อยากเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ต้องเรียนจบอะไร

อาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวเวช หรืออีกชื่อคือ วิศวกรรมการแพทย์ เป็นอาชีพที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก และเป็นอาชีพที่ยังไม่ค่อยมีในประเทศไทย อาชีพนี้จะทำหน้าที่รักษา ไม่ว่าจะเป็นด้านเครื่องมือแพทย์หรือด้านงานวิจัย  ในประเทศไทยจะเน้นไปด้านของการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานมากที่สุด น้อง ๆ ที่สนใจทำอาชีพนี้ในอนาคตสามารถเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรชีวการแพทย์

 สาขาวิศวกรชีวการแพทย์เรียนอะไรบ้าง

น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ว่าทำงานยังไง มีขั้นตอนใช้อย่างไร สามารถซ่อมเครื่องมือการแพทย์ได้ เรียนฟิสิกส์ เรียนการเขียนโปรแกรม ในส่วนของปี 1 จะเรียนเรื่องวิศวกรรมทั้งหมดน้อง ๆยังไม่เรียนวิชาภาค เมื่อขึ้นปี 2 แล้วจะเรียนภาคต่าง ๆ เช่น สรีรวิทยา

แบ่งออกเป็น 9 สาขาย่อย

  • Bioinstrumentation เป็นสาขาที่นำความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือคุณสมบัติทางไฟฟ้า ที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือเปลี่ยนคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือระดับอวัยวะ โดยใช้อุปกรณ์มาเป็นตัวกลางในการติดต่อกับเครื่องจักรกล ไฟฟ้า หรือสัญญาณเสียง
  • Biomaterials เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุธรรมชาติ ประกอบด้วย โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต หรืออุปกรณ์ด้านการแพทย์ ที่สามารถทำงานแทนอวัยวะเดิมที่ได้รับความเสียหาย เช่น ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น
  • Biomechanics เป็นการประยุกต์หลักทางกลศาสตร์เพื่อระบบของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงการวิจัยและการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้หลักทางวิศวกรรมในสิ่งมีชีวิต
  • Cellular, Tissue and Genetic Engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตอวัยวะเทียมจากวัสดุชีวภาพ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะปลูก ถ่าย โดยวิศวกรในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีหน้าที่ในการวิจัยเพื่อหาวิธีมาผลิตและนำอวัยวะเทียมมาใช้งานแทนอวัยวะเดิม เช่น ตับเทียม เป็นต้น
  • Clinical Engineering เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสถานพยาบาล บทบาทหลักของ Clinical Engineering คือการให้ความรู้และควบคุมดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต
  • Medical Imaging เป็นสาขาที่ศึกษาเทคนิคหรือกระบวนการที่ใช้ในการสร้างภาพของร่างกายมนุษย์ หรือบางส่วนของร่างกาย และหน้าที่การทำงานร่างกาย เพื่อจุดประสงค์ทางคลินิกหรือทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
  • Orthopedic Engineering เป็นสาขาที่เน้นการทำให้โรคหรือการได้รับบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกทุเลาลง โดยการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานทางกลศาสตร์ของวัสดุชีวภาพร่วมกับวิศวกรรม เนื้อเยื่อ
  • Rehabilitation Engineering เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมมาออกแบบ พัฒนา ดัดแปลง ทดสอบ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียความสามารถต่าง ๆ ของร่างกาย งานวิจัยด้านนี้ครอบคลุมการเคลื่อนไหว การติดต่อสื่อสาร การได้ยิน การมองเห็น การจดจำ และการช่วยให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
  • ystems Physiology เป็นสาขาที่รวมศาสตร์ทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ เพื่อศึกษาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่อธิบายถึงพฤติกรรมของระบบสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปการคำนวณทางสรีรวิทยาได้จากการรวมเทคโนโลยีและฟังก์ชันการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การหมุนเวียนเลือด การหายใจ เมตาบอลิซึม กลศาสตร์ชีวภาพ และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

มหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนสาขาวิศวกรชีวการแพทย์บ้าง ?

  • ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

เมื่อเรียนจบมาแล้วน้อง ๆ ยังสามารถงานอื่น ๆ นอกจาก อาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ เช่น

  • วิศวกรคลินิคประจำโรงพยาบาล/วิศวกรอีเล็กทรอนิกส์
  • นักวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • วิศวกร เพื่อผลิต ขาย ซ่อมบำรุง ติดตั้ง วิจัย และพัฒนา (ในบริษัทเอกชนและภาครัฐ)
  • ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์
  • ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว ทางด้านการจำหน่าย การให้บริการ หรือการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับงานทางด้านเครื่องมือแพทย์

อาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความต้องการในประเทศไทยเลยเพราะยังเป็นอาชีพที่มีความขาดแคลด เครื่องมือการแพทย์ต้องได้รับการดูแลที่ดี เพราะต้องใช้กับผู้ป่วย ถ้าน้อง ๆ สนใจทำอาชีพนี้หรืออยากรู้ว่าตนเองเหมาะกับอาชีพนี้จริง ๆ หรือไม่ น้อง ๆ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบของ Future career flt  ที่สามารถเข้าไปเลือกอาชีพที่อยากทำในอนาคตโดยแบบทดสอบจะช่วยน้อง ๆวิเคราะห์แนวทางในการค้นหาตัวเองของน้อง ๆ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ >>https://www.futurecareerfit.net/site/?page_id=754

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *