นักจิตวิทยากับจิตแพทย์เรียนเหมือนกันจริงไหม?

 

นักจิตวิทยากับจิตแพทย์เรียนเหมือนกันจริงไหม?

 

จิตวิทยา (Psychology) เดิมนั้นคำว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำมารวมกัน คือ Psyche หมายถึงจิตวิญญาณ และคำว่า Logos หมายถึงศาสตร์,วิชา จิตวิทยาจึงเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยปรากฎการและพฤติกรรม เป็นการศึกษาพฤติกรรมกระบวนทางจิตเชิงปรนัย ครอบคลุมทั้งด้านร่ายกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ความคิดและสติปัญญา การศึกษาในเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาและควบคุมความประพฤติในด้านต่างๆ มักจะใช้เป็นการศึกษารายบุคคลหรือคนกลุ่มเล็กๆ จะมีการแบ่งออกเป็นแขนงต่างๆ จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาอปกติ และจิตวิทยาคลินิก 

จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นของพฤติกรรมส่วนที่ว่าด้วยหลักการทั่วไปทางจิตวิทยา

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนและการส่งเสริมประสิทธิภาพตามหลักจิตวิทยา

จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงช่วงวัยต่างๆ โดยที่จะเน้นความเข้าใจทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาไปถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของสังคมทั้งโดยตรงและทางอ้อม

จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Indrustrial Psychology) ศึกษาหลักการของจิตวิทยาที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของทางธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจการบริการ เป็นต้น และยังศึกษาไปถึงผลของของสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลในการงานทำงานอีกด้วย

จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) ศึกษาพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์โดนจะเน้นการทดลองในห้องปฏิบัติการหรือการทดลองในลักษณะอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจผลของการปฏิบัติการได้อย่างเชื่อมั่น 

จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) ศึกษาสาเหตุและการป้องกันแก้ไขพฤติกรรมที่ผิดปกติของมนุษย์ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ

จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) การศึกษาถึงการนำจิตวิทยาไปใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคและการบำบัดรักษามนุษย์ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ตัวอย่างเช่น ผู้ติดยาเสพติด

ในการศึกษาทางด้านจิตวิทยานั้นก็มีมากมายหลายแขนง และในแต่ละแขนงจะถูกนำไปใช้งานต่างกันออกไป ในปัจจุบันมีผู้ทีทำอาชีพเป็นนักจิตวิทยาอยู่มากมาย แต่การจะเป็นนักจิตวิทยาได้ก็จะต้องเรียนด้านนั้นๆ โดยตรง และสิ่งที่กำลังมีคนเข้าใจผิดอยู่มากคือการเป็นนักจิตวิทยา และการเป็นจิตแพทย์ มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าทั้งสองอาชีพนี้คือบุคคลคนเดียวกัน แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไม่ใช่อาชีพเดียวกัน

นักจิตวิทยา

นักจิตวิทยามีอยู่หลายประเภทหลายแขนงตามสิ่งที่แต่ละบุคคลได้ฝึกฝนเรียนรู้มา นักจิตวิทยาจะถูกแบ่งตามประเภทการทำงานใหญ่ๆ เป็น 2 สายการทำงาน คือจิตวิทยาสุขภาพและจิตวิทยาประยุกต์ 

จิตวิทยาสุขภาพ ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย

จิตวิทยาบำบัด : เป็นวิธีการรักษาโดยใช้การพูดคุยกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยา เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจ วิธีที่สามารถใช้ทำจิตวิทยาบำบัดได้มีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดทางความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติที่แปลกไปจากปกติ หรือการบำบัดจิตพลวัต ซึ่งจะทำให้พบกับสาเหตุความทรงจำที่ถูกกดไว้ รวมไปถึงความขัดแย้งที่ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึก 

จิตวิทยาคลินิก : นักจิตวิทยาประเภทนี้จะมีการทำงานที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ทำงานในโรงพยาบาลกับกลุ่มที่ทำงานนอกโรงพยาบาล กลุ่มที่ทำงานในโรงพยาบาลจะทำการรักษาหรือดูแลผู้ป่วยร่วมกับจิตแพทย์ แต่ผู้ที่ทำงานนอกโรงพยาบาลอาจจะเปิดคลินิกและให้คำปรึกษากับผู้ป่วยด้วยตนเอง หรือทำงานในองค์กรอื่นๆ ก็เช่นกัน คอยดูแลผู้ป่วยในเรื่องของระบบประสาทและสมอง งานเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นต้น

จิตวิทยาประยุกต์ แบ่งออกมาได้หลายแขนงตามประเภทของการทำงานในสายงานนั้นๆ ตัวอย่างเช่น 

จิตวิทยาสังคม : เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ถึงความคิดความรู้สึกต่อผู้คนในสังคม ว่าผู้คนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร และมีอิทธิพลต่อกันอย่างไรบ้าง ทั้งเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่น ภาวะผู้นำ การร่วมมือ การแสดงตน การประจบประแจง อิทธิพลทางสังคม ฯลฯ

จิตวิทยาอุตสาหกรรม : เป็นศาสตร์ที่ว่าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการทำงานอุตสาหกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการและการวางแผนในการทำงาน อุตสาหกรรมการผลิต การโฆษณาสื่อสาร การจำหน่าย การบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานอุตสาหกรรม นำศาสตร์และทฤษฎีหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาของมนุษย์ที่ดำเนินงานอุตสาหกรรม 

 

สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคือ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์คือคนเดียวกัน

ถึงแม้ว่าทั้งสองอาชีพนี้จะมีการทำงานที่คล้ายกันแต่ความเป็นจริงนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งสองอาชีพจะต้องเรียนจบมาโดยตรงกับสายนั้นโดยเฉพาะ และต้องมีใบรับรองถึงจะมาทำอาชีพทั้ง 2 อาชีพนี้ได้ สิ่งที่ทำให้คนส่วนมากเข้าใจผิดระหว่าง 2 อาชีพนี้เป็นเพราะว่า ทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะคอยให้คำปรึกษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้มีอาการทางความคิดหรือแม้แต่จิตใจที่ค่อนข้างผิดปกติเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงคือการเรียนของทั้ง 2 วิชาชีพ 

นักจิตวิทยา : ไม่จำเป็นต้องเรียนสายวิทย์ – คณิตเท่านั้น สายศิลป์และสายสังคมก็สามารถเรียนจิตวิทยาได้ บางมหาวิทยาลัยอาจจะรับเพียงแค่สายวิทย์ – คณิต แต่อีกหลายๆที่ก็รับทุกสายการเรียน ขึ้นอยู่กับกฏเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้ตั้งไว้ บางมหาวิทยาลัยมีเปิดหลักสูตรสอนเป็นคณะ แต่บางมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรเป็นสาขาเพิ่มเติมเสริมอยู่ในคณะอื่นๆ แต่การจะเป็นนักจิตวิทยาได้จะต้องเรียนในรายวิชาของแขนงนั้นๆ โดยตรง ตัวอย่างเช่น ถ้าจะเป็นนักจิตวิทยาสังคมก็จะต้องเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีการสอนคณะหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาสังคมโดยตรงและมีใบรับรองของสาขาวิชานี้ ถึงแม้บางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่มีคณะจิตวิทยา แต่การเรียนจิตวิทยาอาจจะเสริมอยู่ในคณะของมนุษย์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น การเรียนจิตวิทยาสามารถเรียนจบได้ภายใน 4 ปี ซึ่งจะต่างกับจิตแพทย์ที่ต้องเรียนแพทย์ทั่วไปถึง 6 ปี การเรียนจิตวิทยาเพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาจะต้องเรียนต่อในระดับปริญญาโท เพราะในระดับปริญญาตรีนั้นยังไม่มีวุฒิรองรับการเป็นนักจิตวิทยา แต่ในกรณีที่อยากเป็นนักจิตวิทยาแต่ไม่ได้เรียนคณะหรือสาขาจิตวิทยาก็ยังสามารถเป็นนักจิตวิทยาได้ ต่อให้เรียนนิเทศศาสตร์ บัญชี หรือคณะต่างๆ ก็สามารถเป็นนักจิตวิทยาได้ เพียงแค่ต้องเรียนจิตวิทยาต่อในระดับปริญญาโท เท่านี้ก็สามารถเป็นนักจิตวิทยาได้แล้ว การเรียนจิตวิทยาสามารถจบไปทำงานได้ทุกสาย ไม่ว่าจะอาชีพอะไรล้วนก็ต้องใช้จิตวิทยาในการคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว แต่จะไม่สามารถเป็นนักจิตวิทยาในการให้คำปรึกษาใครโดยตรงได้ แต่ในกรณีที่เรียนจิตวิทยาในแขนงอุตสาหกรรมแต่อยากจบไปเป็นนักจิตวิทยาคลินิกก็สามารถทำได้ด้วยการเรียนแขนงจิตวิทยาคลินิกเพิ่มในระดับปริญญาโท แค่นี้ก็สามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาคลินิกได้แล้ว

  • ส่วนในเรื่องของการทำงานเป็นนักจิตวิทยาคลินิก เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างกับอาชีพจิตแพทย์โดยสิ้นเชิง การเป็นนักจิตวิทยาคลินิกส่วนมากจะทำงานอยู่ในโรงพยาบาลและทำงานร่วมกับจิตแพทย์ แต่ถ้าไม่ได้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลก็อาจจะเปิดคลินิกเป็นของตัวเองหรือเป็นที่ปรึกษาตามองค์กรต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกที่ทำงานร่วมกับจิตแพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาหรือบำบัดผู้ป่วยด้วยการพูดคุยได้ แต่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคและจ่ายยาให้กับคนไข้ได้ คนที่จะวินิจฉัยและจ่ายยาให้กับคนไข้ได้มีเพียงแค่จิตแพทย์เท่านั้น เพราะนักจิตวิทยาถูกฝึกฝนและเรียนรู้มาเพียงแค่การบำบัด แต่จิตแพทย์ได้เรียนเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการใช้ยาต่อโรคนั้นๆ มาโดยตรง

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาจิตวิทยา

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • คณะจิตวิทยา
  • สาขาจิตวิทยา

2.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • คณะมนุษย์ศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยาคลินิก
  • สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • คณะศิลปศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • คณะสังคมศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยาคลินิก
  • สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ
  • สาขาจิตวิทยาชุมชน
  • สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

5.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • คณะมนุษย์ศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

6.มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • คณะศึกษาศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

7.มหาวิทยาลัยบูรพา

  • คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

8.มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • คณะสังคมศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

9.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • คณะศึกษาศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา

10.มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • คณะศึกษาศาสตร์
  • สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา
  • วิชาเอกจิตวิทยาคลินิกและชุมชน

11.มหาวิทยาลัยพายัพ

  • คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ
  • วิชาเอกจิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว
  • วิชาเอกจิตวิทยาสังคม

12.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • คณะศึกษาศาสตร์ (วิทยาเขตปัตตานี)
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว

13.วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

  • คณะจิตวิทยา
  • สาขาจิตวิทยาคลินิก
  • สาขาจิตวิทยาการปรึกษา
  • สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

14.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

  • คณะจิตวิทยา
  • สาขาจิตวิทยา

 

จิตแพทย์ 

หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าอาชีพจิตแพทย์คือการทำงานอยู่กับคนบ้า แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย จิตแพทย์มีหน้าที่คอยดูแลให้คำปรึกษาต่างๆ เช่นพัฒนาการของเด็ก ปัญหาการขัดแย้งในใจ รวมไปจนถึงปัญหาชีวิตคู่เลย จิตแพทย์ยังมีหน้าที่รักษาปัญหาของโรคทางจิตเวช เช่นโรคซึมเศร้า และโรคทางระบบประสาท คือโรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างสมองจนทำส่งผลให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ พฤติกรรมและอาการทางจิต เช่นโรคอัลไซเมอร์ และจิตแพทย์ยังเป็นส่วนหนึ่งในทีมรักษาร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ อีกด้วย 

แต่ก่อนที่จะเป็นจิตแพทย์ได้ก็จะต้องผ่านการเรียนและฝึกฝนที่มากพอถึงจะสามารถไปรักษาคนไข้ได้ นั่นคือการเรียนแพทย์ทั่วไป 6 ปี เหมือนปกติถึงจะสามารถศึกษาต่อในด้านจิตเวชศาสตร์ได้ ในสมัยนี้การเรียนแพทย์เปิดกว้างมากขึ้น เด็กๆ ที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์ – คณิต ก็มีสิทธิ์สอบเข้าแพทย์ได้ นั่นคือจะต้องสอบ กสพท. ให้ผ่านจึงจะสามารถเรียนแพทย์ได้เหมือนเด็กสายวิทย์ – คณิต เมื่อเรียนหลักสูตรแพทย์ทั่วไปจนครบทั้ง 6 ปีแล้ว จึงจะไปเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 ปี และเป็นแพทย์ใช้ทุนอีก 2 ปี รวมทั้งหมด 3 ปี เพราะนักศึกษาแพทย์ทุกคนถือเป็นนักเรียนทุนของหลวง จึงจะต้องมีการทำงานเพื่อใช้ทุนก่อนจึงจะสามารถไปเริ่มเรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางได้ 

หลักสูตรการเรียนจิตเวชศาสตร์นั้นจะมี 2 หลักสูตร คือจิตเวชทั่วไปจะใช้เวลาเรียนภายใน 3 ปี แต่หลักสูตรจิตเวชเด็กและวัยรุ่น จะใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 4 ปี เมื่อเรียนครบตามระยะเวลาของหลักสูตรก็สามารถเป็นจิตแพทย์ได้อย่างเต็มตัวแล้ว ที่รู้จักกันในชื่อของ “แพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์”

โรคทางจิตเวชคืออะไร

สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดและมักจะเหมารวมว่าเป็นสิ่งเดียวกันคือคิดว่าโรคทางจิตเวชคือโรคจิต ซึ่งในความเป็นจริงโรคจิตเป็นเพียงอาการหนึ่งของโรคทางจิตเวช มีคนไข้บางคนสามารถดูแลตัวเองได้และรับรู้ว่าตนเองป่วย สามารถมาพบหมอได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยโรคทางจิตเวชทุกคนจะต้องกลายเป็นคนบ้า ในบางครั้งก็มีหลายคนที่ไม่กล้าไปพบหมอหรือรักษาอาการเพราะอายที่คนอื่นจะรู้และจะต้องโดนกล่าวหาว่าเป็นคนบ้า ในการรักษาโรคทางจิตเวชนั้นจะมีหลายวิธีการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนต่างกันออกไป การเกิดขึ้นของโรคทางจิตเวชนั้นมักจะมาจากการได้รับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เราจะเห็นได้บ่อยในสังคมปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีคนจำนวนไม่น้อยที่จบชีวิตตัวเองเพียงเพราะถูกสังคมในโลกออนไลน์สร้างบาดแผลให้กับจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการเอาปมด้อยของอีกฝ่ายมาล้อเลียนกันอย่างสนุกสนาน หรือโจมตีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจนเกินเหตุจนทำให้อีกฝ่ายกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคเครียดได้

การทำงานของจิตแพทย์

จิตแพทย์มีหน้าที่คอยวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยว่าป่วยเป็นไรและจ่ายยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย แต่ในกรณีที่จิตแพทย์ทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาอาจจะทำการวิเคราะห์และบำบัดขั้นเบื้องต้นให้คนไข้ก่อนจึงจะส่งเคสนั้นเพื่อไปให้จิตแพทย์รักษาต่อ เพราะจิตแพทย์มีสิทธิ์ที่จะจ่ายยาจนถึงขั้นรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติส่งผลไปถึงร่ายกาย นั่นจึงเป็นความแตกต่างจะหว่างจิตแพทย์กับนักจิตวิทยาคลินิก

 

จิตเวชทั่วไป : ดูแลรักษาคนไข้ที่มีอาการทางจิต แต่ละโรคนั้นมีอาการต่างกันออกไป

  • ความผิดปกติที่มีผลจากโรคทางร่างกาย
  • ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมจากการใช้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
  • ความผิดปกติทางจิต
  • ความผิดปกติทางอารมณ์
  • โรคประสาท
  • ความผิดปกติทางพฤติกรรม
  • ความผิดปกติทางพฤติกรรมและบุคลิก
  • ความบกพร่องทางสติปัญญา
  • ความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท

จิตเวชเด็กและวัยรุ่น : เป็นสาขาย่อยของจิตเวชศาสตร์ที่คอยดูแลและป้องกันอาการทางจิตของเด็กและวัยรุ่น ดังนี้

1.โรคเกี่ยวกับพัฒนาการ 

  • โรคออทิสติก
  • โรคบกพร่องทางการเรียน

2.โรคเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจและพฤติกรรม 

  • สมาธิสั้น
  • โรคดื้อ
  • ความผิดปกติทางความประพฤติ 

3.โรคจิต

  • โรคจิตในเด็ก

4.ความบกพร่องทางอารมณ์

  • โรคซึมเศร้า
  • โรคไบโพลาร์ในเด็ก

5.โรควิตกกังวล

  • โรคแพนิค
  • โรคกลัว
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ

6.การผิดปกติทางการบริโภคอาหาร

  • Anorexia nervosa
  • Bulimia nervosa

7.ความบกพร่องทางอัตลักษณ์ทางเพศ

  • ความทุกข์ใจในเพศสภาพในเด็ก

สถาบันที่เปิดอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์

1.คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

2.คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

3.คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4.คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5.คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6.คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

7.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

8.กรมสุขภาพจิต สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา

สถาบันที่เปิดอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

1.คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

2.คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

4.กรมสุขภาพจิต สถาบันยุวประสาททไวทโยปถัมภ์

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *