1 ต.ค. 65 ล้างระบบวิทยฐานะแบบเดิม เพิ่มระบบการสอนที่แท้จริง

1 ต.ค.65 ล้างระบบเอกสารวิทยฐานะแบบเดิม เพิ่มระบบการสอนที่แท้จริง - บทสัมภาษณ์จาก Thai PBS
1 ต.ค.65 ล้างระบบเอกสารวิทยฐานะแบบเดิม เพิ่มระบบการสอนที่แท้จริง

.

เอกสารวิทยฐานะ (ฐานะด้านความรู้) ที่กองพะเนินอยู่บนชั้น 6 ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นเครื่องสะท้อนความล้าหลัง ทั้งวิธีการพิมพ์เอกสาร เข้าเล่ม เคลือบพลาสติก ที่ล้วนแล้วแต่เสียค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่าหลักพัน ก่อนจะถูกส่งต่อให้ไปรษณีย์หรือเจ้าของเอกสารเป็นผู้ดำเนินการส่งให้คณะกรรมการประเมิน

.

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้สัมภาษณ์ผ่านไทยพีบีเอสออนไลน์สรุปได้ว่า “การสอนในห้องเรียนและดูแลชีวิตลูกศิษย์คือหน้าที่หลักของครู นอกเหนือจากนั้นคือเกินหน้าที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้บังคับบัญชา บางท่านอาจจะมีเจตนาดีอยากทำให้สิ่งดี ๆ ให้นักเรียน แต่กลายเป็นว่างานเหล่านี้ไปกองอยู่ที่ครูจนไม่ได้ใส่ใจการสอนหนังสือเป็นหลัก รวมไปถึงการประเมินต่าง ๆ ทั้งการสอน การประเมินครู การประเมินโรงเรียน การแข่งขันล้วนแล้วแต่เป็นหน้าที่ครู เวลาในการสอนต้องนำมาใช้ไปกับการลดภาระเหล่านี้แทน”

.

          “การจะปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จต้องเริ่มต้นที่ห้องเรียน ในไทยครูมีภาระเยอะมาก บางเรื่องเป็นงานที่ครูต้องทำทุกเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเห็นใจ เราจึงจะลดภาระงานและความซ้ำซ้อน”

.

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ระบบการศึกษาไทยประกอบไปด้วยครูหลาย Generations ทั้ง Baby Boomer (คนที่เกิดปี 2489 – 2507), Generations x (คนที่เกิดปี 2508 – 2522), Generations Y (คนที่เกิดปี 2523 – 2537) ซึ่งมีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกัน คนรุ่นใหม่มองระบบแบบใหม่ ก.ค.ศ. จึงจำเป็นที่จะต้องวางระบบให้เหมาะกับครูทุกคน ทำให้ครูทุกคนมีความสุข ถ้าเทคโนโลยีมากไป คนรุ่นเก่าก็ตามไม่ทัน แต่ถ้าย่ำอยู่กับที่คนรุ่นใหม่ก็มองว่าไม่พัฒนา แม้จะเป็นการปรับตัวที่ยาก แต่พวกเราก็จะพยายามพัฒนาให้ดีที่สุด”

.

ด้วยเหตุผลทั้งหลายนี้จึงเกิดเป็นความคิดที่จะเปลี่ยนระบบไปสู่การประเมินแบบห้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ วิธีการนี้ครูจะไร้กังวลทั้งเรื่องของเวลา ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายเพียงแค่ครูอัดคลิปการสอนส่งไปยังระบบแบบ Random systems โดยเชื่อว่าจะลดปัญหาให้แก่ครู ทั้งไม่ต้องเข้าหากรรมการ ไม่ต้องประเมินแบบเผชิญหน้า ไม่มีเรื่องของแฟ้มสะสมผลงานที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนมาเกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีการนี้เป็นเชื่อมกับระบบวิทยฐานะและเกี่ยวข้องกับการประเมินเงินเดือนอีกด้วย

.

ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เริ่มมาตรการ 5 คานงัด ทั้งปรับมาตรฐานตำแหน่ง เปลี่ยนเกณฑ์การประเมิน โดยที่ครูทุกท่านได้เข้าร่วมมาตรการเหล่านี้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 และจำเข้าสู่ระบบใหม่เต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้

นอกจาก รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ยังพูดถึงปัญหา “ครูหลุดออกจากระบบ” ไว้ว่า “ครูบางคนอาจอยู่ในช่วงหมดไปหลังจากการทำงานมานาน จึงหันไปสนใจในอาชีพอื่นแทน ส่วนครูบางส่วนก็ยึดติดกับระบบการสอนแบบเดิมที่ตนเคยชิน ทำให้ไม่อยากปรับตัวไปกับเด็กรุ่นใหม่ ถามว่าระบบทำให้ครูออกจากนอกระบบไหม? ก็ให้ดูระบบวิทยฐานะ เหล่าเอกสารที่ดึงความสนใจจากครูที่สอนเก่ง ๆ ให้ต้องมานั้นทำวิจัย เสนอผลงาน กลายเป็นภาระงานกระดาษจนครูไม่อยากทำ ซึ่งก็ส่งผลทำให้ครูออกจากระบบการศึกษาได้”

.

“ก.ค.ศ. พยายามเพิ่มจำนวนครูให้โรงเรียนขนาดเล็ก ปรับมาตรฐานตำแหน่งใหม่ เพื่อให้ครูโฟกัสการสอนมากขึ้น เหมือนลักษณะงานต้องทำอะไรก็ทำอย่างนั้น ผอ.จะใช้งานนอกเหนือจากนั้นไม่ได้”

 

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ทิ้งท้ายว่า “ในอนาคตครูจะได้ทำงานของครู พัฒนาการสอน ใช้เวลากับเด็ก อยู่กับห้องเรียน โดยผ.อ.มีหน้าที่ให้ความสนใจกับผลงานการสอนของครู เขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศจะเข้ามาช่วยพัฒนาการสอนของครู ความรับผิดชอบของทุกคนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งหมดนี้จะทำให้ครูได้คืนสู่ห้องเรียนอย่างแท้จริง”

.

สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลที่เกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะรูปแบบใหม่ (วPA) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :

ห้องเรียนอารมณดี “เกณฑ์ใหม่ช่วยครูในห้องเรียนได้จริงหรอ? ครูควรเตรียมพร้อมรับเกณฑ์ใหม่อย่างไรบ้าง? กับ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “ผู้บริหารฯกับการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าของครูด้วย วPA” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “สถานศึกษานำร่อง ร่วมเรียนรู้ พร้อมเข้าระบบ PA” : คลิก

ห้องเรียนอารมณ์ดี “หลักสูตรฐานสมรรถนะและการประเมินวิทยฐานะใหม่” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “ฟังแล้วเข้าใจวิธีเขียน PA ฟังแล้ว ทำได้ ใจฟู” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “PA ครู เขียนอย่างไรให้ชัดเจนและตรงประเด็น” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “วPA ถ่ายคลิปตอนไหน ถ่ายอย่างไร ตอบทุกคำถามคาใจ #1” : คลิก

ห้องเรียนอารมณดี “วPA ถ่ายคลิปตอนไหน ถ่ายอย่างไร ให้ Work! #2” : คลิก

.

แหล่งที่มา : คลิก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *