7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิ EP.2 : สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

 

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ทีมงานเอ็ดดูโซนจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสาขาวิชาทั้ง 7 ซึ่งเป็นสาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 ที่ทาง ครม. มีมติให้เป็น 7 สาขาที่ต้องการพัฒนากำลังคนและเป็นสาขาอาชีพที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3.สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์  5.สาขาอาชีพอาหารและเกษตร 6. สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7.สาขาอาชีพแม่พิมพ์ ครั้งที่แล้วพี่ ๆ พาไปทำความรู้จักกับสาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานกันแล้วว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร คงเป็นที่ชื่นชอบของน้อง ๆ หลาย ๆ คนกันนะคะ และวันนี้พี่มี EP.2 สาขาถัดไป ซึ่งมีความคล้ายกับสาขาโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและมีความน่าสนใจไม่แพ้กันเลย นั่นก็คือ สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ว่าแต่ว่าจะมีความแตกต่างจากสาขาแรกอย่างไร และมีความน่าสนใจแค่ไหน เราไปดูกันเลย

สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

          สวัสดีค่ะวันนี้พี่ ๆ ทีมงานเอ็ดดูโซนจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับสาขาวิชาที่อยู่ในแผนพัฒนากำลังคน และกำลังเป็นที่น่าจับตามอง เรียนจบไปมีงานทำแน่นอน นั่นคือสาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันมีธุรกิจต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการทำธุรกิจให้ได้ผลกำไรก็มีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งโลจิสติกส์ก็ถือเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งได้อย่างมหาศาล ถ้าธุรกิจแบรนด์ไหนมีการจัดการระบบโลจิสติกส์ที่ดี ก็จะสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีกด้วย น้อง ๆ หลายคนก็คงสงสัยกันสินะว่าโลจิสติกส์คืออะไร ซัพพลายเชนคืออะไร เรียนยากหรือเปล่า อย่ามัวรอช้า ไปดูกันเลย

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ คืออะไร?

โลจิสติกส์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการระบบขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดต้นทางไปยังจุดจำหน่ายตามความต้องการของลูกค้า บริการทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ โดยเป้าหมายของโลจิสติกส์นั้นเพื่อให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุดซึ่งการขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์เท่านั้นโลจิสติกส์ยังมีองค์ประกอบในส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งในด้านการวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ ศูนย์กระจายสินค้าที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า และยังมีงานในส่วนให้บริการด้านโลจิสติกส์ การส่งออก นำเข้า และสุดท้ายคืองานให้คำปรึกษาด้านโลจิสติกส์รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

ในปัจจุบันการจัดการโลจิสติกส์กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากของหลายๆ บริษัท เพราะถ้าหากว่าบริษัทใด มีการขนส่งสินค้าที่ใช้งบประมาณน้อย หรือการขนส่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สามารถประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเกิดผลดี และช่วยลดต้นทุนต่อบริษัทได้มากขึ้นเท่านั้น

 

การจัดการโลจิสติกส์เรียนอะไรบ้าง?

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเรียนโลจิสติกส์ในเบื้องต้นต้องชอบการจัดการ การจัดแจง ชอบบริหารเรื่องต่าง ๆ  และที่สำคัญต้องชอบภาอังกฤษ เพราะใช้ภาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ ในปีที่ 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาดเบื้องต้นการเงิน สถิติ มนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส เป็นต้น

ในปีถัดมาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะที่เจาะลึกลงไปมากยิ่งขึ้น เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และหลังจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์สุดท้ายก่อนจบจะมีการส่งนักศึกษาออกไปปฏิบัติแบบสหกิจศึกษากับสถานประกอบการ

 

จบไปทำอาชีพอะไร ?

ผู้คนที่จบการศึกษาทางด้านโลจิสติกส์จะมีสายงานที่เกี่ยวข้อง 4 งานหลัก ดังนี้

  1. การขนส่ง เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างเหมาะสม และทันเวลา
  2. งานบริการด้านโลจิสติกส์ เป็นตัวแทนออกของ สายการเดินเรือ และ Clearing
  3. คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า มีหน้าที่รวบรวมสินค้าจากหลายๆ ที่แล้วกระจายไปตามสาขาต่างๆ
  4. งานให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยลดต้นทุน

การจัดการโลจิสติกส์เป็นการบูรณาการความรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับปฏิบัติการเช่น ฝ่ายจัดซื้อจัดหา ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุม ฝ่ายการขนส่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก
  2. ระดับบริหารเช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์นักวางแผนการผลิต นักวางแผนการตลาด การกระจายสินค้านักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
  3. ประกอบธุรกิจส่วนตัวเช่น นำเข้าและส่งออก เปิดธุรกิจของตนเองในด้านผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ
  4. รับราชการ รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. งานสายวิชาการเช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

– สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

– สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกริก

– สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

– สาขาวิชาโลจิสติกส์ วิทยาลัยนครราชสีมา

– หมวดวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

– สาขาเทคโนโลยีการจัดการจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

– หลักสูตรสำหรับคนประจำเรือ-ฝ่ายเดินเรือ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

– โรงเรียนการเดินเรือบาร์เธอร์ (BIMS)

– สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

– คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

– คณะสถิติประยุกต์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

– คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

– คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

– คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

– คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูนารถ

– คณะเทคโนโลยีสังคม สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

– คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

– คณะเทคโนโลยีการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

– คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการโลจิสติกส์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– วิทยาลัยโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

– สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์

วิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์เรียนอะไรบ้าง ?

วิศวกรรมโลจิสติกส์เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบ การวางแผน การคิดวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา รวมไปถึงการปฏิบัติใช้เทคนิคต่าง ๆ ในหน้างานและการควบคุมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางโซ่อุปทานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและวิศวกรรมโลจิสติกส์จะประยุกต์เทคนิคต่างๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการ การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนในการผลิต รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าซึ่งจะเป็นผลดีต่อบริษัทเป็นอย่างมาก

เทคนิคด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์เป็นเทคนิคที่มีความสำคัญ ครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และบริหารจัดการเข้าไว้ในหลักสูตรเดียวกัน

ตัวอย่างวิชาที่จะต้องเรียนในสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์ เช่น ความรู้พื้นฐานฐานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์ระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์กฎหมายการค้าและพิธีการทางศุลกากรระบบขนถ่ายวัสดุการออกแบบระบบคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าระบบจัดซื้อและพัสดุคงคลังการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับโลจิสติกส์เป็นต้น

 

จบแล้วทำอาชีพอะไร ?

  1. การออกแบบระบบขนส่ง ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ
  2. การเลือกกระบวนการ และวิธีการประกอบชิ้นส่วนสินค้า การเลือกใช้และการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์
  3. การออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน การวางผังติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์เก็บวัตถุดิบ หรือเก็บสินค้า
  4. การออกระบบกระจายสินค้า หรือการวางแผนและควบคุมการจ่ายสินค้า หรือบริการการผลิต การเก็บสินค้าในคลัง การควบคุมคุณภาพ การซ่อมบำรุงรักษาและควบคุมโรงงานและหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านนี้
  5. การพัฒนาระบบความคุ้มต้นทุน เช่น การควบคุมงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุน การจัดตั้งระบบต้นทุนมาตรฐาน
  6. ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
  7. การออกแบบและจัดตั้งระบบคำนวณคุณค่าการใช้งานและ ระบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
  8. การออกแบบและจัดตั้งระบบข่าวสารเพื่อการบริการ
  9. การพัฒนาและจัดตั้งระบบค่าแรงงานจูงใจ
  10. การพัฒนาวิธีวัดผลงานและมาตรฐานในการทำงาน รวมทั้งการวัดผลงานและประเมิน ค่าผลงาน
  11. การพัฒนาและจัดตั้งระบบประเมินคุณค่าของตำแหน่งงาน
  12. การประเมินผลเกี่ยวกับความไว้วางใจได้ และประสิทธิภาพในการทำงาน
  13. การวิจัยปฏิบัติการ ครอบคลุมเรื่องการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ การจำลองแบบของระบบโปรแกรมเชิงเส้นตรง และทฤษฎีของการตัดสินใจ
  14. การสำรวจที่ตั้งโรงงาน โดยยึดถือตลาดแหล่งวัตถุดิบ แหล่งโรงงาน แหล่งเงินทุน และภาษีต่างๆ มาประกอบการ

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการ

– มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคกาฬสินธุ์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

– คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

– เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคกาฬสินธุ์

 

 

สาขาอุตสาหการหรือโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์

อุตสาหการหรือโซ่อุปทาและโลจิสติกส์เรียนอะไรบ้าง ?

          ผู้ที่เรียนวิศวะสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจะได้เรียนรู้หลักในการออกแบบและจัดการระบบต่างๆ เช่น โลจิสติกส์ ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานที่ใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรมทุกประเภท มีนโยบายปรับกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อให้เรียนเรื่องยากให้ง่าย ใช้งานได้จริง เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากวิศวกรมืออาชีพ คัดเน้นเนื้อหา ฝึกปฏิบัติอย่างตรงจุดให้เข้าใจง่าย ประยุกต์ใช้ในการทำงานวิศวกรรมได้จริงจากห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ตอบสนองต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมและโอกาสการฝึกปฏิบัติงานจริง สามารถเลือกเรียนมุ่งเน้นกลุ่มวิชาความเชี่ยวชาญ

 

จบแล้วทำอาชีพอะไร ?

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์ ครอบคลุมด้านต่อไปนี้

– ผู้จัดการโรงงาน

– วิศวกรหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ โรงงานอุตสาหกรรม

– วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต

– วิศวกรระบบ วิศวกรออกแบบ วิศวกรโครงการ

– วิศวกรภาคการเงิน/จัดซื้อ ประเมินโครงการสินเชื่อธนาคาร

– วิศวกรด้านการขนส่งและบริการโลจิสติกส์ (LSPs)

– วิศวกรด้านการสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ, ด้านการนำเข้า-ส่งออก

– วิศวกรด้านเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ ( LogisticsMachinery & Equipment) และเทคโนโลยีการควบคุมอุปกรณ์ในงานโลจิสติกส์ชั้นสูง

– วิศวกรด้านคลังสินค้าและกระจายสินค้า บุคลากรทำงานในคลังสินค้า , ศูนย์กระจายสินค้า

– ผลิตอาจารย์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

– เป็นนักวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาอุตสาหการ หรือ โซ่อุปทาน และ โลจิสติกส์

– สาขาวิศวกรรมการจัดการ และโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปกร

– การจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

– สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

– สาขาวิชาโลจิสติกส์สากล และการจัดการอุตสาหกรรม

– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

– สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

– สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

– สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิต และโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

– สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ แขนงวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

เป็นยังไงบ้างคะน้อง ๆ กับสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ได้เห็นกันแล้วใช่ไหมเอ่ย กับหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งสาขาวิชานี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ชอบเรื่องการจัดการ ชอบภาษาอังกฤษ เพราะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งทั้ง 3 หลักสูตรนี้ก็จะมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป แต่ละหลักสูตรก็จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว น้อง ๆ สามารถนำจุดเด่นทั้งหมดนี้ มาพิจารณาในการเลือกวิชาชีพที่จะศึกษาต่อ และแน่นอนว่าสาขาอาชีพทั้ง 7 สาขาตามกรอบคุณวุฒิที่พี่ ๆ ได้นำมาแนะนำน้อง ๆ นั้น เป็นสาขาอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการและเมื่อเรียนจบไปมีงานรับรองแน่นอน และสำหรับ EP ต่อไปจะเป็นสาขาวิชาชีพไหน ใช่สาขาวิชาชีพที่น้อง ๆ สนใจหรือเปล่า อย่าลืมติดตามข่าวสารกันนะคะเด็ก ๆ หากน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ว่า 7 สาขาอาชีพแห่งอนาคตตามกรอบคุณวุฒิมีอะไรบ้างสามารถเช็กได้ที่

EP.1 สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน คลิก 

EP.2 สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คลิก

EP.3 สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คลิก

EP.4 สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ คลิก

EP.5 สาขาอาชีพอาหารและเกษตร คลิก

EP.6 สาขาปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงาน คลิก

EP.7 สาขาอาชีพแม่พิมพ์ คลิก

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *