ร้องศธ. รื้อระบบ จี้ รมว.ศึกษาฯ วอน ศธ. ปกป้องเด็ก ให้มากกว่าชื่อเสียงโรงเรียน

ร้องศธ. รื้อระบบ จี้ รมว.ศึกษาฯ วอน ศธ. ปกป้องเด็ก ให้มากกว่าชื่อเสียงโรงเรียน
ร้องศธ. รื้อระบบ จี้ รมว.ศึกษาฯ วอน ศธ. ปกป้องเด็ก ให้มากกว่าชื่อเสียงโรงเรียน

ร้องศธ. รื้อระบบ จี้ รมว.ศึกษาฯ วอน ศธ. ปกป้องเด็ก ให้มากกว่าชื่อเสียงโรงเรียน

.

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นางทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว และผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก นางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และตัวแทนภาคีเครือข่ายองค์กรด้านเด็ก สตรี ครอบครัวและภาคประชาสังคม กว่า 40 คน เข้ายื่นหนังสือที่มีองค์กรด้านเด็ก สตรี ครอบครัวและภาคประชาสังคม 100 องค์กรร่วมลงชื่อถึง พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านทาง นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงจุดยืนและเรียกร้อง หลังมีคำพิพากษากลุ่มครูและรุ่นพี่ข่มขืนนักเรียนที่จังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “นักเรียนต้องปลอดภัย หยุดคุกคามทางเพศ”.
หลังเหตุการณ์ที่นักเรียนหญิงวัย 14 ปี ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ออกมาเปิดเผยว่าถูกครูในโรงเรียนของตนเองจำนวน 6 คน ร่วมกับรุ่นพี่อีก 2 คน ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง ผู้ปกครองจึงพาเข้าแจ้งความและมีการจับกุมดำเนินคดีโดยมูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว ร่วมกับบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าให้การช่วยเหลือ เยียวยาและผลักดันให้ผู้เสียหายและครอบครัวได้เข้าสู่การคุ้มครองพยาน ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จัดกระบวนการเสริมพลังใจและจัดทนายความของมูลนิธิเป็นทนายโจทย์ร่วม ให้การช่วยเหลือต่อสู้จนล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ศาลมุกดาหารได้อ่านคำพิพากษาจำคุกจำเลย 6 คน ตลอดชีวิต และให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งรวมเกือบ 3 ล้านบาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี ส่วนครูอีก 2 คน ศาลยกฟ้องด้วยเหตุพยานหลักฐานยังไปไม่ถึง

.

ทั้งนี้ เครือข่ายยุติความรุนแรงทางเพศในสถานศึกษา กว่า 100 องค์กร เห็นว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยกับนักเรียนในความดูแลของกระทรวงศึกษา และเกิดจากการกระทำของบุคลากรทางการศึกษาเอง สะท้อนถึงวัฒนธรรมความรุนแรงทางเพศที่ฝังรากลึกอยู่ในระบบการศึกษาของไทย เครือข่ายจึงขอเรียกร้อง ดังนี้ 1. เมื่อเกิดเหตุความรุนแรงต่อเด็กนักเรียนที่เป็นการละเมิดกฎหมาย กระทรวงศึกษาทำหน้าที่เป็นเจ้าทุกข์ร่วมในการแจ้งความและฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญา ประสานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เด็กผู้เสียหายและผู้ปกครอง ช่วยจัดการให้ถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพและได้รับการเยียวยาทางจิตใจโดยด่วน 2.หากสอบสวนพบครูหรือบุคลาการทางการศึกษาอื่นล่วงละเมิดทางเพศต่อนักเรียน ให้กระทรวงศึกษาลงโทษทางวินัยขั้นสูงสุด ถอนใบประกอบวิชาชีพครู ไม่ให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนโดยตรงเด็ดขาด 3. รัฐมนตรีหรือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษารีบดำเนินการเอาผิด ป้องกันไม่ให้เกิดการแทรกแซงช่วยเหลือผู้กระทำผิด ต้องรีบลงพื้นที่สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้เสียหาย ครอบครัว รวมถึงครู นักเรียนที่ไม่ได้กระทำผิด

.

ด้านนางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายสงเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการรวบรวมข่าวความรุนแรงทางเพศในปี พ.ศ.2564 จากหนังสือพิมพ์จำนวน 13 ฉบับ พบข่าวความรุนแรงทางเพศจำนวน 98 ข่าว ครึ่งหนึ่งของข่าวกลุ่มผู้ถูกกระทำอายุ 11-15 ปี ร้อยละ 60 ผู้ถูกกระทำเป็นเด็ก วัยรุ่นและนักเรียน ร้อยละ 16 ของข่าวผู้กระทำเป็นบุคลากรทางการศึกษา ที่น่าสนใจเมื่อลงรายละเอียดในข่าวพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับยาเสพติดเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญร้อยละ 38 และร้อยละ 19 ตามลำดับ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงกรณีมุกดาหารที่พบว่าหลังบ้านพักครูจะพบกองขวดเหล้าเบียร์จำนวนมาก จุดที่น่าสนใจมาก ๆ คือเหตุการณ์นี้ไม่ได้พึ่งเกิดหรือเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว เป็นความต่อเนื่องยาวนาน ทำไมคนในพื้นที่จึงไม่เห็นความผิดปกติ เพราะหากช่วยกับจับตา เฝ้าระวัง และเมื่อพบเห็นความผิดปกติแล้วมีกระบวนการป้องปรามเหตุการณ์อาจจะไม่บานปลายมาขนาดนี้ เด็กอาจจะได้รับการปกป้องที่ดี ดังนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชน คนในพื้นที่ นักเรียน รวมถึงครูที่ไม่ได้อยู่ในขบวนการ จึงมีความสำคัญมาก ที่จะช่วยกันส่งสัญญาณ
.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : MGR ONLINE

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *