คุรุสภาชวนส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 : ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567

คุรุสภาชวนส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 : ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567
คุรุสภาชวนส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 : ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567

คุรุสภาชวนส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 : ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567

.

คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567

ผศ.ดร.อมลวรรณ  วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญชวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และนิสิต นักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ประจำปีการศึกษา 2566 ส่งผลงานวิจัยเข้ารับการคัดสรรรางวัล “ผลงานวิจัยของคุรุสภา” ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ใช้กระบวนการวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและเป้าหมายการพัฒนา เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้าง การใช้ และการเผยแพร่ผลงานวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีคุณภาพสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และการพัฒนาวิชาชีพที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืน และเพื่อยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณค่าทางวิชาการเป็นแบบอย่างของการประยุกต์หรือต่อยอดเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานวิจัย มี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย

1) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือเอกสารอื่นที่คุรุสภาออกให้ และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน หรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานทางการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และศึกษาธิการภาค

และ 2) นิสิต นักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ประจำปีการศึกษา 2566 ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

ลักษณะของผลงานวิจัยที่ส่งเข้ารับการคัดสรร มีดังนี้

1) เป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปแก้ปัญหาการปฏิบัติงานหรือสร้างสรรค์วิชาชีพทางการศึกษา

2) เป็นผลงานวิจัยที่ทำแล้วเสร็จในระหว่าง พ.ศ. 2564 – 2567

3) ไม่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือรายงานใดๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการขอรับปริญญาหรือการผ่านหลักสูตรการอบรมใดๆ

4) ไม่เป็นผลงานวิจัยที่เคยได้รับรางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภามาก่อน เว้นแต่เป็นผลงานวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ โดยได้มีการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้จากผลงานวิจัยเดิม

5) ไม่เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนจากคุรุสภา หรือหน่วยงานอื่น

6) ไม่เป็นผลงานวิจัยที่คัดลอกมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่นหรือตนเอง หรือคัดลอกแนวคิด ทฤษฎีของผู้อื่น หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นที่ปราศจากการอ้างอิง ทั้งนี้ ผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการคัดสรรจะถูกนำไปตรวจสอบการคัดลอกด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยกำหนดเกณฑ์สัดส่วนการคัดลอกในบทที่ 1 – 5 ไม่เกินร้อยละ 20 หากมีการร้องเรียนและสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาตรวจสอบพบว่าเป็นผลงานวิจัยที่คัดลอกมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะตัดสิทธิ์การส่งผลงานเข้ารับการคัดสรร และการรับรางวัลใดๆ หรือเรียกคืนรางวัลในกรณีที่ได้รับรางวัลไปแล้ว

และ 7) กรณีงานวิจัยที่ทำเป็นคณะหรือมีผู้ร่วมวิจัย ผู้ส่งผลงานวิจัยต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่คุรุสภากำหนด และต้องเป็นผู้วิจัยหลักและมีสัดส่วนการทำวิจัยไม่น้อยกว่า 60% โดยต้องระบุสัดส่วนร้อยละและหัวข้อ หรือหน้าที่ของการทำวิจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณสัดส่วน การทำวิจัยของผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัยทุกคนอย่างชัดเจน (รวมกันไม่เกิน 100%)

ประเภทรางวัลผลงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่

1) รางวัลผลงานวิจัยระดับภูมิภาค แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ดีเด่น ดี และชมเชย โดยผลงานวิจัยระดับดีเด่นและระดับดี จะต้องนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) ผ่านระบบ Teleconference Applications เพื่อรับการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดสรรผลงานวิจัยให้เป็น “ผลงานระดับประเทศ” ต่อไป

และ 2) รางวัลผลงานวิจัยระดับประเทศ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ดีเด่น ดี และชมเชย การตัดสินของคณะกรรมการไม่จำกัดจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่คุรุสภากำหนด

เกณฑ์การประเมินคุณภาพ “ผลงานวิจัยระดับภูมิภาค” จะพิจารณาจากองค์ประกอบคุณภาพผลงานวิจัย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่

1) ด้านปัญหา/วัตถุประสงค์วิจัย

2) ด้านระเบียบวิธีวิจัย

3) คุณค่าและประโยชน์ของงานวิจัย

และ 4) คุณภาพของรายงานวิจัย โดยแต่ละด้านจะต้องผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ 60% ขึ้นไป

ส่วน “ผลงานวิจัยระดับประเทศ” จะพิจารณาจากคะแนนที่ได้จากการประเมิน 2 ส่วน ได้แก่

1) จากการประเมินเล่มผลงานวิจัย จำนวน 70%

และ 2) จากการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) จำนวน 30% โดยพิจารณาจากองค์ประกอบคุณภาพการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่
1) การนำเสนอผลงานวิจัย 2) เนื้อหาสาระในการนำเสนอผลงานวิจัย 3) สื่อและการใช้สื่อประกอบการนำเสนอผลงานวิจัย  และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดต้องส่งผลงานทั้งทางออนไลน์เท่านั้น โดยลงทะเบียนส่งผลงานในระบบ KSP Self – service ผ่านทาง https://selfservice.ksp.or.th/ ที่เมนู ขอรับรางวัลผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ และต้องส่งไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF สามารถส่งผลงานวิจัยได้ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถตรวจสอบรายชื่อผลงานที่ส่งเข้าร่วมคัดสรรได้ ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2567 และประกาศผลการคัดสรรผลงานวิจัย “ระดับภูมิภาค” ภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 และประกาศผลการคัดสรรผลงานวิจัย “ระดับประเทศ” ภายในวันที่ 27 กันยายน 2567 ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

ดูรายละเอียดประกาศการคัดสรรผลงานฯ ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทรศัพท์ 0 2280 6366 หรือผ่านทางไลน์แอดที่ @828rufyq

.

ขอขอบคณแหล่งที่มา : คลิก

.

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน และ ข้อความ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *