รีวิวการเรียนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่หลาย ๆ คนคิดว่าเรียนง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นถ้าไม่ได้ชอบก็เรียนยากเหมือนกันคณะอื่น ๆ เช่นเดียวกัน คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์เมื่อพูดถึงทุก ๆ คนก็ต้องพอรู้แล้วว่าการเรียนคณะนี้ต้องเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์แน่ ๆ และเมื่อเข้าไปเรียนแล้วเราจะเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

  1. เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์ ในการจะทำภาพยนตร์นั้นจะต้องมีบทภาพยนตร์เป็นอย่างแรก แต่การจะได้บทภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องมีเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับลำดับการเขียนบทภาพยนตร์เพื่อให้ได้บทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบนั้นเอง
  2. เรียนรู้เกี่ยวกับลำดับการทำงานของภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง การทำภาพยนตร์ออกมาหนึ่งเรื่องนั้นมีหลายขั้นตอนมาก ๆ และแต่ละขั้นตอนไม่สามารถทำข้ามกันได้จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มทำภาพยนตร์จริง ๆ
  3. ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนมากว่าเรียนในห้องเรียน การเรียนภาพยนตร์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะเน้นปฏิบัติจริงทำจริง ส่วนน้อยมากที่จะอยู่ในห้องเรียน เพราะอาจารย์จะให้เวลาที่ต้องเรียนในห้องเรียนนั้นออกไปถ่ายทำภาพยนตร์
  4. ได้เรียนรู้การทำงานกับคนจำนวนมาก การทำภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่สามารถทำออกมาสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวจึงต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้เราจะได้เจอกับคนหลายประเภทและต้องเรียนรู้ที่ต้องปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้
  5. เรียนรู้เกี่ยวกับมุมภาพของภาพยนตร์ ภาพที่เราเห็นในภาพยนตร์ถูกออกแบบออกมาก่อนแล้วที่จะถ่ายทำเพื่อให้เกิดความสวยงามและแต่ละมุมภาพจะมีความหมายซ่อนอยู่ เราจะได้เรื่องรู้ความหมายของมุมภาพต่าง ๆ ในภาพยนตร์
  6. เรียนรู้เกี่ยวกับศัพท์เฉพาะทางของภาพยนตร์ ในการทำภาพยนตร์ในกองถ่ายจะมีศัพท์เฉพาะทางที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ เมื่อเข้าไปเรียนแล้วจะต้องได้จำศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้แน่นอน แต่ศัพท์นั้นไม่ยากเลยเพราะเราจะสามารถจำได้เองเมื่อได้ถ่ายทำภาพยนตร์จริง ๆ
  7. เรียนรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับหน้าที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในกองถ่ายภาพยนตร์ ในกองถ่ายภาพยนตร์จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป จะได้เรียนรู้ว่าหน้าที่แต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่ทำอะไรบ้างในกองถ่ายภาพยนตร์

ปีที่ 1 ถึง 4 จะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?

ปี 1 จะได้เรียนรู้ลำดับขั้นตอนของการเขียนบททั้งหมดเลย พื้นฐานของการสร้างภาพยนตร์หนึ่งเรื่องและแน่นอนว่าปี 1 ก็ได้ออกถ่ายทำภาพยนตร์สั้น เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์แล้ว

ปี 2 จะเข้มข้นเรื่องบทเรียนขึ้นมา จะได้เรียนรู้การตัดต่อภาพยนตร์ การทำภาพยนตร์ที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ มุมกล้องในการถ่ายภาพยนตร์ และได้ออกถ่ายทำภาพยนตร์สั้นแต่เมื่ออยู่ปี 2 แล้วก็จะมีประสบการณ์จากตอน ปี 1 ว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ให้ออกมาดีนั้นควรทำอย่างไร

ปี 3 ถือได้ว่าเป็นการเรียนนอกห้องเรียนเลยก็ว่าได้ เพราะต้องมีงานถ่ายทำจากวิชาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นถ่ายทำเอ็มวี ถ่ายทำภาพยนตร์สั้น และยังงานถ่ายทำโฆษณาอีกด้วย การสอบส่วนใหญ่ถือว่าน้อยมากเพราะจะส่งเป็นชิ้นงานท้ายเทอมมากกว่า

ปี 4 ปีนี้ถ้าเก็บวิชามาครบตั้งแต่เทอมแรก ๆ ก็มีวิชาหนักอีกวิชาก็คือการถ่ายทำภายยนตร์สั้นธีสิตนั้นเอง  ภาพยนตร์สั้นธีสิธจะเป็นตัววัดความรู้ความสามารถตลอดการเรียนมาทั้งหมดทั้ง 3 ปีเลยว่าผลงานที่เราจะนำเสนอออกมานั้นจะอยู่ในรูปแบบไหน และจบเทอมด้วยการฝึกงาน การฝึกงานนี้จะทำให้เราได้ไปใช้วิชาความรู้ที่เรียนมากับงานจริง ๆ ในด้านที่เราถนันก็เป็นอีกวิชาที่ได้เรียนนอกห้องเรียน

มีสถาบันไหนเปิดสอนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์บ้าง ?

  1. มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ สาขาการผลิตภาพยนตร์
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีภาพยนตร์คอมพิวเตอร์
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
  6. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
  7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล
  8. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์
  9. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล
  10. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล
  11. มหาวิทยาลัยรังสิต คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์

เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง ?

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมบันเทิง ได้แก่อุตสาหกรมภาพยนตร์ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารการตลาด การสื่อสารองค์การ การผลิตสื่อ อาชีพที่สามารถทำได้ เช่น

  1. ผู้กำกับภาพยนตร์
  2. ผู้ผลิตภาพยนตร์
  3. เขียนบทภาพยนตร์
  4. นักแสดง
  5. ช่างภาพ
  6. ช่างตัดต่อ
  7. ผู้กำกับศิลป์
  8. ผู้ผลิตรายการ
  9. ผู้จัดการกองถ่าย
  10. ผู้อำนวยการสร้าง
  11. อาจารย์ด้านภาพยนตร์
  12. นักวิจารณ์ภาพยนตร์

นี้ก็คือสิ่งที่จะได้เรียนเมื่อเข้าไปเรียนในคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ จะเห็นได้เลยว่ามีเรื่องที่จะต้องเรียนรู้มากมายเลยทีเดียว ถ้าได้เลือกสิ่งชอบแล้วนั้นการเรียนทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *