อยากเป็นนักเคมีปรุงยาต้องเรียนจบอะไร

นักเคมีปรุงยา เป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจมาก ๆ นักเคมีปรุงยามีหน้าที่ผลิตยา ควบคุมคุณภาพยาระหว่างการผลิต ยารอบรรจุ และยาสำเร็จรูป ตรวจสอบและควบคุมระบบโรงงานยาและเครื่องสำอางในฝ่ายต่างๆตามมาตรฐานสากล เช่น GMP และ PICS และตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ถ้าน้อง ๆสนใจทำอาชีพนี้สามารถเรียนต่อในคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์เรียนอะไรบ้าง

ในคณะนี้น้อง ๆ จะต้องใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปีเภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) สาขานี้จะเน้นไปที่การผลิตยา การค้นคว้าตัวยา การควบคุมคุณภาพยา รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย
  • สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) สาขานี้จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย

น้อง ๆ ที่สนใจทำอาชีพนักปรุงยาในอนาคตก็จะตรงกับสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)

มหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนบ้าง ?

  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (รับรองแบบมีเงื่อนไข)
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รับรองแบบมีเงื่อนไข)

สามารถทำอาชีพอะไรได้นอกจากอาชีพนักเคมีปรุงยา ?

  • เภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฯลฯ จะปฏิบัติงานในโรงงานการผลิตหรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐและเอกชน
  • เภสัชกรโรงพยาบาล เช่น เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล ฯลฯ
  • เภสัชกรชุมชน เช่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือเป็นเจ้าของกิจการร้านยา เป็นต้น
  • เภสัชกรการตลาด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยา
  • ทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เภสัชกรการศึกษา ฯลฯ
  • ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย
  • ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก

น้อง ๆ ที่ยังไม่มั่นใจว่าตนเองจะเหมาะกับอาชีพนี้หรือไม่ น้อง ๆ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบของ Future career flt  ที่สามารถเข้าไปเลือกอาชีพที่อยากทำในอนาคตโดยแบบทดสอบจะช่วยน้อง ๆวิเคราะห์แนวทางในการค้นหาตัวเองของน้อง ๆ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ >> https://www.futurecareerfit.net/site/?page_id=754

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *