4 ทริกสำคัญ ถ้าอยากจะติดรอบ portfolio !!

สรุปเทคนิค&ทริกในการทำพอร์ตโฟลิโอ #TCASรอบ1 อันนี้เป็นเทคนิค&ทริกที่พี่แฮนด์ว่าสามารถเอาไปใช้ได้ทุกมหาวิทยาลัยเลย จากการที่เคยพูดคุยสอบถามกรรมการตรวจพอร์ตจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัยและรุ่นพี่ที่เคยสมัครรอบนี้ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

.
1.จริงใจ – บอกความจริง แสดงความจริงใจในการอยากเรียนผ่านพอร์ตโฟลิโอของเรา ว่าทำไม เพราะอะไร เราถึงอยากเรียนที่นี้ คณะนี้ ด้วยข้อมูลจริงของเรา ที่แสดงออกมาผ่านพอร์ตของเรา

จุดนี้ น้องๆไม่ต้องคิดเยอะครับ ไม่ต้องไปมองคนอื่น มาที่ตัวเอง สื่อสารออกมาว่าเราอยากจะเรียนจริงๆ ตัวอาจารย์ที่รับหรือมหาวิทยาลัย เค้าต้องการนักศึกษาที่ต้องการอยากจะเข้ามาเรียนกับเค้าจริงๆ เราทำพอร์ตสื่อสารด้วยความจริงและจริงใจ จะมีโอกาสในการเข้ามากขึ้นแน่นอนครับ

เหมือนรุ่นพี่หลายคนที่พี่แฮนด์เคยพูดคุย สัมภาษณ์ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสิ่งที่สำคัญมากๆในการทำพอร์ตคือความ “จริงใจ”
.
2. รวบรวมผลงาน – ขึ้นชื่อว่าพอร์ต ก็มีผลงานใส่ในพอร์ต เพราะพอร์ตที่สวยแต่ไม่มีผลงานก็เป็นได้แค่พอร์ตที่สวยแต่ใช้งานไม่ได้ แต่ผลงานนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นผลงานอะไรก็ได้นะครับ พอร์ตที่ดีต้องมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เราอยากจะเข้าไปเรียน โดยน้องๆสามารถเริ่มได้จากการรวบรวมผลงานของตัวเอง จะเป็นการร่วมกิจกรรมต่าง การไปค่ายกิจกรรม/open house/การแข่งขันหรือไปทำบำเพ็ญประโยชน์ จิตสาธารณณะต่างๆ ได้หมด

เมื่อรวบรวมผลงานแล้ว จากนั้นน้องๆค่อยมาคัด มาแยก ว่าผลงานอะไรที่สอดคล้องกับคณะที่น้องๆต้องการจะยื่นสมัคร ซึ่งตรงนี้น้องๆที่เคยทำกิจกรรมมาเยอะ ๆ ช่วงก่อน ม.6 จะมีความได้เปรียบในส่วนนี้ เพราะยิ่งเรามีผลงานที่ตรงกับความต้องการของคณะ/สาขา เท่าไหร่ ก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น
.
3. ลงมือทำ – น้องหลายๆคน บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ด้วยสถานการณ์เกือบ 2ปี ที่ผ่านมา ทำให้ออกไปไหนไม่ค่อยได้ มีผลงานน้อยหรือไม่ค่อยมีผลงานทำอย่างไรดีครับ สิ่งที่ทำได้คือยังไม่มี ตอนนี้ทำอะไรได้ก็ทำเลยครับ โดยเฉพาะในคณะที่เกี่ยวกับการออกแบบ การแสดงและความคิดสร้างสรรค์

อย่างจากที่พูดคุยกับรุ่นพี่จากคณะศิลปกรรมหรือจากนิเทศศาสตร์ก็ให้คำแนะนำว่า น้องๆสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เลยผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น youtube / TikTok / Instragram อัดตัวเองตอนร้องเพลง ตอน cover ตอนแสดงอะไรได้หมด ขอแค่ให้เริ่มเลย

ส่วนในคณะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการแสดง การมีคะแนนสอบต่างๆพิเศษ เช่นคะแนนการสอบภาษาอังกฤษหรือผลการเรียนที่ดีก็อาจเป็นตัวช่วยได้ แต่พี่แฮนด์ก็ขอให้แนะนำว่าช่วยเวลาที่เหลืออยู่ ถ้าน้อง ๆ ไม่ไปร่วมกิจกรรม ค่ายออนไลน์ต่าง ๆ ก็ลองไปดู ศึกษาคลิปหรืออะไรที่เกี่ยวกับคณะที่เราอยากจะเข้า แล้วมาสรุปเขียนลงในพอร์ตของเราว่าคลิปนี้มันดียังไง เกี่ยวข้องหรือสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนของน้อง ๆ อย่างไร

เอาง่าย ๆ ก็คือถ้าน้อง ๆ ไม่มีผลงา่นก็ต้องลงมือทำครับ ถ้ากลัวว่ามันไม่ดีหรือไม่ใช่กลัวอาจารย์ไม่ชอบ ก็ให้กลับไปดูข้อ1 คือ ถ้าเราทำด้วยความจริงใจ ยังไงก็มีโอกาสครับ
.
4. เตรียมการสัมภาษณ์ – ในรอบพอร์ตโฟลิโอ ไม่ใช่ว่าน้องๆจะยื่นแค่พอร์ตแล้วมีที่เรียนเลยนะครับ น้องๆทุกคนต้องผ่านด่านสำคัญที่ถือว่าเป็นด่านสุดท้ายในรอบนี้ก็คือ “การสอบสัมภาษณ์”

เทคนิคการสัมภาษณ์ก็ไม่ยากครับ อันดับแรกเลยไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ที่สถาบันหรือสัมภาษณ์ออนไลน์ เราต้องแต่งตัวให้ดี ตัดผม เก็บผมให้เรียบร้อย ดูถูกกาละเทศะ พูดจากระชับ ฉะฉาน รู้เรื่อง ชัดเจน เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เราสมัคร โดยเฉพาะสิ่งที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอของเรา เพราะส่วนใหญ่อาจารย์ก็จะถามข้อมูลจากพอร์ตของเรานี่แหละครับ

ส่วนคำถามยอดฮิตก็หนีไม่พ้นเหตุผลในการสมัครเรียน ทำไมถึงอยากเรียนที่นี้ ซึ่งคำตอบตรงนี้ ไม่มีคำตอบที่ตายตัว ใช้ความอยาก ใช้ความรู้สึกตอบด้วยความจริง(ใจ) รับรองว่าน้องๆมีที่เรียนแน่นอนครับ
>>>
นี่ก็คือ 4 เทคนิค&ทริกในการทำพอร์ตโฟลิโอ #TCASรอบ1 ที่สรุปจากการพูดคุยกับอาจารย์และรุ่นพี่คณะต่าง ๆ ก็น่าจะเป็น เทคนิค&ทริก ที่มีประโยชน์กับน้อง ๆ ทุกคนที่กลังเตรียมตัวทำพอร์ตในเวลานี้กันนะค้าบบ

ด้วยความปรารถนาดี

#TCAS66 #dek66 #portfolio #เด็กซิ่ว
.
.
อ่านบทความทำ Portfolio 10 หน้า มีอะไรบ้าง ทำยังไงให้น่าสนใจ ได้ที่ >> https://www.eduzones.com/2021/09/28/portfolio-10/
.
ดูคลิป 4 สิ่งที่น้องๆ ต้องเช็กก่อนการทำ portfolio >> https://youtu.be/NQILkJJoXas

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *