อว. คิดนอกกรอบ! ปลดล็อกเวลาเรียนทุกปริญญา ตอบโจทย์การเรียนยุคใหม่ ผลักดันให้เด็กใช้เวลาเรียนให้น้อย เข้าสู่ระบบการทำงานให้ไวที่สุด

รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) มีมติยกเลิกการกำหนดเวลาเรียนปริญญาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับเพื่อตอบโจทย์การเรียนของนักศึกษา ว่าการยกเลิกการกำหนดเวลาเรียนปริญญาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับการกำหนดระยะเวลาสำเร็จการศึกษา แบบเดิม ระดับปริญญาตรี 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี ปริญญาโท 2 ปี ไม่เกิน 5 ปี ปริญญาเอก 3 ปี ไม่เกิน 6 ปี ด้วยเหตุผลคือรีบเรียนรีบจบ แต่ทุกวันนี้โลกเปลี่ยน เทคโนโลยี สังคม ที่เราจะพัฒนาคนก็เปลี่ยนไป เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning ซึ่งการกำหนดระยะเวลา ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาคนเพราะระหว่างเรียนเด็กอาจไปทำงาน หรือหาประสบการณ์ ต่างๆ ข้างนอกห้องเรียน เดินทางท่องเที่ยวหาประสบการณ์เพื่อเรียนรู้ตัวเองและกลับมาเรียนหนังสือก็จะได้สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจำกัดการศึกษาด้วยเวลา

 

ทั้งนี้ถือเป็นการปลดล็อคจากกระทรวงโดยเราไม่มีกรอบของเวลา ซึ่งมหาวิทยาลัยก็สามารถกำหนดเงื่อนไขของตัวเองได้ อย่างไรก็ตามในอนาคตกมอ. ได้มีการวางหลักเกณฑ์ไว้ว่าปริญญาตรีอาจจะสามารถเรียนจบได้ภายใน 2 ปี ซึ่งเราต้องมีกฎกระทรวงมาตรฐานอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาที่หลากหลายสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกรีบเรียนรีบจบแล้วไปเรียนอย่างอื่นเป็นการเฉพาะทางเพิ่มเติม มีสิทธิเลือกมากขึ้น ประโยชน์ ที่ได้ รับจากการปลดล็อค เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้และสั่งสมองค์ความรู้ใหม่ๆเด็กจะมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต หาประสบการณีได้มากขึ้น ประโยชน์ทางวิชาการ เราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก บางทีหลักสูตร การเรียน อาจจะไม่ก้าวทัน แต่หากเรามียืดระยะเวลาเรียน เด็กก็สามารถเลือกเรียนได้มากขึ้น อาจจะไปทำงานเอกชน หรือสตาร์ตอัพ เด็กจะสามารถรู้ว่าต้องกลับมาเรียนในสาขาวิชาอะไรเพื่อต่อยอด เพื่อจะได้เกิดนวัตกรรมงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมได้จากการปลดล็อคในครั้งนี้

รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์   กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าสำหรับการศึกษาที่ผ่านมากว่าเด็กจะเรียนครบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติต้องใช้เวลายาวนาน เช่น เรียน 4 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัย มีหน่วยกิตฝึกงานเพียงแค่ 20-25% พอเข้าสู่ระบบการทำงานกว่าจะรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานจริง เวลาและอายุก็ล่วงเลยไปแล้ว จึงเป็นคำถามว่าทำไมต้องรอให้ถึงอายุ 30 40 ถึงจะเก่ง วันนี้ กระทรวงอว. มีกรอบความคิดใหม่ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว เราสามารถผลิตเด็กตั้งแต่อายุ 20 ปี ออกสู่ตลาดแรงงานได้เลย โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลาการเรียนในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันยังส่งผลดีต่อคนวัยทำงานด้วย ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนทำงานเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติม  โดยไม่ต้องเครียดว่าต้องทำงานไปด้วย เรียนก็ต้องให้จบภายในเวลากำหนด การที่ไม่มีกฎเกณฑ์กรอบเวลาจะให้อิสระมากขึ้น อาจะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

 

“กระทรวงอว.ยุคนี้คิดหลุดออกมานอกกรอบ เราต้องผลิตคนด้วยระบบการศึกษาแบบใหม่ที่ส่งคนเข้าสู่ระบบงานได้เร็วที่สุด ไม่ว่าอยู่ระดับไหน  เมื่อก่อนเน้นการเรียนเป็นหลักจนมีแต่นักทฤษฎีเต็มไปหมด ที่ผ่านมาเรามาผิดทางพอสมควรที่แยกเรื่องการศึกษาออกจากชีวิตการทำงานมากเกินไป ถึงเวลาแล้วที่รวมเข้ามาด้วยกันเป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริงไม่ใช่แค่อยู่อยู่ในห้องเรียน อยู่ในโลกไม่สมจริง” รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *