อยากเรียน วารสารศาสตร์ / นิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน ต้องทำอย่างไร ?

อยากเรียน วารสารศาสตร์ / นิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน ต้องทำอย่างไร ?

คณะนิเทศศาสตร์ นับว่าเป็นคณะยอดฮิตของน้อง ๆ วัยมัธยมที่ใฝ่ฝันอยากทำงานเกี่ยวกับงานในวงการบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นงานเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง นอกจากนี้สาขานี้ยังครอบคลุมทั้งทางด้านการสื่อสาร การสร้างมัลติมิเดีย ซึ่งเป็นอาชีพที่สนุกและท้าทายมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ  ในเมื่อเป็นคณะที่น่าสนใจแบบนี้ พี่ ๆ เอดดูโซนเลยจะมาแนะนำคณะนิเทศ และสาขาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับนิเทศ คือ วารสารศาสตร์ / นิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน โดยทั้งสามสาขานี้ มีการเรียนการเรียนการสอนรูปแบบที่คล้ายกัน และจัดว่ามีเกณฑ์การรับเข้าแบบเดียวกัน น้องคนไหนที่สนใจ อย่ารอช้าค่ะ ไปดูวิธีการสอบเข้ากันเลย

 

วารสารศาสตร์ / นิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน ต้องสอบอะไร ใช้คะแนนอะไรบ้าง ?

  • 9 วิชาสามัญ โดยการการสอบคัดเลือกจะเลือกสอบ 3 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา
  • O-NET ตามระเบียบจะต้องสอบทั้ง 5 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา
  • GAT/PAT ซึ่งตามระเบียบจะต้องสอบ GAT, PAT1, PAT7

GAT คือการสอบวัดความถนัดทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

– ส่วนที่ 1 GAT เชื่อมโยง การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ เชื่อมโยง ภาษาไทย

– ส่วนที่ 2 GAT อังกฤษ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

PAT1 คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์

PAT7 คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย

PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส

PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน

PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น

PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน

PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ

PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

PAT 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

  • GPAX คือ เกรดเฉลี่ยสะสม ส่วนมากการสมัครคัดเลือกเข้าระดับอุดมศึกษาจะใช้เกรดเฉลี่ยสะสม 5-6 เทอม
  • Portfolio คือ แฟ้มสะสมผลงาน ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การแข่งขันทักษะต่าง ๆ ประวัติส่วนตัว การทำกิจกรรม จิตอาสา และผลงานที่เด่น ๆ ของน้อง ๆ

การสอบเข้ามีทั้งหมดกี่รอบ ?

          การสอบคัดเลือกเข้าคณะวารสารศาสตร์ / นิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน สำหรับในปีนี้ TCAS64 มีการสอบคัดเลือกทั้งหมด 4 รอบ คือ

รอบที่ 1 Portfolio ในการรับตรงรอบพอร์ตนี้ จะมีการพิจารณาจากเกรดของเรา และแฟ้มสะสมผลงานเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวเรามากที่สุด และในแฟ้มสะสมผลงานนั้นควรมีผลงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของน้อง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทักษะวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายนิเทศ เรียกได้ว่าเป็นจุดที่ทำให้คณะกรรมการเห็นถึงความสามารถของเรา เพราะฉะนั้นหากน้อง ๆ คนไหนที่รู้ตัวว่าอยากเรียนในคณะหรือสาขาใด ควรที่จะร่วมกิจกรรม หรือสร้างผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้นเยอะ ๆ นะคะ

รอบที่ 2 โควตา ในรอบนี้จะเป็นรอบที่เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนใกล้บ้าน และมีความสามารถพิเศษ ซึ่งรอบโควตาเป็นรอบที่ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติพิเศษของผู้สมัครคือเป็นบุคคลในพื้นที่หรือโรงเรียนในเครือข่าย โครงการของมหาวิทยาลัย หรือคุณสมบัติจากความสามารถพิเศษเช่น โควตานักกีฬา โควตาเรียนดี เป็นต้น ซึ่งรอบนี้จะใช้คะแนนที่แตกต่างกันไปตามเกณฑ์ของแต่ละมหาวอทยาลัย เช่น พื้นที่ + GAT/PAT , วิชาสามัญ + สัมภาษณ์ , GPAX + Portfolio + สัมภาษณ์

รอบที่ 3 Admission ในระบบ TCAS64 การสมัครในรอบนี้จะสมัครในรอบเดียวกันทั้ง Admission 1 และ Admission 2 ซึ่งทั้งสอบรอบจะรวมอยู่ในรอบแอดมิชชั่น และประกาศผล 2 ครั้ง ซึ่งน้อง ๆ สามารถเลือกอันดับได้ถึง 10 อันดับกันเลย

– Admission 1 เกณฑ์คะแนนการรับคัดเลือกโดยขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะใช้คะแนนจากทางส่วนกลาง สทศ. หรือ กสพท.  โดยน้อง ๆ ควรเตรียมคะแนน GAT/PAT (PAT1,PAT7), 9 วิชาสามัญ, O-NET, GPAX ในการสมัครรอบนี้ด้วยนะคะ (สิ่งสำคัญคือ น้อง ๆ จะต้องศึกษาให้ดีว่าสาขาที่สมัครนั้นใช้ PAT7 ภาษาใด จะได้เลือกสอบได้อย่างถูกต้องตรงสาขา)

– Admission 2 เกณฑ์คะแนนการรับคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดร่วมกัน ซึ่งส่วนนี้จะใช้คะแนน GPAX, O-NET หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง สทศ. และ กสพท. มาพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งขอให้น้อง ๆ ทำเกรดเฉลี่ยให้ดี และตั้งใจเรียนในห้องเรียนมาก ๆ นะคะ

รอบที่ 4 Direct Admission เป็นรอบรับตรงอิสระ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสิทธิ์รับเข้าศึกษา และยังไม่ยืนยันสิทธิ์ในรอบก่อนหน้า ซึ่งในรอบนี้เกณฑ์การคัดเลือกจะกำหนดโดยมหาวิทยาลัย และแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีการกำหนดที่แตกต่างกันไป น้อง ๆ ควรศึกษาเกณฑ์คะแนนและวิชาที่ใช้ประกอบการคัดเลือกอย่างละเอียด

 

การเตรียมตัวสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนสายนิเทศ

          สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนสายนิเทศ ต้องทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ? พี่ ๆ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่า

  • น้อง ๆ ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาที่ต้องสอบอย่างรอบคอบ
  • การแบ่งเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นควรจัดสรรเวลาให้ดี
  • ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ รุ่นพี่ หรือผู้ที่เรียนโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัว
  • ตั้งเป้าหมายคะแนนของเราให้ชัดเจน หมั่นทำโจทย์ และคำนวณคะแนนจริง
  • หาข้อสอบเก่า ๆ มาทำ จะช่วยให้เราได้รู้แนวข้อสอบ และสามารถเก็งข้อสอบได้
  • ศึกษาคะแนนที่ใช้ของแต่ละสนามสอบอย่างละเอียด ว่าใช้คะแนนเท่าไหร่ และเตรียมตัวดี ๆ
  • ตั้งใจเรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน หมั่นทบทวนและสรุปความรู้ที่เรียนอย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • ฝึกทักษะการสื่อสารของตนเองให้มีประสิทธิภาพ
  • ฝึกการมีความคิดสร้างสรรค์
  • เรียนรู้โปรแกรมพื้นฐานคอมพิวเตอร์และฝึกใช้อย่างสม่ำเสมอ
  • กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง
  • อ่านข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ ให้มาก เท่าทันโลกปัจจุบัน
  • ฝึกฝนการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ

 

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่ต้องใช้คะแนนสูงมากทีเดียวเลยใช่ไหมคะน้อง เพราะฉะนั้นเราควรเตรียมตัวให้พร้อมกับการสอบ และเชื่อมั่นในตัวเองว่า “เราทำได้” ซึ่งในช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนอาจจะเครียด พี่ เอดดูโซนขอเป็นกำลังใจให้น้อง ทุกคนประสบความสำเร็จในการสอบและได้เข้าคณะที่ใฝ่ฝันนะคะ หวังว่าในวันนี้น้อง จะได้ความรู้และนำคำแนะนำไปใช้ในการเตรียมตัวสอบน้า

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดข่าวสารดี เกี่ยวกับการศึกษา กดติดตาม Eduzones ไว้เลย รับรองว่าน้อง จะได้รู้ข่าวสารก่อนใครแน่นอนค่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *