แนวทางการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา

สรุปผลการพิจารณาและจัดทําแนวทางการดําเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง ในสถานศึกษา การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแสดงออกทาง การเมืองในสถานศึกษา ให้มีผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ ของคณะทํางานด้านที่ 3 ด้านการแสดงออกทาง การเมืองในสถานศึกษา

หมวดที่ 1 แนวทางการจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง ในสถานศึกษา เจตนารมณ์ในหมวดที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องใน สถานศึกษา

1. ให้สถานศึกษารับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตย
2. ให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการมีส่วนร่วมและแสดงออกทางการเมือง สําหรับสมาชิก ของสถานศึกษา
3. ให้สภานักเรียนหรือตัวแทนนักเรียนนักศึกษา หรือนักเรียน นักศึกษา หรือเทียบเท่า มีหน้าที่ใน การกําหนดข้อตกลงในการแสดงออกทางการเมืองร่วมกับสถานศึกษา และคณะกรรมการ สถานศึกษา
4. ให้สถานศึกษากําหนดขั้นตอนในการสร้างพื้นที่และเอื้ออํานวยของการพูดคุยตามวิถี ประชาธิปไตย ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สุนทรียะสนทนา การถกแถลง การปรึกษาหารือ การรับฟังสาธารณะ การระดมความคิดเห็น การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ฯลฯ ในสถานศึกษาเพื่อการ แสดงออกทางการเมือง
5. ข้อกําหนดใดๆ หรือการกระทําใดๆ ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือละเมิดข้อตกลงร่วม ทั้งนี้ ข้อกําหนดใดๆต้องคํานึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก และสิทธิมนุษยชนสากล และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิการเมือง

หมวดที่ 2 มาตรการหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับ ผลกระทบจากการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา
เจตนารมณ์ในหมวดที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษามีแนวปฏิบัติในการป้องกัน และ ช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบจากการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา โดยให้นักเรียน นักศึกษาเป็นสําคัญ

1. หน่วยงานและสถานศึกษาต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการป้องกัน แก้ปัญหา และช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา
2. หน่วยงานและสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีแนวปฏิบัติในการคุ้มครองอย่างมีระบบ สอดคล้องกับ มาตรฐานสิทธิมนุษยชน ในการป้องกัน ผลกระทบจากการแสดงออกทางการเมืองใน สถานศึกษาของนักเรียน นักศึกษา
3. หน่วยงานและสถานศึกษาจะต้องจัดทําแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา และช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา และให้ดําเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยทันทีและเป็นไปตามเวลาที่กําหนดพร้อม ทั้งมีมาตรการในการช่วยเหลือและเยียวยานักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับผล
กระทบ
4. หน่วยงานและสถานศึกษาจะต้องกําหนดช่องทางในการสื่อสารที่เคารพสิทธิ์ รวมทั้งการรักษา ความลับ ความปลอดภัยและการเก็บข้อมูลการได้รับการเยียวยา การมีส่วนร่วม และการ เคารพและการไม่เลือกปฏิบัติ

หมวดที่ 3 การจัดทําแนวทางการบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เครือข่าย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เจตนารมณ์ในหมวดที่ 3 เพื่อให้การดําเนินงานตามแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายใน การแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ จากการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา ให้มีผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ

1. ให้หน่วยงานในกํากับกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษาบูรณาการ การดําเนินงานร่วมกับเครือข่าย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมความพร้อมของ สถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ให้มีความรู้ความเข้าใจในถึง สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา
2. ให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานภายนอก ฯลฯ เพื่อเป็นหน่วยงาน กลาง ในการรับฟัง ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ จากการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา
3. สร้างสื่อ การเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสื่อออนไลน์ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่ สนใจ สามารถเข้าถึงได้ง่าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *