รีวิวการเรียน “วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์”

สวัสดีจ้า มารู้จักอีกหนึ่งสาขาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่กำลังมาแรงไม่แพ้สาขาอื่น ๆ กันดีกว่า นั่นก็คือ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ฟังแล้วอาจดูงง ๆ ว่าวิศวกรรม และ แพทย์ จะมีการเรียนแบบไหน ถ้าอยากรู้ตามพี่มาทางนี้เลยจ้า

วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนอะไรบ้าง ?

เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เช่น ด้านการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วัสดุศาสตร์ โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนให้สามารถนำมาใช้ได้จริง แบ่งการเรียนออกเป็นสาขาย่อย ๆ ได้ดังนี้

  1. Bioinstrumentation เป็นสาขาที่นำความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือคุณสมบัติทางไฟฟ้า ที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือเปลี่ยนคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือระดับอวัยวะ โดยใช้อุปกรณ์มาเป็นตัวกลางในการติดต่อกับเครื่องจักรกล ไฟฟ้า หรือสัญญาณเสียง
  2. Biomaterials เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุธรรมชาติ ประกอบด้วย โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต หรืออุปกรณ์ด้านการแพทย์ ที่สามารถทำงานแทนอวัยวะเดิมที่ได้รับความเสียหาย เช่น ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น Biomechanics เป็นการประยุกต์หลักทางกลศาสตร์เพื่อระบบของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงการวิจัยและการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้หลักทางวิศวกรรมในสิ่งมีชีวิต
  3. Cellular, Tissue and Genetic Engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตอวัยวะเทียมจากวัสดุชีวภาพ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะปลูก ถ่าย โดยวิศวกรในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีหน้าที่ในการวิจัยเพื่อหาวิธีมาผลิตและนำอวัยวะเทียมมาใช้งานแทนอวัยวะเดิม เช่น ตับเทียม เป็นต้น
  4. Clinical Engineering เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสถานพยาบาล บทบาทหลักของ
  5. Clinical Engineering คือการให้ความรู้และควบคุมดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต
  6. Medical Imaging เป็นสาขาที่ศึกษาเทคนิคหรือกระบวนการที่ใช้ในการสร้างภาพของร่างกายมนุษย์ หรือบางส่วนของร่างกาย และหน้าที่การทำงานร่างกาย เพื่อจุดประสงค์ทางคลินิกหรือทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
  7. Orthopedic Engineering เป็นสาขาที่เน้นการทำให้โรคหรือการได้รับบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกทุเลาลง โดยการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานทางกลศาสตร์ของวัสดุชีวภาพร่วมกับวิศวกรรม เนื้อเยื่อ
  8. Rehabilitation Engineering เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมมาออกแบบ พัฒนา ดัดแปลง ทดสอบ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียความสามารถต่าง ๆ ของร่างกาย งานวิจัยด้านนี้ครอบคลุมการเคลื่อนไหว การติดต่อสื่อสาร การได้ยิน การมองเห็น การจดจำ และการช่วยให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
  9. Systems Physiology เป็นสาขาที่รวมศาสตร์ทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ เพื่อศึกษาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่อธิบายถึงพฤติกรรมของระบบสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปการคำนวณทางสรีรวิทยาได้จากการรวมเทคโนโลยีและฟังก์ชันการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การหมุนเวียนเลือด การหายใจ เมตาบอลิซึม กลศาสตร์ชีวภาพ และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • วิศวกรชีวการแพทย์/วิศวกรคลินิกประจำโรงพยาบาล/วิศวกรอีเล็กทรอนิกส์
  • นักวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • วิศวกร เพื่อผลิต ขาย ซ่อมบำรุง ติดตั้ง วิจัย และพัฒนา (ในบริษัทเอกชนและภาครัฐ)
  • ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์
  • ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว ทางด้านการจำหน่าย การให้บริการ หรือการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับงานทางด้านเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ

 

คณะ/สาขาแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  4. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  5. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต)
  6. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  7. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

 

ใช้คะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้า

ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์กำหนด ว่าจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนไหนเท่าไหร่บ้าง แต่หลัก ๆ แล้วการสอบเข้าก็จะใช้คะแนนตามนี้เลย

  • O-NET
  • 9 วิชาสามัญ
  • GAT ความถนัดทั่วไป
  • PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
  • PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  • PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Campus-star.com และ Admission Premium

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *