จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว ‘ChulaGENIE’ ร่วมกับ Google Cloud

ChulaGENIE  เป็นแอปพลิเคชั่นที่สามารถแปลงได้หลายภาษา รองรับข้อมูลได้หลายภาษา และรองรับข้อมูลหลายประเภท ทั้งบนแพลตฟอร์ม  Vertex AI ของ Google Cloud และได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะเพื่อรองรับการวิจัย การเรียนรู้ ของประชาคมที่หลากหลายของจุฬา เป็นเครื่องมือ AI ที่มีความรับผิดชอบสามารถมอบประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ Generative AI ที่ปลอดภัยเป็นส่วนตัว น่าเชื่อถือให้กับบุคลากร คณาจารย์ และนิสิตกว่า 50,000 คน

จุฬาเลยเปิดโอกาสให้คณาจารย์นิสิต บุคลากรสามารถเข้าถึงคอร์สได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีแผนพัฒนาร่วมกับ Google Cloud  เพื่อสร้างโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 28 พฤศจิกายน 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ร่วมกับ Google Cloud เปิดตัวโครงการ ChulaGENIE’  

เพื่อบุกเบิกการพัฒนาหรือส่งมอบแอปพลิเคชั่นที่นำเอาเทคโนโลยี Generative AI ที่ล้ำสมัยมาให้ประชาคมจุฬาฯ ที่สามารถใช้งานต่อได้อย่างปลอดภัย เชื่อถือได้และไม่มีค่าใช้จ่าย โดยคาดว่าจะเปิดให้คณาจารย์และบุคลากรใช้งานได้ในเดือน มกราคม 2568 พร้อมกับเปิดให้บริการแก่นิสิตได้ภายในเดือนมีนาคม 2568 โดยเปิดตัวในชื่อ ChulaGENIE โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอรรณพ ศิริติกุล Country Director, Google Cloud ประเทศไทย รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการแถลงข่าวและภายในงานมีการสาธิตแอปพลิเคชั่น AI ที่ล่าสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นการผสานรวมกับ Model Garden เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานามารถค้นหาและเลือกใช้โมเดลพื้นฐานที่ได้รับการคัดสรรอย่างดี ซึ่งแต่ละโมเดลนั้นมีจุดเด่นและความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไปในระยะแรก และอนาคตอันใกล้จะมีตัวเลือก ในการใช้โมเดล Claude จาก Anthropic สามารถใช้ความสามารถในการรองรับหลายภาษา ของโมเดล Gemini เพื่ออธิบายหัวข้อทีซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายและรวมไปถึงการใช้เนื้อหาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ด้วยความรวดเร็วแม่นยำแะสามารถรองรับข้อมูลหลายประเภท 

 ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า

“เพื่อที่เราจะบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำด้าน AI ของประเทศไทยก็ต้องเร่งรัดการพัฒนา AI เพื่อความรับผิดชอบ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยในระยะยาว ซึ่งรวมเอาความสามารถที่เราต้องการไม่ส่าจะเป็นมาตรการด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวรวมถึงความยืดดหยุ่นในการเลือกโมเดลผ่าน Model Garden  และความสามารถในการปรับแต่งโมเดลพื้นฐานที่ทรงพลังเป็นอย่างมากเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ การตอบสนองได้แม่นยำด้วยความสามารถเหล่านี้ทำให้ จุฬาฯ สามารถพัฒนา ChulaGENIE ได้ภายในเวลาไม่ถึงสามเดือน ตอบสนองความต้องการของประชาคมในวงกว้าง เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม AI ด้านการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศให้ใช้งานได้จริง”

เสริมศักยภาพให้ประชาคมจุฬาฯ ด้วย AI ที่ปรับแต่งได้และมีความรับผิดชอบ 

เพราะในอนาคตจุฬาฯ มีแผนจะขยายความร่วมมือกับ Google Cloud  เพื่อพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดที่ใหญ่ขึ้น แบบโอเพ่นซอร์สที่เน้นฉพาะด้านสำหรับระดับการศึกษาอุดมศึกษา โมเดลนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับให้เหมาะสมกับความเร็วและรูปแบบการเรียนรู้ของนิสิต โดยให้แบบฝึกหัดคำอธิบายข้อเสนอแนะที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการ เพื่อค้นหาช่องว่างหรือจุดที่ควรปรับปรุง พร้อมเสอแนวทางแก้ไขโดยอ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดและแนวโน้มด้านการศึกษาในปัจจุบันอีกด้วย

เสริมทักษะ AI ที่จำเป็นให้กับประชาคมจุฬาฯ 

จุฬาฯ อบรมคอร์ส  Google AI Essentials ให้กับบุคลากร คณาจารย์ นักศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้สำเร็จหลักสูตรแล้วกว่า 800 กว่าคน และยังได้รับใบรับรองจาก  Google  เพื่อยืนยันความเชี่ยวชาญ มุ่งเน้นไปที่ให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการใช้งาน AI เทคนิคการเขียนคำสั่งและการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ แต่ทั้งนี้ จุฬาฯ กำลังปรับหลักสูตร  Google AI Essentials ให้เรียบง่ายขึ้นสำหรับผู้เรียนี่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักเพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ ทุกคนสามารถเรียนรู้ การทำงานแก้ไขปัญหาในโลกความเป็นจริงและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในสาขาตนเอง

นายอรรณพ ศิริติกุล Country Director, Google Cloud ประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า “ ที่ Google Cloud พวกเรานั้นเชื่อมั่นว่าประโยชน์ของ AI มันขึ้นอยู่กับความแม่นยำและการนำไปใช้อย่างรับผิดชอบ Vertex AI ของเราช่วยให้องค์กรต่าง ๆ อย่าง จุฬาฯ สามารถนำ AI ที่มีความรับผิดชอบไปใช้ได้จริงผ่านฟีเจอร์ ตัวอย่างเช่น Grounding  บริการประเมินโมเดล เครื่องมือที่เขาออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์มาตรฐานที่เข้มงวดในด้านการกำกับดูแล ประกอบกับการพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สำหรับการศึกษา จะช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านการวิจัยและวิชาการซึ่งในท้ายที่สุดจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยเรา”

สรุปเกี่ยวกับ Google Cloud 

เป็นวิธีใหม่ในระบบคลาวด์ที่ให้บริการ AI โครงสร้งพื้นฐาน พัฒนาข้อมูลความปลอดภัยและเครื่องมือในการทำงานร่วมกันสำหรับวันนี้และในอนาคต Google Cloud ที่ทรงพลังบูรณาการอย่างสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสม และพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก แอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

 

“ขอขอบคุณข้อมูลจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เผยแพร่ข้อมูลที่มีประโยชน์”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *