ก.ค.ศ. เผย ผลการวิจัยการประเมินผล การใช้ระบบวิทยฐานะ วPA

ก.ค.ศ. เผย ผลการวิจัยการประเมินผล การใช้ระบบวิทยฐานะ วPA
ก.ค.ศ. เผย ผลการวิจัยการประเมินผล การใช้ระบบวิทยฐานะ วPA

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยถึงผลวิจัยการประเมินผลการใช้ระบบวิทยฐานะรูปแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 9 – ว 11/2564 (วPA) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใช้ระบบการประเมินวิทยฐานะรูปแบบข้อตกลงพัฒนางาน หรือ PA ทั่วประเทศ โดยได้ประเมินประสิทธิผลและผลลัพธ์ รวมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของ วPA ซึ่งได้ทำการศึกษาใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 ความรู้สึก ระดับ 2 การเรียนรู้ ระดับ 3 พฤติกรรม และระดับ 4 ผลลัพธ์ พบว่า ในระดับความรู้สึก ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในด้านส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ร้อยละ 92.01 เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานจริง ร้อยละ 91.29 ช่วยสะท้อนคิดและพัฒนาการสอน ร้อยละ 91.28 ระดับการเรียนรู้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจลักษณะงานที่ปฏิบัติตามาตราฐานตำแหน่ง ร้อยละ 88.62 สามารถอธิบายระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ ร้อยละ 87.65  และสามารถจำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ ตามวิทยฐานะได้ ร้อยละ 85.95 ระดับพฤติกรรม ผู้ใช้งานสามารถนำความรู้หรือทักษะใหม่ ๆ ที่ได้รับจากการประเมินฯ ไปปฏิบัติ ร้อยละ 92.25 มีการปรับเปลี่ยนการสอนโดยอาศัยข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินฯ ร้อยละ 89.83 เพิ่มการสะท้อนคิดในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 89.58 และระดับผลลัพธ์ระบบ PA ช่วยให้เกิดการพัฒนาครูและก่อให้เกิดประโยชน์กับการเรียนรู้ของผู้เรียน ร้อยละ 92.74 ช่วยระบุจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาพร้อมแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน ร้อยละ 89.59 รวมถึงสร้างการพัฒนาบนฐานของการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ร้อยละ 88.62

09ff5c5b 60b0 4b9c aebf dcbcb12243f1

สำหรับปัญหาที่พบในการใช้งานระบบการประเมินวิทยฐานะ วPA ระยะแรกพบว่าผู้ใช้งานมีอุปสรรคในด้านระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาผล ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีการพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้งานที่ดีขึ้น และมีข้อเสนอแนะในการวิจัย ใน 5 ประเด็นได้แก่ 1) การให้ข้อมูลย้อนกลับและการสื่อสารอย่างทันท่วงที 2) การปรับปรุงระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) 3) การเสริมสร้างการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 4) การเพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและผู้บริหาร และ 5) การสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของระบบ DPA

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้นำผลการวิจัยดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทราบแล้วพร้อมทั้งรับนโยบายและข้อสั่งการในการขับเคลื่อนระบบ PA ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลังจากนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. จะมีการพัฒนาระบบ DPA ในเวอร์ชั่น 2 เพื่อลดกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการให้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการใช้งาน และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยในครั้งนี้มาพัฒนาระบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

Binder1.pdf Page 09

Binder1.pdf Page 11

Binder1.pdf Page 13

Binder1.pdf Page 15

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *