สรุป เรื่อง ทปอ. ทำข้อมูลรั่ว? กว่า 23,000 รายการ

เรียกได้ว่ามีประเด็นร้อนแรงให้ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องสำหรับ TCAS และประเด็นล่าสุดกรณีที่มีข้อมูลรั่วไหลจากระบบ TCAS ที่นับว่าเป็นประเด็นใหญ่สร้างความแตกตื่นให้แก่น้อง ๆ มัธยมเป็นอย่างมาก eduzones จะมาไล่เรียงเหตุการณ์ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างไร และทางทปอ. มีการจัดการอย่างไรบ้าง
.
1.วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 มีการประกาศขายข้อมูลที่หลุดจากเว็บไซต์ mytcas.com กว่า 23,000 รายการ ข้อมูลสำคัญของเด็กไทยที่รั่วไหลประกอบไปด้วย
– ชื่อ นามสกุล
– เลขบัตรประชาชน
– เบอร์โทรศัพท์
– วันเกิด
– เพศ
– ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างรหัสมหาวิทยาลัย รหัสคณะที่เลือก สถานะในระบบสอบ ผลคะแนนสอบ
.
2.เวลา 22.55 น.ในวันเดียวกัน เฟสบุ๊กแฟนเพจ “นายอาร์ม” โพสต์รูปประกาศขายที่พบพร้อมแคปชั่น “เหมือนข้อมูลบัตร ปชช รายละเอียดการสอบของเด็กๆใน mytcas จะหลุดนะ”
.
3.ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ด้านทปอ. ได้ออกประกาศตอบโต้ว่าได้ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดจากไฟล์ตัวอย่างแล้วพบว่า
– เป็นข้อมูลของ TCAS64 ในรอบที่ 3
– ข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดลำดับคะแนนผู้สมัคร
– ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดของผู้สมัคร
– มีเพียงจำนวน 23,000 รายการจากจำนวนจริงทั้งหมด 826,250 รายการ
– สาเหตุคาดว่าแฮกเกอร์อาศัยช่องโหว่งในตอนที่เจ้าหน้าที่นำข้อมูลไปประมวลผลการคัดเลือกในช่วงพฤษภาคม 2564 เป็นช่วงที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษากำลังนำข้อมูลคะแนนไปลำดับผู้สมัครตามเกณฑ์คัดเลือกของแต่ละสาขาวิชา
– มีการปิดระบบ TCAS64 ไปแล้วตั้งแต่ในเดือนธันวา 2564
.
4.ทปอ.ยังประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบของ TCAS65 ได้ถูกปรับซึ่งมีความรัดกุมในการเข้าถึง
– ผู้ใช้งานระบบจำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจากระบบ
– เข้าถึงได้เพียงระยะเวลาจำกัด
– มีการบันทึกการใช้งานอย่างละเอียด
– ยืนยันว่าระบบ TCAS ยังคงเป็นระบบที่มีความปลอดภัย และเชื่อถือได้
.
5.ทปอ. มีการเตรียมการรวบรวมหลักฐานเพื่อเตรียมการฟ้องร้องต่อไป
.
6.แฮกเกอร์เป็นเจ้าเดียวกับที่เคยนำข้อมูลของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ผู้นำข้อมูลมาประกาศขาย และแจกเลขบัตรประชาชนไทยจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายนเมื่อปีที่ผ่านมา
.
7.อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในครั้งนีก่อให้เกิดประเด็นก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่องใน #แบนทปอ จนติดเทรนด์ประเทศไทยบนเว็บไซต์ทวิตเตอร์
– จากเหตุการณ์ความผิดพลาดในครั้งนี้สร้างความเครียดให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะเด็กมัธยม และก่อให้เกิดอคติต่อทปอ.ที่เพิ่มขึ้นจากประเด็นถกเถียงกันในครั้งก่อน ๆ เป็นอย่างมาก
#DEK64 หลายคนมีความตื่นตระหนกกลัวว่าตนจะเป็นหนึ่งใน 23,000 รายการที่มีข้อมูลรั่วไหล
– มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ระบบ TCAS ที่เป็นระบบกลาง เป็นองค์กรระดับประเทศ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการสอบค่อนข้างสูงจึงควรรักษาข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้เป็นอย่างดี
– แม้เป็นเพียง 2.78% จากจำนวนข้อมูลทั้งหมด แต่ก็ไม่ควรข้อมูลใดแม้แต่ข้อมูลเดียวที่ถูกขโมยไป
– จะสามารถไว้ใจด้านปลอดภัยของระบบได้อีกอย่างไร
– ข้อมูลที่รั่วไหลเกิดจากแฮกเกอร์หรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปล่อยข้อมูล
– มีการเรียกร้องให้รับผิดชอบมากกว่าการประกาศขอโทษ
.
จากเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลในครั้งนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือของทปอ.สั่นคลอนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีประเด็นดราม่าที่สร้างความไม่พึงพอใจต่อคนหมู่มาก ทั้งประเด็นการตอบคำถามในโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กที่หลายฝ่ายลงความเห็นว่าไม่เหมาะสม ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีมากกว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ประเด็นการลดเวลาในการสอบเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์โควิดที่ประชาชนมองว่าเป็นการแก้ที่ไม่ตรงกับปัญหา ตลอดจนความเสถียรของระบบที่มักล่มทั้ง ๆ ที่ควรมีการพัฒนาระบบที่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ตามจำนวนจริง เรียกได้ว่าที่ประเด็นให้ถกเถียงในทุกการทำงาน แล้วทปอ.จะสามารถกอบกู้ความน่าเชื่อถือกลับมาได้ หรือจะตกเป็นประเด็นให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันแบบนี้ คงต้องติดตามกันต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *