เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่ออังกฤษคือ Chulalongkorn University ตัวอักษรย่อ: จฬ. — CU เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยมี “พระเกี้ยว” เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ไหน?

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีวิทยาเขตแยกเหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ตั้งอยู่ที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน นั้นเอง

จุฬามหาวิทยาลัย มี 5 ฝั่ง ได้แก่

  • ฝั่งที่ 1 คือ ฝั่งอนุสาวรีย์พระบรมรูปสองรัชกาล หน้าหอประชุมจุฬาฯ เป็นที่รวมของหลายๆ คณะ เด็กจุฬาฯ เรียกว่า “ฝั่งใหญ่”
  • ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอสมุดกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ ครุศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์ บางคนเรียกว่า “ฝั่งนอกเมือง” ทั้งๆ ที่เป็นฝั่งเดียวกัน MBK และสามย่าน
  • ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์
  • ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวชศาสตร์ พยาบาล จิตวิทยา และวิทยศาสตร์การกีฬา
  • ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คือ ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีชมพู เป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารจึงทำให้ โปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ และคณะกรรมการสโมสรนิสิตฯ เห็นสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยอัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นจามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เมื่อ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น และทรงปลูกด้วยพระองค์ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย

พระเกี้ยวสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ตอนก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน เมื่อกลายมาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้บริหารได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนข้อความใต้พระเกี้ยวตามชื่อซึ่งได้รับพระราชทานใหม่ตลอดมา

และเข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนคณะอะไรบ้าง?

ตอนเริ่มแรกการสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนเพียงแค่ 4 คณะเท่านั้น

  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนทั้งหมด 19 คณะ/สำนักวิชา

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะจิตวิทยา
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตรบัณฑิต
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์ มี 2 หลักสูตรคือ
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะสหเวชศาสตร์
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

นิสิต – นิสิตา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า “นิสิต-นิสิตา”

ชุดนิสิตของมหาวิทยาลัย

เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเครื่องแบบพระราชทาน และเครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กำหนดเป็นกฎหมาย โดยตราไว้เป็นพระราชกฤษฎีกา เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเครื่องแบบนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2499 ”

ชุดนิสิตปัจจุบัน

รายละเอียดของกฎระเบียบการแต่งกายเครื่องแบบปกตินิสิตชาย

  • เนคไท มีตราพระเกี้ยว ตามแบบของมหาวิทยาลัย
  • เสื้อเชิ้ต ทำด้วยผ้าขาว ไม่มีลวดลายให้ใส่ชายเสื้อไว้ในกางเกง
  • เข็มขัด เข็มขัดหนังสีดำ ขนาดกว้าง 3 ซม. หัวเข็มขัดโลหะเงิน สี่เหลี่ยมจัตุรัส ดุนเป็นรูปพระเกี้ยว
  • กางเกง กางเกงขายาวแบบสากล ทำด้วยผ้าสีกรมท่า หรือสีดำ
  • ถุงเท้า ถุงเท้าสีดำ
  • รองเท้า รองเท้าหนังสีดำ หุ้มส้น

รายละเอียดของกฎระเบียบการแต่งกายเครื่องแบบปกตินิสิตหญิง

  • เสื้อ ทำด้วยผ้าสีขาว ไม่มีลวดลาย มีความหนาพอสมควร ตัวเสื้อขนาดพองาม คอเสื้อแบบคอเชิ้ต ปลายแหลม ปกยาวพอสมควร เดินตะเข็บตามขอบปก ให้ปรากฏตะเข็บข้างนอกด้วย ความยาวของตัวเสื้อให้เลยสะเอวเล็กน้อย เพื่อให้กระโปรงทับได้มิดชิด สาบบ่าเป็นสาบขนาดพองาม ด้านหลังของตัวเสื้อที่กึ่งกลางตัวใต้สาบทำจีบชนิดครีบกว้าง 3 ซม. 1 จีบ ด้านหน้าผ่าอกตรงโดยตลอด มีสาบกว้างขนาด 3 ซม. ติดดุมโลหะสีเงินขนาดเล็กดุนเป็นรูปพระเกี้ยว 5 ดุม แขนเสื้อเป็นแขนสั้น เหนือข้อศอก 2 ซม. ปลายแขนมีผ้าอีกชิ้นหนึ่งตลบขึ้น ส่วนที่กลบกลับตรงท้องแขนกว้าง 3 ซม. ตรงหลังแขนกว้าง 6 ซม. การเดินตะเข็บตัวเสื้อทุกตะเข็บให้เดินตะเข็บคู่
  • เข็มขัด เข็มขัดหนังทำด้วยสักหลาด หรือหนังกลับสีน้ำตาลเข้ม กว้าง 5 ซม. เป็นเข็มขัดรูด ปลายแหลม หัวเข็มขัด ทำด้วยโลหะสีเงินเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 4 ซม. ดุนเป็นรูปพระเกี้ยว คาดทับรอยต่อที่กระโปรงทับเสื้อ ห้ามใช้เข็มขัด แบบอื่นนอกจากที่ระบุไว้นี้
  • ตราพระเกี้ยว ตามแบบของมหาวิทยาลัย ทำด้วยโลหะสีเงินสูง 3 ซม. ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
  • กระโปรง ทำด้วยผ้าสีกรมท่าหรือสีดำ ไม่มันแวววาว ไม่มีลวดลาย ความยาวคลุมเข่า แบบเรียบร้อยรัดกุม ห้ามใช้ผ้ายีน ผ้าสักหลาด ผ้าลูกฟูก ผ้าลูกไม้
  • รองเท้า รองเท้าหุ้มส้นหรือมีสายรัดส้น แบบสุภาพ สีดำ ขาว น้ำตาล กรมท่า หรือเทา

 ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตึกที่สูงที่สุด คือ ตึกมหามกุฎ คณะวิทยาศาสตร์ ถ้ามองจากมุมสูง จะเห็นศาลาพระเกี้ยว เป็นรูปพระเกี้ยวจริงๆ และตึกจุลจักรพงษ์จะเป็นฐานพระเกี้ยว

หอพักในมหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 5 ตึก ได้แก่

  • ตึกพุดซ้อน
  • ตึกจำปา
  • ตึกจำปี
  • ตึกพุดตาน
  • ตึกชวนชม

งานฟุตบอลประจำประเพณี

ในแต่ละปีจะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาลัยธรรมศาสตร์จะสลับกับเป็นเจ้าภาพ ถ้าปีไหนใครได้เป็นเจ้าภาพก็ขึ้นชื่อด้วยมหาวิทยาลัยนั้น เช่นปีนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพก็จะใช้ชื่อว่า “งานฟุตบอลประจำปี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์”

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *