28 สถาบันการศึกษาไทย ติดอันดับ SCImago Institutions Rankings 2022 ″จุฬาฯ” ที่ 1 ประเทศ “สวนสุนันทา”มาตามนัดยืน 1 ราชภัฏ “มทร.อีสาน” ที่ 1 ราชมงคล “สถาบันวิทยสิริเมธี” พุ่งครองที่ 1 เอกชน

“จุฬาฯ” ก้าวขึ้นครองที่ 1 ของประเทศไทย แซงมหิดลที่ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 2 ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏ “สวนสุนันทา” ยังโดดเด่น เป็นหนึ่งเดียวที่ติดอันดับ ด้าน”ราชมงคลอีสาน” ก้าวยืนที่ 1 ของกลุ่มราชมงคล และมหาวิทยาลัยเอกชน ปีนี้ “สถาบันวิทยสิริเมธี” แรงสุดพุ่งขึ้นครองอันดับ 1 จากการจัดอันดับของ SCImago Institutions Rankings (SIR) 2022  ในส่วนของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา

     SCImago Institutions Rankings (SIR) เผยแพร่ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2022 (Scimago Institutions Rankings 2022) ผ่านเว็บไซต์https://www.scimagoir.com/ โดยปีนี้มีเพียง 28 มหาวิทยาลัยของไทยเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับจาก SIR ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือสูงแห่งหนึ่ง และการจัดอันดับในแต่ละครั้ง จะบ่งบอกถึงความก้าวหน้า และการพัฒนาในกระบวนการ “การวิจัย” องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยในประเทศไทยเราหรือแม้กระทั่งนักวิจัยในต่างประเทศที่สนใจศึกษาหาข้อมูลใหม่ ๆ

     รูปแบบการจัดอันดับ

SCImago Institutions Rankings (SIR) จัดอันดับโดยการดึงชื่อและข้อมูลสถาบัน/หน่วยงาน จากฐานข้อมูล Scopus โดยการจัดอันดับนั้นสามารถดูได้ทั้งแบบในภาพรวม คือ ไม่แยกประเภทสถาบัน/หน่วยงาน ไม่แยกตัวชี้วัด และไม่แยกสาขาวิชาในการจัดอันดับ หรือเลือกดูเฉพาะกลุ่ม โดยแยกเป็น

     1.ตามประเภทสถาบัน/หน่วยงาน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ Government, Health, Universities, Companies, Non-profit และ All sectors (รวม 5 กลุ่มแรกเข้าไว้ด้วยกัน กรณีต้องการดูการจัดอันดับแบบไม่แยกตามประเภทสถาบัน/หน่วยงาน)

     2.ตามตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ Research rank, Innovation rank, Societal rank และ Overall rank (รวม 3 กลุ่มแรกเข้าไว้ด้วยกัน กรณีต้องการดูการจัดอันดับแบบไม่แยกตามตัวชี้วัด)

     3.ประเภทสาขาวิชา ซึ่งแบ่งเป็น 19 กลุ่ม เช่น Agricultural and biological sciences และ Computer science

โดยผลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี 2022 นี้ มีองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับโลกที่เป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา องค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ จากทั่วโลก ทั้งหมด 8,084 แห่ง (ปี 2021 มี 7,533 แห่ง) แบ่งเป็นสถาบันการศึกษา 4,364 แห่ง ( ปี 2021 มี 4,126 แห่ง) ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน ดังนี้

     1.ด้านงานวิจัย (Research) 50% โดยจะประกอบไปด้วยจำนวนเอกสารทางวิชาการ วารสาร งานวิจัย จำนวนการอ้างอิง จำนวนผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของสถาบันนั้นๆ โดยอ้างอิงผลข้อมูลจาก Scopus

     2.ด้านนวัตกรรม (Innovation) 30% จะเป็นในด้านความรู้ที่เป็นนวัตกรรม สิทธิบัตร หรือผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์จากสถาบันที่อ้างถึงในสิทธิบัตร โดยพิจารณาข้อมูลมาจาก PATSTAT (Patent Statistical Database)

     3.ด้านสังคม (Societal) 20% จะพิจารณาจาก ขนาดของเว็บ จำนวนหน้าเว็บที่เชื่อมโยงกับ URL ของสถาบัน จำนวนเครือข่าย (subnets) ที่เชื่อมโยงการเข้าถึงกับเว็บไซต์ของสถาบันนั้น และปริมาณเอกสาร และข่าวสารต่างๆ ของสถาบันที่เผยแพร่อยู่ใน social media

     Research (50%)
Normalized Impact (NI) 13%
Excellence with Leadership (EwL) 8%
Output (O) 8%
Scientific Leadership (L) 5%
Not Own Journals (NotOJ) 3%
Own Journals (OJ) 3%
Excellence (Exc) 2%
High Quality Publications (Q1) 2%
International Collaboration (IC) 2%
Open Access (OA) 2%
Scientific Talent Pool (STP) 2%

     Innovation (30%)

Innovative Knowledge (IK) 10%
Patents (PT) 10%
Technological Impact (TI) 10%

     Societal (20%)

Altmetrics (AM) 10%
Inbound Links (BN) 5%
Web Size (WS) 5%

     การคำนวณ

จะนับจาก 5 ปีย้อนจนถึง 2 ปีก่อนปีที่จัดอันดับ เช่น ปีที่จัดอันดับปี 2021 ข้อมูลทั้งหมดที่จะนำมาคำนวณจะดูจากตั้งแต่ปี 2015 – 2019 เป็นต้น อีกทั้ง ในช่วง 5 ปี (เช่น ปี 2015 – 2019) ที่นำมาคำนวณ ในปีสุดท้ายต้องมีผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 100 ผลงาน

     “จุฬา” ขยับแซง “มหิดล” ขึ้นครองที่ 1 ของประเทศไทย

ในการจัดอันดับแบบภาพรวม Overall Rank จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 500 ของโลก (เดิม 568) ส่วนด้านการวิจัย อยู่อันดับ 1 ของประเทศ และ  301 ของโลก ด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 3 ของประเทศ และ 381  ของโลก และด้านสังคมอยู่อันดับที่ 2 ของประเทศ และ 200  ของโลก โดย มหาวิทยาลัยมหิดล แชมป์เก่าปี 2021  อยู่อันดับ 2 ของประเทศ และ 516 ของโลก

     “สวนสุนันทา” หนึ่งเดียวของราชภัฏ

อันดับของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปรากฏว่า “สวนสุนันทา” ยังเป็นแห่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับ  โดยปีนี้อยู่อันดับที่ 26 (เดิม 26) ของประเทศ อันดับ 755 (เดิม 829) ของโลก ส่วนด้านการวิจัย อยู่อันดับ 19 (เดิม 12) ของประเทศ และ  454 (เดิม 440) ของโลก ด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 23 (เดิม 25) ของประเทศ และ 443 (เดิม 547)  ของโลก และด้านสังคมอยู่อันดับที่ 10 (เดิม 25) ของประเทศ และ 241 (เดิม 245) ของโลก

     “ราชมงคลอีสาน” อันดับ 1 กลุ่มราชมงคล

ด้านกลุ่มของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ครองอันดับ 1 ของกลุ่ม โดยอยู่อันดับที่ 27 (เดิม 25) ของประเทศ อันดับที่ 758 (เดิม 826) ของโลก ด้านการวิจัย อันดับที่ 23 ของประเทศ และ 463 ของโลก ด้านนวัตกรรม อันดับที่ 21 ของประเทศ และ 431 ของโลก และด้านสังคมอันดับที่ 16 ของประเทศ และอันดับ 247 (เดิม 516 )ของโลก

     “สถาบันวิทยสิริเมธี” ก้าวสู่อันดับ 1 ม.เอกชน

มหาวิทยาลัยเอกชนปีนี้ มี 2 สถาบันได้รับการจัดอันดับ คือ อันดับ 1 สถาบันวิทยสิริเมธี ซึ่งเป็น graduate research intensive university ตั้งอยู่ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามโครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ของกลุ่ม ปตท. เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก ในปีนี้ในภาพรวมได้ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศ และอันดับ 664 ของโลก โดยอันดับด้านการวิจัย อยู่ในอันดับที่ 18 ของประเทศ และ 448 ของโลก ด้านนวัตกรรม พุ่งขึ้นอันดับที่ 1 ของประเทศ และ 352 ของโลก และด้านสังคมอันดับที่ 16 ของประเทศ และ 247 ของโลก

ส่วน อันดับ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในอันดับที่ 24 ของประเทศ และ อันดับ 742 ของโลก

…………………………………………………

     สำหรับผลการจัดอันดับประเภทภาพรวม (Overall Rank) มีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 28 แห่ง ดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *