คณบดี CADT DPU ระบุความต้องการแรงงานสนับสนุนภาคพื้นดินพุ่ง (Ground Support) เหตุอุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 เร็วกว่าที่คาดการณ์ เผยเดินหน้าเต็มสูบผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนตลาด

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท. ที่รายงานว่า อุตสาหกรรมการบินของไทยปี 2565 เริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 75,815,455 คน และมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น 570,360 เที่ยวบิน ทั้งนี้ กพท.คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจากทั่วโลกจะฟื้นตัวเท่ากับปี 2562 ในปี 2567–2568  จากข้อมูลดังกล่าวนับเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมการบินที่เริ่มกลับมาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมการบินที่หายออกไปจากระบบบางส่วนไม่กลับเข้ามา และในส่วนที่กลับเข้ามาก็มีปริมาณไม่พอกับตามความต้องการ เพราะบางสายงานต้องใช้ทักษะในการทำงาน ต้องผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานด้านต่าง ๆ ก่อนเข้าทำงานด้วย

 และหนึ่งในความต้องการแรงงานจำนวนมากในอุตสาหกรรมการบินขณะนี้ คือ พนักงานสนับสนุนการบริการภาคพื้นดิน (Ground Support) ซึ่งต้องดูแลผู้โดยสารตั้งแต่เช็คอิน โหลดกระเป๋า ตรวจบอร์ดดิ้งพาส สื่อสารระหว่างภาคพื้นกับลูกเรือ ฯลฯ ด้วยอุตสาหกรรมการบินมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน อาทิ การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การบริการ ฯลฯ  เมื่อภาคธุรกิจเหล่านี้ฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้วยประเทศไทยมีเสน่ห์ทั้งจากแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และยังมีอาหารไทยที่เป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญประเทศไทยมีการบริหารจัดการในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้ดีในระดับต้น ๆ ของโลก ความปลอดภัยด้านนี้ค่อนข้างสูง  จึงทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น ปริมาณการให้บริการภาคพื้นสนามบินจึงมากขึ้นตามไปด้วย

“ปัญหาของฝั่งที่ทำงานด้านภาคพื้นดิน คือ ปริมาณงานมีมากกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ เพราะการทำงานในภาคส่วนนี้ จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ซึ่งต้องเข้มข้นมาก ๆ ไม่ใช่ว่ารับเข้าทำงานแล้วจะทำงานได้เลย ปริมาณเจ้าหน้าที่ให้บริการภาคพื้นดินจึงไม่เพียงพอต่อภาระงาน จะเห็นได้ว่า บริษัทต่าง ๆ มีความต้องการแรงงานด้านภาคพื้นจำนวนมาก บางบริษัทมีความต้องการพนักงานด้านนี้จำนวนกว่า 500 คน และหลายบริษัทต้องการนักศึกษาฝึกงานจำนวนมาก มีที่ติดต่อขอนักศึกษาฝึกงานกับทางวิทยาลัยแต่ก็ไม่สามารถป้อนให้ได้ตามจำนวนที่บริษัทต้องการ” นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา กล่าว

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา กล่าวเพิ่มเติมว่า วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มธบ. หรือ CADT DPU ในฐานะสถาบันการศึกษา ที่มุ่งมั่น สร้างมืออาชีพด้านธุรกิจการบิน ที่ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์ และมีใจรักในงานบริการ (Knowledge, Skill and Service Mind)  โดยวิทยาลัยฯ มีความพร้อมทั้งหลักสูตรการเรียน การสอน บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเปิดการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาธุรกิจการบิน และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (และการอำนวยการบิน)  และยังมีหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบินสำหรับบุคคลทั่วไป ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport AssociationIATA) ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นด้านการบินต่าง ๆ ที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานสากล นอกจากนี้ DPU Aviation Academy (DAA) ของ CADT DPU ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินครบวงจรที่สำคัญของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก IATA ถึง ปีซ้อน ตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียน

คณบดี CADT DPU กล่าวในตอนท้ายว่า วิทยาลัยฯ มีความพร้อมในการผลิตบุคลากรคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งจากการสำรวจบัณฑิตที่จบออกไปพบว่า 92% มีงานทำ ส่วน 8% เรียนต่อและสานต่อธุรกิจของครอบครัว อย่างไรก็ดี จากการคาดการ์ของ กพท.ที่ระบุว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาเหมือนเดิมในปี 2567-2568 ดังนั้น จะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นแน่นอน จึงนับเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจศึกษาต่อด้านการบิน เพราะงานในอุตสาหกรรมการบิน มีมากถึง ลักษณะงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น นักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน  เจ้าหน้าที่ภาคพื้น เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งเดิมลักษณะงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง(Direct) เช่นนี้ ช่วงก่อนโควิด-19 มีจำนวนแรงงานกว่า 300,000 คน  แต่หายไปจากระบบช่วงโควิด-19 ประมาณ 100,000 คน คาดว่าเมื่ออุตสาหกรรมการบินกลับมาปกติ ความต้องการแรงงานด้านการบินน่าจะมีจำนวนกว่า 100,000 ตำแหน่งแน่นอน

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อด้านการบินที่ วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://cadt.dpu.ac.th/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *