แซกโซโฟน บาสซูน ฮอร์น ทรัมเป็ท ทรอมโบน  ยูโฟเนียม ทูบา ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล ดับเบิลเบส  กีตาร์(คลาสสิค) เปียโน ไซโลโฟน คีย์บอร์ด อิเล็กโทน เมโลเดียน  ขลุ่ย
เรคอร์ดเดอร์ และเบลไลล่า
     8.ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายพิเศษด้านพัฒนาศักยภาพดนตรีได้ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
     1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี หรือเทียบเท่า
     2. มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
     3. มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง
     4. มีความรัก  ความสนใจ  และมีความสามารถขั้นพื้นฐาน  ด้านดนตรีไทยหรือดนตรีสากล
     5. มีความถนัดทางดนตรีไทยหรือดนตรีสากล
     6. สามารถอ่านโน้ตดนตรีไทยหรือโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐานได้
     7. สามารถปฏิบัติดนตรีไทยหรือดนตรีสากลได้อย่างน้อย 1 เครื่องมือ  ดังนี้  ระนาดเอก ระนาดทุ้ม  ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก จะเข้  ขิม  ซอด้วง  ซออู้   ซอสามสาย  ขลุ่ย  ปี่  ขับร้องไทย  ฟลุท โอโบ  คลาริเน็ท  แซกโซโฟน  บาสซูน  ฮอร์น   ทรัมเป็ท ทรอมโบน  ยูโฟเนียม  ทูบา ไวโอลิน วิโอล่า  เชลโล  ดับเบิลเบส  กีตาร์(คลาสสิค) เปียโน  ไซโลโฟน  คีย์บอร์ด อิเล็กโทน และเครื่องตี
     8. ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายพิเศษด้านพัฒนาศักยภาพดนตรีได้ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน
ค่าเทอม 5,000 – 8,000 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

ณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โครงการโรงเรียนเครือข่ายดนตรี

จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีศาสตร์แขนงอื่น ๆ โดยได้รับความร่วมมือจาก โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี  และโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีสากลโดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาดนตรีที่ถูกต้องให้กับเยาวชนไทยที่มีความรักดนตรี ให้ได้รับการแนะนำและพัฒนาพื้นฐานความคิดและสุนทรียะทางดนตรีอย่างถูกวิธี และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องการต่อยอดความรู้และทักษะการเรียนการสอนดนตรี ในฐานะที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือว่าเป็นคณะวิชาด้านดนตรีที่มีมาตรฐานแห่งหนึ่งในประเทศไทย

นอกจากนักเรียนจะได้รับความรู้พื้นฐานตามหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ยังได้รับการสอนอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษ จากคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีจาก    คณะดุริยางคศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีผลการเรียนทางดนตรีสะสม 5 ภาคเรียนรวมไม่น้อยกว่า 3.00 จะได้รับสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต คณะดุริยางคศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทันที

เครื่องดนตรีสากลที่เปิดรับ

  • เครื่องสายสากล ได้แก่ ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล ดับเบิลเบส กีต้าร์คลาสสิค กีต้าร์ไฟฟ้า กีต้าร์เบสไฟฟ้า ฮาร์ป
  • เครื่องเป่า ได้แก่ ฮอร์น แซกโซโฟน คลาริเนท ฟลุต โอโบ ทรับเป็ต ทูบา ทรอมโบน ยูโฟเนียม ฯลฯ
  • เครื่องตี ได้แก่ กลองชุด ทิมปานี กลองสแนร์ มาริมบา โซโลโฟน ฯลฯ
  • เปียโน
  • ขับร้องสากล

วันรับสมัคร ยังไม่กำหนด 

ค่าเทอม 

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม 2,750 – 18,500 บาท

โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 90,000 บาท

โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี 50,000 – 80,000 บาท

โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม 2,500 – 7,000 บาท

ติดต่อสอบถามได้ที่

  • โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย  ติดต่อได้ที่ อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ 084-7779400 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
  • โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี  ติดต่อได้ที่ ศูนย์ดนตรีอัสสัมชัญธนบุรี  ACT Music Center โทร.028079555-63 ต่อ 510 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

วิทยาลัยการดนตรีและศิลปะการแสดง Superstar Collège of art

หลักสูตรมัธยมปลายสาขาดนตรีและศิลปะการแสดง

นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อในคณะศิลปกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ ด้านดนตรี และด้านการแสดง ซึ่งมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และสาขาเหล่านี้ หลายสาขาใช้วิธีการสอบเข้าแบบรับตรงด้วยการวัดความสามารถ (ออดิชั่น ) ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวด้วยความรู้เฉพาะทาง

นักเรียนที่อยากมีอาชีพในวงการดนตรีหรือวงการบันเทิงไม่ว่าจะเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง

มี Career Center ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถหางานในวงการระหว่างเรียนได้ รวมถึงสะสมประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วงการ

นักเรียนที่อยู่ในวงการดนตรีหรือวงการบันเทิง โดยผู้เรียนจะได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงเพื่อต่อยอดในสายอาชีพของตัวเอง

รับสมัครนักเรียน

วุฒิมัธยมศึกษาปี ที่ 3 หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 4

วุฒิมัธยมศึกษาปี ที่ 4 หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 5

ค่าเทอม สาขาวิชาดนตรี • สาขาการแสดง • สาขาโทรทัศน์-ภาพยนต์ • สาขาละครเพลง • สาขาเต้น • สาขาบริหารธุรกิจบันเทิง มีโควต้าทุนการศึกษา • ใช้สิทธิ์ กยศ. ค่าเทอมเริ่มต้นที่ 20,000 หรือผ่อนชำระเพียง 4,600 ต่อเดือน สอนโดยครูศิลปินหรือครูผู้ฝึกสอนศิลปินในวงการบันเทิง

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี เป็นการเรียนวิชาดนตรีในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จนกระทั่งปัจจุบัน พ.ศ.2559 เป็นรุ่นที่ 15 แล้ว ซึ่งถือเป็นหลักสูตรที่ได้ปฏิรูปการศึกษาดนตรีในประเทศไทยในด้านคุณภาพการศึกษา วิธีการจัดการศึกษา เป้าหมายของการศึกษา การตัดสินใจ และการฝึกฝีมือ เพราะเดิมนั้นเด็กที่จะเข้าเรียนวิชาดนตรีในระดับปริญญาตรีไม่ได้เตรียมตัวอย่างจริงจังนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่เล่นดนตรีอยู่ในวงดนตรีของโรงเรียน อาทิ วงโยธวาทิต วงขับร้องประสานเสียง วงดนตรีไทย หรือเรียนดนตรีกับครูสอนพิเศษที่บ้าน แม้จะมีพื้นฐานดนตรีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ทำให้การเรียนดนตรีของเด็กพัฒนาไปได้มากนัก เพราะเด็กตัดสินใจที่จะเรียนดนตรีเมื่ออายุย่างเข้า 17-18 ปีแล้ว ช้าไปแล้ว ทำให้การพัฒนาดนตรีไปได้ช้าและไปได้ไม่ไกล

หลักสูตรการสอน มี 4 สาขาดังนี้ การแสดงดนตรีคลาสสิค, ดนตรีแจ๊ส, การประพันธ์ดนตรี, ดนตรีไทย

รอบที่ 1 ปิดรับสมัครเดือนกันยายน

รอบที่ 2 ปิดรับสมัครเดือนพฤศจิกายน

รอบที่ 3 ปิดรับสมัครเดือนกุมภาพันธ์

รอบที่ 4 ปิดรับสมัครเดือนมีนาคม

ค่าเทอม ตลอดหลักสูตรตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย 4,5,6 1,070,000 บาท โดยจ่ายเป็นเทอมการศึกษาละ 175,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวอร์ชั่นภาษาไทย >> คลิก

เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ >> คลิก

วิทยาลัยนาฏศิลป ศาลายา 

วิทยาลัยนาฏศิลปเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี มีการจัดการเรียนการสอนอันประกอบด้วยการศึกษาวิชาสามัญและศิลปะตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดการศึกษาเป็น 3 ระดับ คือ

• ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น รับผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น

• ระดับนาฏศิลป์ชั้นกลาง รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นกลาง

• ระดับนาฏศิลป์ชั้นสูง รับนักเรียนต่อเนื่องจากระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางเข้าศึกษาต่อ 2 ปี ได้รับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง หรือเทียบเท่าอนุปริญญา

ในปีการศึกษา 2519 ได้ขยายการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี โดยสมทบกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ รับศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลปในระดับนาฏศิลป์ชั้นสูง เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี ได้รับปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) ต่อมาในปีการศึกษา 2541 กรมศิลปากรได้จัดตั้ง “สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” ขึ้น โดยจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านช่างศิลป์ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทั้งไทยและสากล รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับนาฏศิลป์ชั้นสูง เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี ในคณะศิลปนาฏดุริยางค์ และคณะศิลปศึกษา

รับสมัคร ยังไม่กำหนด ให้ติดตามในเว็บไซต์ >> คลิก

ค่าเทอม 3,000 – 5,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก 

มหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรเรียนดนตรี

มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะดุริยางคศาสตร์ 

คณะดุริยางคศาสตร์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ “โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยดำริของศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติิ

คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ปีการศึกษา 2546 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรที่สาม ปีการศึกษา 2552 คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2557 เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดนตรีและธุรกิจบันเทิง และในปีการศึกษา 2562 ได้เปิดสอนระดับปริญญาเอก เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

หลักสูตรการศึกษา

ระดับปริญญาบัณฑิต
– ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
– ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

ระดับบัณฑิตศึกษา
– ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี

ปริญญาเอก
– ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา 3 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
– สาขาวิชาการแสดงดนตรี
– สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
– สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์

วันรับสมัคร ยังไม่กำหนด แต่ให้ติดตามที่ >> คลิก

ค่าเทอม

ภาคการศึกษาละ 65,000 บาท และ ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยภาคการศึกษาละ 4,000 บาท
(เฉพาะชั้นปีที่ 1 มีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ 3,350 บาท)

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
– สาขาวิชาธุรกิจดนตรีและบันเทิง

ค่าเทอม

ภาคการศึกษาละ 50,000 บาท และ ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยภาคการศึกษาละ 4,000 บาท
(เฉพาะชั้นปีที่ 1 มีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ 3,350 บาท)

ระดับบัณฑิตศึกษา
ปริญญาโท
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
– สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

ค่าเทอม

ภาคการศึกษาละ 60,000 บาท และ เรียกเก็บทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
(ไม่รวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย)

ระดับดุษฎีบันฑิต
ปริญญาเอก
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา 3 ปี
– สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

ค่าเทอม

ภาคการศึกษาละ 95,000 เรียกเก็บทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา (ไม่รวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย)

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

 

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็นโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทย มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนวิชาดนตรีในระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ที่ชำนาญในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดโดยเฉพาะ เป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนทั้งด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล ปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันดนตรีแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสถาบันดนตรีในยุโรป และล่าสุด หลักสูตรระดับปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก MusiQuE ซึ่งเป็นมาตรฐานทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก

หลักสูตรวิชาเรียน

ปริญญาตรี

มี 9 สาขาดังนี้ หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี –หลักสูตรปริญญาตรี มี 9 สาขาดังนี้ –  ปฏิบัติดนตรีคลาสสิค, ดนตรีแจ๊ส, การประพันธ์ดนตรี, ละครเพลง, ดนตรีสมัยนิยม, ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก, ธุรกิจดนตรี, เทคโนโลยีดนตรี, ดนตรีศึกษาและการสอน

ระดับปริญญาโท(ภาคไทย) มี 4 สาขาดังนี้ 4 สาขา คือ ดนตรีวิทยา, ดนตรีศึกษา, ธุรกิจดนตรี, ดนตรีบำบัด

ระดับปริญญาโท(หลักสูตรนานาชาติ) มี 5 สาขาดังนี้ การแสดงดนตรีและการสอนดนตรี, การประพันธ์และทฤษฎีดนตรี, การอำนวยเพลง, การบรรเลงเปียโนประกอบ, ดนตรีแจ๊ส

ระดับปริญญาเอก(ภาคไทย)มี 2 สาขาดังนี้ ดนตรีวิทยา, ดนตรีศึกษา

ระดับปริญญาเอก(นานาชาติ) มี 3 สาขาดังนี้ การแสดงดนตรีและการสอนดนตรี, การประพันธ์และทฤษฎีดนตรี, การอำนวยเพลง
หมายเหตุ: ในปี 2566 เปิดสาขาดนตรีแจ๊สเพิ่ม

เปิดรับสมัคร

รอบที่ 1 ปิดรับสมัครเดือนกันยายน

รอบที่ 2 ปิดรับสมัครเดือนพฤศจิกายน

รอบที่ 3 ปิดรับสมัครเดือนกุมภาพันธ์

รอบที่ 4 ปิดรับสมัครเดือนมีนาคม

ค่าเทอม 651,100 – 728,100 ตลอดหลักสูตร 4 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวอร์ชั่นภาษาไทย >> คลิก

เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ >> คลิก

 

สถาบันดนตรี กัลยาณิวัฒนา หลักสูตรดุริยางคศิลป์ 

 

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองปนิธานด้านการดนตรีของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามุ่งผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีที่มีความเป็นเลิศ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของดนตรีในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1 เป็นผู้ที่สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ทั้งในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน
2 ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
3 มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา หรือสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากาหนด

วัน – เวลาในการดาเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

 

TCAS66 รอบ Quota เดือน มกราคม – เดือนมีนาคม 2566

TCAS66 Direct Admission เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม 2566

 

ค่าเทอม

สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เทอม 1) 27,500.00- บาท โดยแบ่งเป็น

– ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา (ชำระครั้งแรกที่เข้าเป็นนักศึกษา) 5,000.00- บาท

– ค่าประกันของเสียหาย (ชำระครั้งแรกที่เข้าเป็นนักศึกษา) 5,000.00- บาท

– คำบำรุงอื่น ๆ 17,500.00- บาท

ค่าเทอมสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้รับทุน 75,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

ทั้งนี้ทางสถาบันได้มีทุนโครงการฝีมือดีมีทุนให้ เปิดรับสมัครในช่วงเดือนตุลาคมพร้อมกับการรับสมัคร TCAS66 รอบ Portfolio

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

 

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรดนตรีบัณฑิต (BACHELOR OF MUSIC) จากดำริของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นผู้นำด้านการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันการศึกษาสำหรับการเรียนการสอนดนตรีระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เทียบเท่ามาตรฐานการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ มีอาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนทันสมัย เพียงพอสำหรับนักศึกษาทุกคน มีศูนย์เทคโนโลยีดนตรี ซึ่งประกอบด้วยห้องบันทึกเสียงจำนวน 6 ห้อง ห้องซ้อมดนตรีส่วนตัวจำนวนมาก ห้องซ้อมรวมวงดนตรีประเภทต่าง ๆ ห้องเรียนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีแต่ละประเภท ห้องเรียนวิชาบรรยายที่มีอุปกรณ์ครบครัน อีกทั้งมีหอแสดงดนตรีหลากหลายขนาดให้นักศึกษาได้จัดการแสดง นักศึกษาวิทยาลัยดนตรีทุกคนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรมการแสดงดนตรีในหอแสดงดนตรีที่มีคุณภาพสูง “ศาลาดนตรีสุริยเทพ” เป็นหอแสดงดนตรีขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับผู้ชมได้ถึง 1,100 ที่นั่ง อีกทั้ง
โรงละคร “BLACK BOX THEATER” สำหรับการแสดงละครเพลงและงานดนตรีร่วมสมัย และ “หอแสดงดนตรีขนาดเล็ก” สำหรับจัดกิจกรรม ที่ต้องการความใกล้ชิดกับผู้ชม

 

เปิดรับสมัคร ตั้งเเต่วันที่ 14 ก.ย. 2565 เวลา 10.00 น. – 31 พ.ค. 2566 เวลา 16.30 น.

ทุนการศึกษา ทุน Early Bird DEK 66 15,000 บาท

ค่าเทอม ทุกคณะจะต้องจ่ายค่าบำรุงหลักสูตรไม่รวมค่าเทอม 15,000 บาท 

กลุ่มวิชาการประพันธ์เพลง (Composition) 477,500 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิก (Classical Performance) 528,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องคลาสสิก Vocal Performance (Classical) 552,500 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องแจ๊ส Vocal Performance (Jazz) 552,500 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องละครเพลง Vocal Performance (Musical Theatre) 552,500 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการแสดงขับร้องสำหรับนักร้องนักประพันธ์เพลงสมัยนิยม Vocal Performance (Singer-Songwriter) 552,500 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ (Jazz and Contemporary Improvised Music) 512,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

กลุ่มวิชาการผลิตดนตรี (Music Production) 463,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม >> คลิก

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *