ทำ Portfolio 10 หน้า มีอะไรบ้าง ทำยังไงให้น่าสนใจ

การทำ Portfolio ให้น่าสนใจก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญพอ ๆ กับการเตรียมตัวสอบเลย Portfolio จะเป็นสิ่งสำคัญในการยื่นเข้ารอบ 1 และถ้าน้อง ๆ ทำ Portfolio ออกมาได้เด่น ได้น่าสนใจ ก็สามารถทำให้น้อง ๆ สอบติดได้เลย แต่การทำพอร์ตที่ดีนั้นไม่ใช่แค่สวยเด่นเท่านั้น น้อง ๆ ยังต้องมีกิจกรรมหรือผลงานต่าง ๆ ที่ตรงตามคณะ สาขา ที่น้อง ๆจะสมัครเข้าอีกด้วย

Portfolio 10 หน้า มีอะไรบ้าง

  1. หน้าปก Portfolio

การทำหน้าปกให้ออกมาน่าใจสนไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก หน้าปกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำออกมาให้น่าสนใจ เมื่อกรรมการเห็นแล้วต้องอยากเปิดดูข้างในแน่ ๆ

  • ส่วนประกอบของหน้าปกจะมี ชื่อ-นามสกุล และโรงเรียน เป็นต้น น้อง ๆ ควรบอกข้อมูลในชัดเจน เลือกฟอนต์ที่อ่านเข้าใจง่าย รูปหน้าปกควรเป็นรูปของเราเอง แต่งชุดนักเรียน หรือชุดไปรเวทก็ได้แต่ต้องเรียบร้อย สุภาพ
  • ในส่วนของหน้าปกตามที่ ทปอ. แจ้งจะไม่ได้นับเป็น 1-10 หน้าตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  1. ประวัติส่วนส่วนตัว

น้อง ๆ ควรใส่ประวัติส่วนตัวให้ชัดเจน เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ วันเดือนปีเกิด นิสัยส่วนตัว ความชอบของน้อง ๆ หรือสิ่งที่น้อง ๆสนใจเป็นพิเศษ ความฝันในอนาคตก็ใส่ในส่วนนี้ได้นะ

  • ในส่วนนี้ก็ต้องเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านเข้าใจง่ายเช่นกัน ถ้าเลือกฟอนต์ที่อ่านยาก อาจจะมีผลต่อการคัดเลือกก็ได้นะ อีกอย่างน้อง ๆสามารถใส่ข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ในส่วนนี้
  1. ประวัติการศึกษา

ส่วนนี้น้อง ๆ ต้องบอกประวัติการศึกษาของตนเองโดยเรียงจากน้อยไปหาปัจจุบัน หากน้อง ๆ อยากใส่เกรดเฉลี่ยก็สามารถใส่ได้ และสิ่งสำคัญชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ควรเป็นชื่อเต็มไม่ใช่ตัวย่อจะดีที่สุด

  • การเรียงลำดับการศึกษา ระดับประถม ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น ใช้การอธิบายเป็นเส้นไทม์ไลน์ลงมา หรือตารางก็ได้เพื่อความเข้าใจง่าย
  1. เหตุผลที่อยากเข้าคณะ สาขานี้

ในหน้านี้น้องต้องอธิบายว่าทำไมน้อง ๆ ถึงอยากเรียนต่อในคณะ สาขาที่สมัคร อาจจะเราเป็นความฝันว่าจบไปอยากทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคณะนี้ บอกถึงความตั้งใจจริงของน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะนี้

  1. กิจกรรมที่เข้าร่วม

ถ้าเปรียบ Portfolio เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ในส่วนนี้ก็เหมือนเป็นหัวใจหลักเลย เพราะน้อง ๆ ต้องเลือกกิจกรรมที่น้อง ๆ ได้ทำมาใส่ในส่วนนี้ดี ๆ ไม่ใช่เพียงแค่กิจกรรมด้านวิชาการแต่เป็นกิจกรรมทั่ว ๆ ไปที่ได้ร่วมทำที่โรงเรียน และกิจกรรมนั้นน้อง ๆ ต้องมั่นใจว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ

  • การเลือกกิจกรรมาใส่นอกจากจะน่าสนใจแล้วต้อง เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะ สาขาที่น้อง ๆ สมัครเข้าอีกด้วย การใส่รูปกิจกรรมนั้นไม่ต้องใส่รูปเยอะมาก ใส่พอเห็นภาพพร้อมอธิบายเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจง่าย อาจจะเลือกการจัดเรียงแบบระดับชั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น เมื่อต้นระดับชั้นมัธยมต้นเคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เป็นต้น
  1. รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่าง ๆ

ส่วนนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญเหมือนกันนะ น้อง ๆ ต้องเลือกภาพรางวัลหรือผลงานเด่น ๆ มาใส่ในพอร์ตที่สามารถบอกได้ว่าตนเองมีความสามารถอะไร รางวัลและผลงานควรจะเกี่ยวข้องกับคณะ สาขาวิชาที่น้อง ๆ สมัครเข้าด้วยจะดีมาก ๆ  ส่วนพวกรูปเกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ สามารถอ้างอิงและนำไปใส่ในภาคผนวกได้

  • ในส่วนนี้น้อง ๆ อาจจะอธิบายว่าตนเองมีความพยายามหรือมีความภาคภูมิใจอย่างไรในการได้รางวัลนี้มา อธิบายไม่ยาวจนเกินไป เพื่ออ่านเข้าใจง่ายและกรรมการจะได้รู้ถึงความตั่งใจของน้อง ๆ อีกด้วย
  1. ภาคผนวก

ในส่วนนี้ให้น้อง ๆ ใส่เอกสารและภาพกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการใส่เพิ่ม พวกเกียรติบัตรต่าง ๆ ให้ถ่ายเป็นสำเนาแล้วเรียงตามปีที่ได้รับ จะมีความน่าสนใจมากกว่า

Portfolio 10 หน้าแบ่งยังไงบ้าง

ใน Portfolio 10 หน้า น้อง ๆ อาจจะยังไม่รู้ว่าควรแบ่งใส่ หรือเรียงยังไงดี เรามาดูกันว่าเรียงยังไงได้บ้าง

  • หน้าที่ 1 ใส่ประวัติส่วนตัวต่าง ๆ
  • หน้าที่ 2 ใส่ประวัติการศึกษา
  • หน้าที่ 3 ใส่เหตุผลที่อยากเข้าคณะ สาขา ที่สมัคร
  • หน้า 4 – 5 ใส่กิจกรรมต่าง ๆ
  • หน้า 6 – 8 ใส่ผลงาน รางวัลที่ได้รับ
  • หน้า 9 – 10 ใส่เกียรติบัตรต่าง ๆ หรือรูปที่ต้องการใส่เพิ่ม

#ในบางคณะที่น้อง ๆ สมัครเข้าอาจมีการกำหนดว่าแต่ละหน้าต้องใส่อะไรบ้าง อย่าลืมดูระเบียบการของคณะ สาขา ที่น้อง ๆ จะสมัครเข้าด้วย

นี้ก็เป็นส่วนประกอบที่จะอยู่ใน Portfolio อย่าลืมว่านอกจากจะมีกิจกรรม รางวัลที่เด่น Portfolio สวยน่าสนใจ แต่ต้องใส่ความเป็นน้อง ๆ ลงในนั้นด้วย เพื่อให้กรรมการจะได้รู้จักเรามากขึ้น ถ้าเป็นตัวของตัวเองแล้ว จะดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *