4 นักศึกษา Percussion และวง Percussion Ensemble สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ก้าวขึ้นครองรางวัลระดับนานาชาติ Asia Pacific Percussion Society

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา Percussion และ วง Percussion Ensemble ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ภายใต้การดูแลการฝึกซ้อมโดยอาจารย์ Tanasit Siripanichwattana ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน Asia Pacific Percussion Society จำนวน 4 คนดังนี้

1.Anupon Cheychum
(อนุพนธ์ เชยชุ่ม)
ชั้นปีที่ 4
ได้รับรางวัล 1st Place
รุ่น Open group Classical

2.Nithit Rujikajorndej
(นิธิศ รุจิขจรเดช)
กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ชั้นปีที่1
ได้รับรางวัล 1st place
รุ่นOpen Group Modern Categories

3.Sippakorn Kaewpatom
(สิปปกร แก้วปฐม)
ชั้นปีที่ 2 ได้รับรางวัล 3rd Place
รุ่น Open Group MODERN

4.Channarong Phetphrom
(ชาญณรงค์ เพ็ชรพร้อม)
ชั้นปีที่ 1 ได้รับรางวัล special award
รุ่น Open group Classical

5. Per lē sùrîré Percussion Ensemble
ได้รับรางวัล 2nd Place
รุ่น Ensemble modern

6.Per lē sùrîré Percussion Ensemble
ได้รับรางวัล 3nd Place
รุ่น Ensemble classic

……………………………..

แนะนำหลักสูตรของสถาบัน

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศ และมีความเข้าใจในศิลปะทางด้านดนตรีอย่างลึกซึ้ง มีความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในฐานะศาสตร์และศิลป์ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อการสร้างสรรค์งานดนตรี และการแข่งขันในเวทีสากล งานค้นคว้าวิจัยทางด้านดนตรีที่มีคุณค่า มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสา เห็นคุณค่า เข้าใจความแตกต่างทางความเชื่อ ความคิดทางวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีในการสร้างสรรค์ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ความสำคัญของหลักสูตร
เพื่อสนองพระปณิธานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามุ่งผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีที่มีความเป็นเลิศ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของดนตรีในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) นักดนตรี (Musician)
(2) นักวิชาการด้านดนตรี (Music Academics)
(3) อาจารย์ด้านดนตรี (Music Lecturer)
(4) ผู้ประกอบการทางด้านดนตรี (Music Entrepreneur)
(5) ผู้สร้างสรรค์ทางด้านดนตรี (Music-Related Artist)

วัน – เวลาในการดาเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

หมายเหตุ : ทั้งนี้ระยะเวลาของแต่ละภาคการศึกษาอาจปรับเปลี่ยนได้ตามที่สถาบันฯ กาหนดต่อไป

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ทั้งในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน
2 ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
3 มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา หรือสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากาหนด
…………..

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
“ Master of Music Program (M.M.) ”

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในดนตรีอย่างลึกซึ้ง มีความตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในฐานะศาสตร์และศิลป์ มีศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสร้างความรู้ใหม่รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่มีคุณค่า และสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน โดยสามารถประยุกต์ใช้ดนตรีในเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ อีกทั้งยังสามารถใช้ความรู้ทางด้านดนตรีเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาศาสตร์ทางด้านดนตรีในอนาคต
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้เรียน ทั้งในมิติของความรู้ การวิจัย และการสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านดนตรีเชิงบูรณาการ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี อย่างเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน ผ่านศาสตร์ของดนตรีเชิงบูรณาการ

“ Master of Music Program (M.M.) ”

ความสำคัญของหลักสูตร
ระบบทวิภาค
ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
* ข้อกำหนดต่างๆ
ให้เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต พ.ศ. 2562

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ระยะเวลาของแต่ละภาคการศึกษาอาจปรับเปลี่ยนได้ตามที่สถาบันฯ กาหนดต่อไป

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) นักวิชาการด้านดนตรี
(2) นักดนตรีเชิงบูรณาการ
(3) ผู้สร้างสรรค์ทางด้านดนตรี
(4) อาจารย์ด้านดนตรี
(5) ผู้ประกอบการด้านดนตรี
(6) นักวิชาการละครและดนตรี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท ในหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งสถาบันฯ จะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าสมัคร

ข้อมูลเพิ่มเติม www.pgvim.ac.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *