รีวิวการเรียน “คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษ์”

สวัสดีน้อง ๆ ที่มีความสนใจในการอ่านหนังสือหรือรอบจัดหมวดหมู่หนังสือต้องห้ามพลาด วันนี้พี่จะพาน้อง ๆ ไปดูว่าสาขาวิชาบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง ต้องขอบอกเลยว่าเรียนบรรณารักษ์ไม่ได้ชิว ๆ อย่างที่ใคร ๆ คิดเลยนะ

สาขาวิชาบรรณารักษ์ เรียนอะไรบ้าง ?

สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์เรียนเพื่อเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ เนื้อหาที่เรียนเกี่ยวข้องกับแหล่งบริการสารสนเทศต่าง ๆ โดยแหล่งหลักๆที่รวบรวมสารสนเทศไว้มาก ๆ ได้แก่ห้องสมุดนั่นเอง วิชาเอกก็จะประกอบด้วยหลากหลายวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล อาทิ สารสนเทศกับสังคม แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เครือข่ายห้องสมุดกับการเรียนรู้ การจัดเก็บการค้นคืนสารสนเทศ การจัดการฐานข้อมูล การวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้บางมหาลัยอาจแยกเอกวิชาเลือกเพิ่มเติม เช่นสำนักงานอัตโนมัติ  การเขียนเพื่อการสื่อสาร สารสนเทศสิ่งแวดล้อม การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การจัดการเว็บเพจ การจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง สิ่งพิมพ์ชุมชน ฯลฯ

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • Public service librarians บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน เป็นบรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ เป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วไปในห้องสมุด
  • Reference or research librarians บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรมให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจ เรียกได้ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล
  • Technical service librarians บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิคอย่างเดียว เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย
  • Collections development librarians บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหา มีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด
  • Archivists เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่ เป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก
  • Systems Librarians บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุด ทั้งฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด เป็นบรรณารักษ์ด้านไอที
  • Electronic Resources Librarians บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับ Systems Librarians แต่จะดูแลเฉพาะเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรมด้านไอที สรุปคือ เป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล
  • School Librarians, Teacher บรรณารักษ์ด้านการศึกษา ซึ่งแบ่งแยกออกมาได้อีกเป็น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ สรุปว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ

 

คณะ/สาขา แต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

 

ใช้คะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้า

ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์กำหนด ว่าจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนไหนเท่าไหร่บ้าง แต่หลัก ๆ แล้วการสอบเข้าก็จะใช้คะแนนตามนี้เลย

  • O-NET
  • GAT
  • PAT 1
  • PAT 7
  • วิชาสามัญที่ต้องสอบ : ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ / สังคม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Dek-d.com และ Admission Premium

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *