สรุปความคิดเห็น OT ควรมีหรือไม่…สำหรับอาชีพครู

จัดอันดับ! ความคิดเห็น OT ควรมีหรือไม่…สำหรับอาชีพครู จากชุมชนชาว Eduzones  

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ชุมชน Eduzones ของเรา ได้รวบรวมผลสำรวจความคิดเห็นจากประเด็น OT ควรมีหรือไม่…สำหรับอาชีพครู จากโพล์ลการสำรวจความคิดเห็นด้านล่างนี้

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0L2setcq6g7LBRXymMUkYDYvjY8BURAreRm9yj9k77Ro4fCkaqsCXqBQdgX9mpE9Gl&id=100064329206301&sfnsn=mo&mibextid=VhDh1V

โดยที่เราได้รวบรวมผลจากการแสดงความคิดเห็นและได้จัดอันดับหมวดหมู่ออกเป็น 4 อันดับ ดังนี้

อันดับที่ 1 จำเป็น ควรมีค่าแรงงานล่วงเวลาสำหรับครู

อาชีพครูต้องคอยทำงานล่วงเวลา เลิกดึก ถูกเกณฑ์ไปช่วยในวันหยุด จนแทบกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย ทั้งที่ครูไม่ได้มีหน้าที่เหล่านี้ ซึ่งนี่เป็นผลจากการขาดความตระหนักรู้ด้านสิทธิและสวัสดิภาพในการทำงาน ขาดความเข้าใจเรื่องสิทธิและสวัสดิภาพ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดการดูแลเรื่องสภาพจิตใจในการทำงานของครู การนับชั่วโมงการทำงานของครูที่นับเฉพาะชั่วโมงสอน แต่ไม่รวมชั่วโมงการเตรียมงาน ตรวจการบ้าน ประชุมกับครูแผนกอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยผลจากการสำรวจของชาวชุมชม Eduzones ได้แสดงความคิดเห็นอยากให้เพิ่มค่าแรงงานล่วงเวลาสำหรับครูมากที่สุดดังนี้

ให้ตามชั่วโมงการสอนและเวลาราชการ

เมื่อเงินเดือนที่ครูได้ไม่สอดรับกับหน้าที่ ครูต้องคอยงานทำสารพัด โดยเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อ้างอิงจากฐานเงินเดือนของครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 พบข้อมูลดังนี้

  • ระดับครูผู้ช่วย จะมีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 15,040 – 24,750 บาท
  • ครูระดับ คศ. 1 หรือตำแหน่งที่ผ่านครูผู้ช่วยมาแล้ว 2 ปี เงินเดือนจะอยู่ที่ 15,440-34,310 บาท
  • ครูระดับ คศ.2 (วิทยฐานะ ครูชำนาญการ) เงินเดือนอยู่ที่ 16,190- 41,620 บาท
  • ครูระดับ คศ.3 (วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ) เงินเดือนอยู่ที่ 19,860 – 58,390 บาท
  • ครูระดับ คศ.4 (วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ) เงินเดือนอยู่ที่ 24,400 -69,040 บาท
  • ครูระดับ คศ.5 (วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ) เงินเดือนอยู่ที่ 29,980 -76,800 บาท

โดยในแต่ละเทอมแล้วจะมีการประเมินครูเพื่อขยับฐานเงินเดือน โดยคิดในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ แบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ซึ่งประเมินตามการพัฒนาของนักเรียน และการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพ หรือหากใครต้องการให้เงินเดือนขยับสูงขึ้นเร็วกว่าระบบปกติ ก็ต้องคอยทำวิทยฐานะเพื่อเลื่อนขั้นของเงินเดือน

ให้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเรื่องการเบิกเงิน

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน กระทรวงการคลังด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี วางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

“ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร  

“เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินทีจ่ายให้แก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดย ลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้ง สำนักงาน หรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ ต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน หรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัด หรือกะ และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน

การเบิกเงินตอบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้

๑ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ ไม่เกินวันละสี่ชั่วโมงในอัตราชั่วโมงละห้าสิบบาท

๒ การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ไม่เกิน วันละเจ็ดชั่วโมงในอัตราชั่วโมงละหกสิบบาท

๓ กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติ โดยมีกำหนดระยะเวลา แน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละเจ็ดชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละหกสิบบาท

๔ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลา ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น

๕ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการ สำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้วให้เบิกได้ทางเดียว

ไม่ใช้แรงงานของครูมากเกินไป

ข้าราชการครู นอกจากความรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว แต่นั้นไม่ใช่งานทั้งหมดที่ครูต้องแบกรับ การจัดการเรียนการสอนเป็นงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและวิทยฐานะที่สูงขึ้น ครูยังต้องรับผิดชอบการประเมิน ทั้งในระดับโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศภาระงานครู นอกจากการประเมินแล้ว ยังมีงานประจำที่ต้องปฏิบัติอีกมากมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น รายงานต่าง ๆ ในรอบปี ยังมีงานอื่นที่เกี่ยวข้ององค์กรภายนอกมากมาย นั่นจึงควรลดภาระงานครูที่ไม่จำเป็น ภาระงานที่ซ้ำซ้อน ภาระงานที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ งานทุกอย่างที่ครูทำไม่ใช่เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเดียว แต่กลายเป็นการแบกรับภาระทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อประโยชน์ของทุกคน อย่าปล่อยให้ผู้บริหารทำนาบนหลังครูอีกต่อไป เพราะนั่นหมายถึงการแย่งเวลาที่ครูควรจะอยู่ดูแลนักเรียน

อันดับที่ 2 ไม่จำเป็น แต่ควรเปลี่ยนระบบการทำงานที่เอื้อต่อตัวครู

อาชีพครูหนึ่งในอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน เพราะอยากจะสอนหนังสือให้กับนักเรียน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยคือครูไม่ได้ทำหน้าที่แค่สอนหนังสือเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องคอยจัดการภาระงานอื่น ๆ เช่น งานเอกสาร ทำแบบประเมิน เข้าเวร ทำธุรการ จัดกิจกรรม หรือบางทีอาจไม่ได้สอนแค่วิชาเดียว สารพัดงานที่ไม่ใช่งานสอน จนครูไม่มีเวลาเตรียมการสอน และไม่มีโอกาสได้พัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียน ซึ่งก็มีความคิดเห็นจากชุมชนชาว Eduzones บางส่วน ที่เห็นเห็นควรปรับในส่วนของระบบการทำงานที่เอื้อต่อตัวครูมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้

ลดการอยู่เวร และ รายงานแบบ Online

ในทุกโรงเรียนยังคงมีการจัดให้ครูอยู่เวรประจำวัน ทั้งในช่วงเวลากลางวัน และ กลางคืน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่มีครูเป็นจำนวนมากอาจไม่กระทบกับงานมากนัก เพราะมีครูที่พร้อมหมุนเวียนใน 1 เทอม ครู 1 คนอาจได้เข้าเวรเพียงแค่ครั้งเดียว แต่สำหรับโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก การมีครูอยู่ประจำ 1 คนทั้งในตอนกลางวันและกลางคืนทำให้เกิดเป็นภาระของครู เพราะต้องเข้าเวรอยู่คนเดียวในเวลากลางคืนบ่อยกว่า เนื่องจากมีคู่หมุนเวียนเข้าเวร รวมทั้ง ไม่มี รปภ. และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย อย่างเช่น กล้องวงจรปิดที่ครบครันอย่างที่โรงเรียนขนาดใหญ่ และการเข้าเวรของครูยังถือเป็นหน้าที่ หลายโรงเรียนยังไม่มีเงินค่าทำงานล่วงเวลาให้ นี่จึงถือเป็นงานที่กินเวลาชีวิตและสร้างความเสี่ยงต่อความปลอดภัยให้กับอาชีพครูเป็นอย่างมาก

ลดการให้งานเอกสารท่วมตัวครู

งานเอกสารและครูถือเป็นของคู่กัน งานเอกสารที่ซับซ้อนด้วยข้อมูลมหาศาล อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนขึ้นตามวันเดือนปีที่ผ่านไป ถือเป็นภาระหน้าที่ที่เข้ามาเบียดบังเวลาของครูจากการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน หรือจากความใกล้ชิดเอาใจใส่เด็ก ๆ ให้ทั่วถึง ครูจงควรได้รับความช่วยเหลือจากนวัตกรรมที่ทันสมัย เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโรงเรียนและพื้นที่ห่างไกลได้ไม่สิ้นสุด เป้าหมายสำคัญที่สุดคือต้องการให้ครูมีเวลาเหลือมากขึ้น และผู้กำหนดนโยบายการศึกษาจะต้องรู้ว่าจะช่วยสนับสนุนครูอย่างไรให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

เพิ่มอัตราครู ให้เพียงพอต่อปริมาณการสอน

ปัจจุบันครูส่วนใหญ่มักสอนไม่ต่ำกว่า 1 รายวิชา ในบางโรงเรียนมีขนาดที่มีขนาดเล็กมากอาจต้องสอนถึง 5-6 รายวิชา ซึ่งในทุกโรงเรียนยังต้องมีการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร ทั้งชุมนุม จิตอาสา ลูกเสือ-เนตรนารี และ อื่น ๆ ครูแต่ละคนจึงอาจต้องสอนถึง 8-9 รายวิชา สำหรับชั่วโมงการสอนในแต่ละสัปดาห์นั้น โรงเรียนที่มีอัตราครูมากกว่าเกณฑ์ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะอัตราครูยังคงตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนอย่างหนัก แม้แต่ในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามในการสอนแต่ละครั้ง ยังคงต้องคอยเตรียมสอน เนื้อหางาน และเตรียมสื่อ-อุปกรณ์ต่าง ๆ หลังการสอน และยังต้องคอยประเมินผลการเรียน อาจตรวจจากชิ้นงาน สมุด แบบทดสอบ แบบฝึกหัด ใบงาน และการบ้าน ที่นักเรียนปฏิบัติกัน ฉะนั้น การจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การสอนในชั้น 1 ชั่วโมง ครูจะต้องมีเวลาเตรียมตัว 1 ชั่วโมง และตรวจงานอีก 1 ชั่วโมง หากเวลากับภาระงานสอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะสามารถจัดการปัญหาทางการศึกษาเพื่อไม่ให้ลุกลามต่อไปได้

อันดับที่ 3 ไม่จำเป็น แต่ควรเพิ่มสวัสดิการด้านอื่น ๆ

เรื่องสวัสดิการและรายได้อาชีพครูยังคงเป็นปัญหามาโดยตลอด ในขณะที่สังคมปัจจุบันยังมีความคาดหวังกับอาชีพครูอย่างมาก ซึ่งสวนทางกับรายได้และชั่วโมงการทำงานของครู ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมามีครูเกษียณอายุราชการ กว่า 20,000 อัตรา และปัญหาคือบางโรงเรียนบรรจุเป็นข้าราชการไม่ได้ เป็นเพียงครูอัตราจ้างซึ่งมีรายได้น้อย และสวัสดิการที่ไม่เพียงพอ ในส่วนของครูเอกชนก็มีรายได้ที่น้อยกว่าโรงเรียนรัฐ เรื่องของสวัสดิการและรายได้ของอาชีพครูจึงเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนครูในอนาคต ความคิดเห็นของกลุ่มชุมชน Eduzones จึงอยากให้เร่งแก้ไขปัญหาการจัดการสวัสดิการ และเงินเดือนของครู เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับบุคคลากรของชาติ รวมถึงการจัดระบบการศึกษาให้มีอัตราส่วนครูกับนักเรียนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการสอน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด

ใช้ KPI วัดประสิทธิผล

KPI หรือ Key Performance Indicator หมายถึง ดัชนีที่ใช้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยเทียบผลกับการปฏิบัติงานมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ นอกจากจะเป็นวิธีการประเมินผลงานของตัวครูเองแล้ว ยังเป็นวิธีที่โรงเรียนจะสามารถใช้ในการวัดและประเมินผลความก้าวหน้าของการบรรลุวิสัยทัศน์ของ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ด้วยเช่นกัน การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนด คุณภาพด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงควรจัดทำเกณฑ์กรประเมินคุณภาพโรงเรียนหรือตัวชี้วัด (KPIs) ขึ้น เพื่อวัดระดับคุณภาพของโรงเรียนและใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาตามแนวทางการยกระดับคุณภาพโรงเรียนต่อไป

การจัดระดับคุณภาพโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียน แต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สัดส่วนผลคะแนน คือ ด้านผู้เรียน 70% (แบ่งเป็นผลทดสอบ ระดับชาติ O-NET ในสัดส่วน 60% และผลคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในสัดส่วน 10%) และ ผลคะแนนของเกณฑ์การประเมินคุณภาพโรงเรียนหรือตัวชี้วัด (KPIs) อีก 4 ด้าน ในสัดส่วน 30% จากนั้น จึงทำการประมวลผลรวม แล้วจัดระดับคุณภาพโรงเรียนในภาพรวม

เพิ่มจำนวนเงินประจำปี

อาชีพครูนั้นมีหลากหลายตำแหน่งแตกต่างกัน ตั้งแต่ครูอัตราจ้าง ครูผู้ช่วย ไปจนถึงครู คศ.5 พร้อมวิทยาฐานะระดับสูง ทำให้ระดับเงินเดือนของครูแต่ละคนแตกต่างกันไปด้วย จะเห็นว่า เงินเดือนของครูถูกแบ่งออกไปหลากหลายระดับ คำว่าน้อยหรือมาก อาจกลายเป็นเรื่องปัจเจกของครูแต่ละคนไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น การปฏิรูปคุณภาพการศึกษาไทยที่ผ่านมา จึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มค่าตอบแทนของครูโดยมีการออก พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครู เพื่อแยกผลตอบแทนของข้าราชการครูออกจากข้าราชการพลเรือน ทำให้ระดับเงินเดือนและเงินวิทยฐานะของครูถูกปรับเพิ่มขึ้น จนในปัจจุบันไม่ได้น้อยกว่ารายได้ต่อเดือนเฉลี่ยของอาชีพอื่นอีกต่อไป

ให้ค่า Before Time ก่อนเริ่มงาน

Before Time หรือ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและวิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

การเบิกเงินตอบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้

  • การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ ไม่เกินวันละสี่ชั่วโมงในอัตราชั่วโมงละห้าสิบบาท
  • การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนได้ไม่เกิน วันละเจ็ดชั่วโมงในอัตราชั่วโมงละหกสิบบาท
  • กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติ โดยมีกำหนดระยะเวลา แน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละเจ็ดชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละหกสิบบาท
  • การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลา ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น
  • การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการ สำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้วให้เบิกได้ทางเดียว

อันดับที่ 4 ไม่จำเป็น ไม่ควรมีค่าแรงงานล่วงเวลาสำหรับครู  

ภาระงานตามปกติของครู ต้องมาถึงโรงเรียนก่อนแปดโมงเพื่อมาคุมแถว หลังจากนั้นก็ค่อยสอน ถ้าเป็นวันปกติสามโมงหรือสี่โมงเย็นก็เลิกงาน เมื่อว่างจากนั้น ครูยังต้องมีภาระหน้าที่เตรียมสื่อการสอน หรือศึกษาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเปิดสอนวิชาใหม่ตามนโยบายของภาครัฐ เช่น วิชาอาเซียน วิชาหน้าที่พลเมือง และอื่น ๆ ความคิดเห็นของชาว Eduzones บางส่วนจึงยังมองว่าทั้งหมดนี้ยังคงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องเสียสละ โดยแบ่งออกได้ดังนี้

ตรงต่อเวลาการสอน

การอยู่เต็มเวลา คือ การรับผิดชอบ ทุ่มเทเพื่อการสอน ครูที่มีอุดมการณ์ จะต้องใช้ชีวิตครูอย่างเต็มเวลาทั้ง 3 ส่วน คือ

  • งานสอน ครูต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ วางแผนการสอนค้นคว้าหาวิธีการที่จะสอนศิษย์ในรูปแบบต่าง ๆ และในขณะที่ดำเนินการสอนต้องสอนให้ครบตามเวลาที่กำหนด เข้าสอนตรงเวลา เลิกสอนให้ตรงเวลา
  • งานครู นอกเหนือไปจากการสอน ครูต้องให้เวลาแก่งานด้านต่าง ๆ เช่น งานธุระการ งานบริหาร บริการและงานที่จะทำให้สถาบันก้าวหน้า
  • งานนักศึกษา ให้เวลา ให้การอบรม แนะนำสั่งสอนศิษย์ เมื่อศิษย์ต้องการคำแนะนำ หรือต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าในเวลาทำงานหรือนอกเวลาทำงาน ครูควรมีเวลาให้ศิษย์

เป็นครูต้องเสียสละ

ประเด็นเรื่องค่าตอบแทนของครู ยังคงวนเวียน และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่เสมอ ทั้งยังเกี่ยวโยงไปถึงคำกล่าวที่เราได้ยินกันมานานว่า ‘อาชีพครู ต้องเสียสละ’ ซึ่งมาพร้อมกับความเชื่อว่า คนเป็นครูต้องทำงานด้วยใจ แม้จะได้ค่าตอบแทนไม่สูงเทียบเท่ากับอาชีพอื่น บางคนได้บอกว่า ครูมาพูดเรื่องเงินเดือน งั้นก็เพิ่มเงินเดือนครูสิ แต่บางคนก็บอกว่า คุณเป็นครูจริง ๆ หรือเปล่า มีจิตวิญญาณความเป็นครูไหม ครูต้องเสียสละสิ จึงกลายเป็นมายาคติที่เกี่ยวกับครูที่ถูกกดทับลงไป

ควรให้กับบุคลากรทางการศึกษามากกว่า

การกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ จะเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ และปฏิบัติหน้าที่ด้านพัสดุได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งเป็นการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในส่วนราชการ จึงได้กำหนดตำแหน่งและมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่น จึงเห็นควรกำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการรวบรวมความคิดเห็นจากชุมชมชาว Eduzones เกี่ยวกับประเด็นสำรวจ OT ควรมีหรือไม่ สำหรับอาชีพครู เพียงเท่านั้น สำหรับใครที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร สามารถนำมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันได้ภายใต้คอมเม้นต์โพสต์นี้ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ และพัฒนาต่อสายวิชาชีพครูต่อไปได้ในอนาคต.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *