การประเมินออนไลน์ครั้งแรกของประเทศไทย การเรียนการสอนยุค “School Distancing”

การประเมินออนไลน์ครั้งแรกของประเทศไทย ในช่วงการเรียนการสอนยุค “School Distancing”

การประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์โควิด-19 : แนวคิด ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนจากการนั่งเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกให้สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด โดยรูปแบบการประเมินไปเพื่อรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะไม่ตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่านโดยจะแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ระยะ คือ

 

ระยะแรก การประเมิน SAR

  • ประเมินผลงานจากการวิเคราะห์ SAR ของสถานศึกษา ซึ่งส่งผ่านหน่วยงานต้นสังกัดตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561
  • พิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏใน SAR และเอกสารประกอบที่แบบมากับ SAR เท่านั้น (โดยไม่ขอเอกสารเพิ่มเติมจากสถานศึกษา เพื่อลดภาระของสถานศึกษา)
  • ผลการประเมิน SAR มีระดับคุณภาพ 3 ระดับ แยกเป็นรายมาตรฐาน “ดี” “พอใช้” “ปรับปรุง”

 

ดี หมายถึง ใน SAR มีการเขียนเกี่ยวกับตัวชี้วัด 5 ข้อ

พอใช้ หมายถึง ใน SAR มีการเขียนเกี่ยวกับตัวชี้วัด 4 ข้อ

ปรับปรุง หมายถึง ใน SAR มีการเขียนเกี่ยวกับตัวชี้วัด 0 ตัว

 

SAR  คืออะไร ?

SAR (Self Assessment Report) คือ รายงานการประเมินตนเอง  หมายถึง รายงานสัมฤทธิ์ผลการดำเนินงานของคณะหรือหน่วยงาน ที่ใช้รายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งรายงานการประเมินตนเองนอกจากจะทำในระดับสถาบันแล้ว อาจทำในระดับคณะและหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกัน โดยมีองค์ประกอบของการรายงานการประเมินตนเอง มีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว
ส่วนที่ 2 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาตนเอง
ส่วนที่ 4 อุปสรรค / ปัญหา และข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 5 ภาคผนวก

 

ระยะสอง การประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site Visit)

  • เป็นการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาโดยยึดหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกัน ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • เน้นการตรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ ตรวจหลักฐานตามตารางนัดหมาย และไม่มีการประชุมสรุปผลการประเมินด้วยวาจาที่สถานศึกษา
  • ผลการประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site Visit) มีระดับคุณภาพ 5 ระดับ แยกเป็นรายมาตรฐาน คือ “ดีเยี่ยม” “ดีมาก” “พอใช้” “พอใช้” และ “ปรับปรุง”

 

ดีเยี่ยม หมายถึง พบหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงผลการพัฒนาที่สูงขึ้นในช่วง 3 ปีการศึกษาอย่างต่อเนื่องและพบแนวทางรักษาผลหรือการพัฒนาที่สูงขึ้น และพบหลักฐานที่แสดงว่ามีแบบอย่างที่ดี (Best Practice) หรือ มีนวัตกรรม (Innovation)

ดีมาก หมายถึง พบหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงผลการพัฒนาที่สูงขึ้นในช่วง 3 ปีการศึกษาอย่างต่อเนื่องและพบแนวทางรักษาผลหรือการพัฒนาที่สูงขึ้น

ดี หมายถึง พบหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามจำนวนชี้วัด 5 ข้อ ที่นำเสนอใน SAR

พอใช้ หมายถึง พบหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามจำนวนตัวชี้วัด 4 ข้อ ที่นำเสนอไว้ใน SAR

ปรับปรุง หมายถึง ไม่พบหลักฐานที่แสดงผลการประเมินใน SAR

 

การเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก : การตรวจเยี่ยมออนไลน์

  • เตรียมบุคลากรผู้ที่จะให้สัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์
  • เตรียมข้อมูลเอกสารหลักฐาน รูปถ่าย สำหรับจัดส่งผ่านระบบออนไลน์
  • เตรียมสถานที่เพื่อใช้ในการตรวจเยี่ยมออนไลน์
  • เตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้พร้อมใช้ในการตรวจเยี่ยมออนไลน์

 

สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกกรอบใหม่ สมศ.ได้วางเป้าหมายไว้ว่าในปี 2564 จะต้องประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาให้ได้อย่างน้อย 17,000 แห่ง ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดในวันที่ 2 มีนาคม 2564 มีสถานศึกษาส่ง SAR มาเกินกว่าจำนวนที่ สมศ.ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และเบื้องต้น สมศ.ทราบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ที่ส่ง SAR มีการเรียนการสอนที่ปรับไปสู่ช่องทางออนไลน์ และมีความประสงคืที่จะรับการประเมินผ่านรูปแบบใหม่ เพื่อให้ระบบที่ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา – การเรียนการสอนมีความสอดคล้องกัน

 

การประเมินออนไลน์ครั้งแรกของประเทศไทย ในช่วงการเรียนการสอนยุค “School Distancing” นั้น มีการปรับรูปแบบการประเมินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) จากเดิมเป็นการประเมินเอกสารเปลี่ยนมาเป็นการประเมินผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และเป็นการลดภาระในการทำงานทั้งบุคลากรทางการศึกษาจนไปถึงสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ยังเป็นการลดระยะเวลาการประเมินและช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *